Saturday, November 23, 2024
More
    Homeข่าวเด่นรอบวันกองปราบฯเตือนภัยแก๊งต่างชาติอาละวาดโซเชี่ยล

    กองปราบฯเตือนภัยแก๊งต่างชาติอาละวาดโซเชี่ยล

    ผู้การกองปราบ เตือนภัยแก๊งชาวต่างชาติใช้บัญชี Instagram แอบอ้าง หลอกให้โอนเงินหรือเอาข้อมูลส่วนตัว

    วันที่ 31 ธ.ค. ที่กองบังคับการปราบปราม(บก.ป.) พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป.สั่งการให้ กก.สสน.บก.ป. เผยแพร่ข้อความเตือนประชาชน โดยระบุว่า

    เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาว่ามีบัญชี Instagram ที่แอบอ้างตนเป็นบุคคลอื่น หลอกขอข้อมูลส่วนตัวของประชาชน อ้างว่าจะนําไปทําบัตรสมาชิกที่มีสิทธิพิเศษ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อจํานวนมาก

    จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวน่าจะเป็นชาวต่างชาติ มีรูปแบบการหลอกขอข้อมูลเหยื่อ

    โดยคนร้ายจะสร้าง Instagram ขึ้นมา หลังจากนั้นจะโพสต์ภาพแอบอ้างเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทย ลงใน Instagram เพื่อให้ผู้เสียหายเข้ามากดติดตามหรือคนร้ายจะทําทีไปกดติดตามผู้เสียหายเพื่อหาเหยื่อ

    หลังจากนั้นจะติดต่อพูดคุยกับผู้เสียหาย หลอกขอข้อมูล ช่ือ- สกุล, เลขบัตรประจําตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทรศัพท์ ของผู้เสียหาย

    โดยอ้างว่าจะนําไปทําบัตรสมาชิก มีสิทธิพิเศษสามารถเข้าเยี่ยมชมสถานที่สําคัญได้ทุกที่ทุกเวลา

    ผู้ถือบัตรสมาชิกยังจะสามารถเดินทางไป 27 ประเทศโดยไม่ต้องมีวีซ่า นอกจากนี้ยังจะให้บุคคลท่ีมีชื่อเสียงลงนามในบัตรดังกล่าวด้วย

    เมื่อมีผู้หลงเชื่อตกลงทําบัตรสมาชิก กลุ่มมิจฉาชีพจะได้ข้อมูลส่วนตัวที่สําคัญของ ผู้เสียหายเพื่อนําไปใช้ในทางท่ีไม่ดี

    ทั้งนี้ กองบังคับการปราบปราม ขอฝากเตือนและประชาสัมพันธ์ประชาชน ให้ระวังการใช้สื่อโซเชียล มีเดียต่างๆ

    เนื่องจากอาจจะมีกลุ่มคนร้ายที่เเอบอ้างเป็นผู้ท่ีมีความชื่นชอบบุคคลที่มีชื่อเสียงชาวไทยทําทีไป ขอติดตามบัญชีของท่านจากนั้นจะหลอกขอข้อมูลส่วนตัวเพื่อนําไปใช้ในทางที่ไม่ดี

    ดังนั้นหากท่านพบพฤติการณ์ การกระทําในลักษณะดังกล่าวขอให้ท่านตรวจสอบข้อมูลและความน่าเช่ือถือให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ตกเป็น เหยื่อของกลุ่มคนร้าย

    สําหรับวิธีการสังเกตบัญชี social media ที่ต้องสงสัย มีดังนี้

    1.บัญชีต้องสงสัยจะมีการแท็กหรือถูกแท็กจากชาวต่างชาติในลักษณะท่ีไม่เกี่ยวข้องกับเน้ือหาท่ีโพสต์

    2.บัญชี Instagram ต้องสงสัยจะโพสต์เนื้อหาเก่ียวกับคนไทยแต่ผู้ติดตามจะเป็นชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด

    3.หากย้อนดูลักษณะการโพสต์จะพบว่ามีความไม่ต่อเนื่องของเนื้อหา เช่น โพสต์ครั้งแรกเมื่อหลายปีท่ีผ่านมา ต่อมากลับมีการเริ่มโพสต์ใหม่ แต่เปลี่ยนรูปแบบของสิ่งท่ีโพสต์ และ

    4.มักมีการใช้ภาษาไทยคล้ายกับการแปลมาจากภาษาอังกฤษและมีรูปแบบไวยากรณ์ที่ผิดหลักภาษา

    ทั้งนี้วิธีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลออนไลน์ มีดังน้ี

    1.ทำความเข้าใจเก่ียวกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในบัญชี ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป

    2. ไม่ควรเปิดอีเมล์หรือข้อความ หากไม่แน่ใจว่าผู้ส่งเป็นใคร

    และ 3. หากอีเมล์หรือข้อความที่ได้รับมีการใช้ภาษาไทยคล้ายกับการแปลมาจากภาษาอังกฤษและมีรูปแบบ ไวยากรณ์ที่ผิดหลักภาษา ไม่ควรหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัวโดยเด็ดขาด

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments