Friday, December 27, 2024
More
    Homeข่าวทั่วไปวปอ.67จัดเสวนา“ ความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคง”

    วปอ.67จัดเสวนา“ ความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคง”

    วปอ.รุ่นที่ 67 เสวนาเข้มข้น ‘สุทิน- พลเอก ธงชัย-อัครพงษ์’ ร่วมอภิปรายหัวข้อ ‘ความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคง’ ที่ส่งผลต่อการป้องกันประเทศ

    วันนี้ 20 พ.ย. 67 ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

    คณาจารย์และนักศึกษา วปอ.รุ่นที่ 67 จัดการอภิปรายในหัวข้อ “ความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคง” ซึ่งมีเนื้อหาสาระจากวิชาสภาวะแวดล้อมโลกและภูมิภาคทางด้านการทหาร

    มีหัวข้อคำถาม อาทิเช่น 1.สภาวะแวดล้อมโลกและภูมิภาค ที่ส่งผลต่อการป้องกันประเทศ และการทหาร 2.แนวโน้มความท้าทายใหม่ ในห้วง 3-5 ปีข้างหน้า 3.ผลกระทบจากแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย และ 4.แนวทางการขับเคลื่อนประเทศท่ามกลางความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น

    ภายในงานได้รับเกียรติจากแขกร่วมอภิปราย อาทิ นายสุทิน คลังแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง “ความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคง ในมุมมองของฝ่ายการเมืองและพลเรือน”

    พลเอก ธงชัย รอดย้อย เสนาธิการทหารบก เรื่อง “ความท้าทายใหม่ทางด้านความมั่นคง ในมุมมองของกองทัพ” และ ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “ความท้าทายใหม่ทางด้านความมั่นคง ในมุมมองภาควิชาการ” โดยมี วาสนา นาน่วม และผศ.ดรวันวิชิต บุญโปร่ง
    และ กิติภาส์ (ไรลา) อินทรผล เป็นผู้ดำเนินรายการ

    นายสุทิน คลังแสง อดีต รมว.กลาโหม กล่าวว่า “คนไทยยังมองเรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องไกลตัว เพราะทุกคนยังต้องทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ทำให้มองว่าเรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องของทหารไป เป็นเรื่องของผู้นำประเทศไป ขณะที่ผมยังทำหน้าที่เป็นรมว.กลาโหม ได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนหลายประเทศ ทั้งระดับอาเซียน เอเชีย และเวทีฟอรั่มระดับโลก ทำให้รู้ว่าเขาไม่ได้เป็นแบบเรา

    หลายประเทศตั้งแต่เด็ก เยาวชน รวมไปถึงคนทุกๆ วัย ไม่ว่าเขาจะทำอะไร เขาจะนึกถึงเรื่องความมั่นคง เขาจะหวงมาก ยกตัวอย่าง การลงทุนทำธุรกิจหรือพูดคุยกับต่างชาติ เขาจะระแวงมากว่าจะเกิดปัญหาความมั่นคงกับประเทศชาติของตัวเองมั้ย

    ยิ่งผมมารับผิดชอบเรื่องนโยบายทหารเกณฑ์ “แบบสมัครใจ” ทำให้มองเห็นผลลัพธ์ได้ว่า การให้คนไทยสมัครเป็นทหารเองนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะทุกคนไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องรับผิดชอบคนไทยยังมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบเรื่องความมั่นคงไม่มาก

    ต่อไปเราจะต้องช่วยกันแก้ ช่วยกันรณรงค์ และจะต้องเป็นคนอื่นซึ่ง ไม่ใช่ทหารที่มาช่วยกันทำในเรื่องเรื่องนี้ เพราะหากทหารออกมาพูดเองทำเองก็จะไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอ

    วันนี้อย่างการรวมตัวมาเรียนหลักสูตร วปอ. นี้ดีที่สุด เพราะเป็นโอกาสและเป็นเครือข่ายที่ต้องช่วยกันพูดเรื่องนี้แทนทหาร โดยเฉพาะคนที่มาจากพลเรือนเป็นคนพูดจะทำให้เรื่องการรณรงค์ยิ่งมีน้ำหนัก ที่ผ่านมาผมเลยต้องลงทุนบทบาทนี้อย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้”

    ด้าน พลเอก ธงชัย รอดย้อย เสนาธิการทหารบก กล่าวว่า “อย่างที่ท่านอดีตรมว.กลาโหมได้กล่าวไว้ เรื่องนี้จะให้ทหารพูดเองคงไม่ได้ จะต้องให้คนอื่นพูดคนอื่นทำ ยกตัวอย่าง คนมาเรียน ร.ด. ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจมาเรียน เหมือนที่ผมเคยชี้แจงไปแล้วว่า คนที่เรียน ร.ด.ถึงปีที่ 5 บางทีเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำไป และคนที่มาเรียนก็มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ต้องไปเกณฑ์ทหาร ไม่ใช่ตั้งใจมาเรียนเพื่อเป็นกำลังพลสำรอง

    ผมมีโอกาสได้ไปคุยเรื่องนี้กับหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนว่าด้วยคอนเซ็ปท์เดิมๆ จะไม่ได้แล้ว มันจำเป็นต้องปรับ ทำให้ได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษารองปลัดกระทรวงกลาโหมให้ช่วยดูเกี่ยวกับเรื่องกำลังพลสำรอง ว่าเราจะเดินหน้าต่อไปกันอย่างไร  จะอาจต้องมีการแก้กฎหมายหรือไม่อย่างไร สุดท้ายจะต้องให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นคนช่วย แต่วันนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของทฤษฎีที่จะต้องนำไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป

    แต่ถ้าถามว่าประเทศอื่นเขาทำกันอย่างไร ยกตัวอย่าง สิงคโปร์ ผมถามขณะไปทำงานร่วมกับพวกเขาว่า พวกคุณปลูกฝังเด็กอย่างไรที่จะทำให้พวกเขามีสำนึก อย่างประเทศของเขา พออายุ 18 ผู้ชายทุกคนจะต้องมาเป็นทหารกันหมด โดยใช้เวลา 2 ปี ก่อนจะออกไปทำอย่างอื่นได้

    เขาใช้วิธีการว่าพอถึงเวลาปิดเทอม กระทรวงศึกษาธิการจะต้องส่งครูไปให้กระทรวงกลาโหมอบรม และจากนั้นครูก็เอาเรื่องราวที่ได้อบรมไปถ่ายทอดให้กับเด็กตอนช่วงเปิดเทอมอีกที

    ผมเคยนำเรื่องนี้ไปพูดในคณะกรรมาธิการของ สว. พวกท่านก็รับฟัง แต่จะนำไปสู่การปฏิบัติ หรือมีวิธีอย่างไร เราจะต้องมาช่วยกันคิดช่วยกันทำให้ห้วงเวลาต่อไป เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ”

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments