Nedcann Group จับมือ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ร่วมศึกษาวิจัยปลูกกัญชาทางการแพทย์ ให้ได้มาตรฐาน GACP ก้าวสู่ EU GMP เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ สร้างรายได้นำเงินตราเข้าประเทศมหาศาล
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมมุจลินทร์ โรงแรมวังสวนสุนันทา กรุงเทพฯ
มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOA Sign Ceremony) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กับบริษัท Nedcann LLC โดย รศ.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, Mr. Stephan van Gerven ประธานเจ้ากน้าที่บริหาร Nedcann LLC, North Macedonia
มีตัวแทนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ บริษัท Nedcann LLC, North Macedonia เข้าร่วมในพิธีลงนามร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง
รศ.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้เปิดหลักสูตรสาขากัญชาศาสตร์แห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
มีวัตถุประสงค์ ต้องการพัฒนาเรื่องงานวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์เป็นหลัก และพัฒนาสายพันธุ์กัญชา การสกัดไปทำยารักษาโรค ซึ่งที่ผ่านมาเรามีความร่วมมือจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศแล้ว แต่ยังพบปัญหาและอุปสรรค ไม่สามารถได้มาตรฐาน EU GMP Standard จึงส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกกัญชาไทยได้ในระดับมาตรฐานสากล
“Nedcann LLC คือคำตอบ และเป็นทางออกของกัญชาไทย”
เราจึงร่วมมือกับองค์กรเอกชนจากต่างประเทศที่มีความรู้ ความชำนาญ และเชี่ยวชาญในเรื่องนี้กว่า 30 ปี ซึ่ง Nedcann LLC ที่มีบริษัทแม่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และได้ทำธุรกิจที่ประเทศมาซิโดเนีย มีทั้งโรงงานปลูกกัญชาสำหรับการแพทย์ขนาดใหญ่ ในพื้นที่ปลูกจำนวนมาก และใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์ได้มาตรฐาน German EU GMP ที่มีชื่อเสียงเป็นท็อปไฟฟ์ (Top 5) ของโลกในขณะนี้
สำหรับระยะเวลาความร่วมมือกันนั้น ในเบื้องต้น 3 ปี ตามที่ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยฯ และจะพิจารณาต่อยอดเพื่อร่วมมือกันในระยะต่อไป
“เราเชื่อมั่นว่า Nedcann Thailand คือคำตอบของกัญชาทางการแพทย์เท่านั้น”
บริษัทฯ จะส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้มีองค์ความรู้ระดับมาตรฐานสากล จึงเชื่อว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะส่งผลให้ได้ประโยชน์จากการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด”
ด้าน Mr. Stephan van Gerven ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nedcann LLC, North Macedonia เผยว่า สาเหตุที่เลือกและให้ความสนใจทำความร่วมมือกับวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ครั้งนี้ เนื่องจากได้รู้จักและเกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเริ่มจากความร่วมมือกับ บริษัท สยาม อิมเมจ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ปลูกกัญชาทางการแพทย์ (ระบบปิด) ที่ได้มาตรฐานเป็นรายแรกของประเทศไทย ณ อาคารวัลโด 18 แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
ดังนั้น เมื่อเห็นว่า วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ บริษัท สยาม อิมเมจ จำกัด มีศักยภาพและความตั้งใจพัฒนากัญชาเพื่อการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ จึงยินดีร่วมการพัฒนา วิจัย และส่งเสริมสู่ความสำเร็จให้ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออก เพราะว่าเราทไม่มีผู้ปลูกรายใดรายหนึ่งได้รับมาตรฐาน GACP ณ ขณะนี้ ทำให้ไม่สามารถส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศได้
“เราคาดหวังว่า อุตสาหกรรมกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยมีโอกาสประสบความสำเร็จ” Mr. Stephan van Gerven กล่าว