Sunday, June 23, 2024
More
    HomePolice Healthy Talkedชีวิตลิขิตเป็นทั้งหมอ-ครูและตำรวจ“อาจารย์หมอรอง-ว่าที่พ.ต.ท.วัชรสาร รัตนานันท์”

    ชีวิตลิขิตเป็นทั้งหมอ-ครูและตำรวจ“อาจารย์หมอรอง-ว่าที่พ.ต.ท.วัชรสาร รัตนานันท์”

    คนที่จะเป็นแพทย์ ต้องยอมรับว่าหัวไบร์ทกันทุกคน  โดยเฉพาะแพทย์ตำรวจเมืองไทยมีเก่งๆกันเยอะ

    ว่าที่ พ.ต.ท.วัชรสาร รัตนานันท์ นายแพทย์ สบ2 กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลตำรวจ ก็เป็น1ในนั้น

    คุณวุฒิปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา

    – แพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

    วุฒิบัตร

    – สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว, ประเทศไทย, 2548

    – สาขาประสาทวิทยา, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2556

    – สาขาประสาทสรีรวิทยาคลินิก, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2558

    – สาขา Electrodiagnotic Medicine, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2558

    -Certificate in Clinical Neuromuscular Pathology, UCNS,ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2558

    – สาขาประสาทวิทยา, ประเทศไทย, 2560

    การศึกษาหลังปริญญา

    – Clinical Neurophysiology/ EMG, The University of Alabama School of Medicine, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2556 – 2557

    – Neuromuscular Disorders – Muscle, Mayo Clinic, Rochester, Minnesota, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2557 – 2558

    – การเฝ้าระวังทางระบบประสาทระหว่างการผ่าตัด, Harvard Medical School & Massachusetts General Hospital, Massachusetts, ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2559 – 2560

    แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ

    – การเฝ้าระวังทางระบบประสาทระหว่างการผ่าตัด,

    – Electromyography

    อายุรแพทย์ระบบประสาท(neurologist) – เฉพาะทางประสาทสรีรวิทยาคลินิก (clinical neurophysiology) – เชี่ยวชาญลึกด้านการเฝ้าระวังทางระบบประสาทในระหว่างผ่าตัด( intra-operative neurophysiology monitoring) 

    ขณะนี้แพทย์ที่จบสาขานี้มาโดยตรงในไทยมีแค่คนเดียว มารู้จัก“อาจารย์หมอวัชรสาร หรือหมอรอง”กันครับ

                    —————————————————————————————————

    ลูกชายคนเล็กของ ผศ.บุญเชิด รัตนานันท์ สถาบันราชภัฎอยุธยา  ส่วนคุณแม่ ตอนนั้นเป็นอาจารย์โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมป์ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด มีพี่ชายเป็นวิศวกรอยู่กองทัพเรือ อยู่กรมช่างโยธา 

    ตั้งเป้าชีวิตเป็นหมอ 

    อยากเป็นหมอ จุดหนึ่งเพราะหลักๆครอบครัวไม่ได้มีใครเป็นหมอ เวลามีคนเจ็บป่วยขึ้นทุกคนมีคำถามอยากรู้ลึกๆอยากมีคนมาอธิบาย คุณแม่เคยป่วยหนักอยู่ครั้งหนึ่ง ก็อยากรู้ แต่เข้าใจว่าคุณหมอหรือพยาบาลขณะนั้นไม่ได้มีเวลามาอธิบายอะไรมากเลยคิดว่าไปเรียนหมอเองซะเลย จะได้เข้าใจว่าโรคต่างๆ ที่คนเราเป็นมันเป็นอย่างไร ซึ่งก็ช่วยครอบครัวได้ในลักษณะ เราให้คำปรึกษาได้

    เวลาหมดไปกับคนไข้

    แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เป็นหมอเวลาจะน้อย เวลาเราจะต้องไปใช้ในโรงพยาบาลใช้กับคนไข้ ยิ่งถ้าเป็นแพทย์ตำรวจ เวลาจะต้องไปสนับสนุนภารกิจการทำงานของตำรวจ เป็นงานหนักนะ ถ้าจะถามเรื่องเวลาให้ครอบครัวต่อ

    ผมเชื่อว่าอาชีพแพทย์มันจะน้อยกว่าอาชีพอื่นๆแต่ถ้าถามว่าเรื่องคำปรึกษา  การแพลนนิ่งจะรักษาบุคคลในครอบครัวอย่างไรเวลาเขาเจ็บป่วยจะทำได้ดีกว่าคนอื่น

    หมอรองย้อนเส้นทางให้ฟังต่อว่า

    ชีวิตลิขิตเป็นหมอตำรวจ

    เรียนจบที่จุฬาฯ พบ.เป็นหมอทั่วไป แต่เวลาไปใช้ทุนทุกปีๆจะมีจับสลากกระทรวงสาธารณสุข แต่นอกเหนือจับสลากก็มีที่เขาขอมาจากกระทรวง ทบวง กรม เป็นการเฉพาะ อย่างปีของผมจบ พบ.ปี 2545 เป็นรุ่นที่บรรจุตรงเข้าตำรวจ เพราะตอนนั้นตำรวจขาดแคลนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเลยมีโครงการบรรจุนักศึกษาที่จบใหม่ จบปุ๊บส่งไปเรียนเวชศาสตร์ครอบครัว 3 ปี ที่สถาบันต่างๆที่เลือก แล้วกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลตำรวจ

    คือกรมตำรวจต้องการหมอเวชศาสตร์ครอบครัว แต่ตอนนั้นยังไม่มีหมอเวชศาสตร์ครอบครัวจบมา เพราะประเทศไทยเพิ่งเริ่มผลิต เขาเลยขอเด็กจบใหม่เพื่อที่จะบรรจุแล้วส่งไปเรียน ทีนี้อย่างที่โรงพยาบาลตำรวจเองนโยบายยังไงไม่ทราบอาจจะไม่พอ ก็ไปขอยืมตำแหน่งจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมา

    สมัครไปรพ.ตชด.”นวุติสมเด็จย่า”

    ตอนนั้น ตชด.มีโรงพยาบาลของเขาเอง ชื่อโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า อยู่ตรง บช.ตชด. ใกล้ๆสะพานควายเป็นโรงพยาบาลเล็กๆ โรงพยาบาลนี้ มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของตำรวจตระเวนชายแดนทั้งหมดรวมถึงตามเสด็จฯกรมสมเด็จพระเทพฯที่ออกหน่วยโรงเรียน ตชด.  ก็ขอตำแหน่งมาเอาตำแหน่งมารวมกันแล้วรับบรรจุแพทย์จบใหม่ ผมก็มาสมัคร

    ได้ยศร.ต.ต.ถูกส่งเรียนต่อ3ปี

    ประกาศผลออกมา ผมก็ติดโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า บรรจุปีแรกปี 2545 เป็นร.ต.ต.เป็นนายแพทย์ สบ1 ทำงานไม่กี่เดือนถูกส่งไปเรียน โปรแกรมเวชศาสตร์ครอบครัว ที่โรงพยาบาลเลิดสิน  3 ปีถึงจบกลับมาทำงาน

    ตอนนั้นมีปฏิรูปตำรวจ เขาเอาโรงพยาบาลย่อยๆมาสังกัดโรงพยาบาลตำรวจทั้งหมด โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า ย้ายมาขึ้นรพ.ตร.เลยกลับมาทำงานภายใต้โรงพยาบาลตำรวจ

    จน พ.ต.ต. อายุราชการประมาณ 7 ปี ตัดสินใจขอลาออกไปเรียนต่อต่างประเทศ อีก 7 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องโรคระบบประสาทเจาะลึกไปทางนั้น

    ลาออกไปเรียนต่อที่อเมริกา

    ตอนไปเรียนต่อ ผมลาออกจากราชการเลย คือหมอจบมาต้องทำงานเลยส่วนใหญ่ถ้าไม่มีปัญหาเขาก็อยู่ไปเรื่อยๆแต่ผมอยากจะเรียนต่อ ตอนนั้นมันไม่มีอนุสาขาของเวชศาสตร์ครอบครัวในเมืองไทยผมก็สอบไปอเมริกา

    พอสอบติด โนติสซิเฟเคชั่นที่เขาให้มันสั้นมาก ไม่สามารถที่จะทำเรื่องลาเรียนต่อได้ทัน มีทางเดียวที่จะไปเรียนต่อได้คือต้องลาออกจากราชการ ผมก็ลาออกแล้วก็ไปเรียนต่ออะไรเยอะแยะมากมาย

    ศึกษาหาประสบการณ์

    ที่ตัดสินใจไปเรียนต่อเมืองนอก คิดว่าเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างเดียวมันดีนะ แต่บริบทตอนนั้นคนไข้คนไทยชอบลงลึกไปหาแพทย์เฉพาะทางมากกว่า แล้วเวชศาสตร์ครอบครัวเวลานั้นยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมากแล้ว

    ระยะเวลาช่วงนั้น ผมคิดว่าไปหาประสบการณ์หรือเรียนอะไรต่อเนื่องดีกว่า เพราะอายุยังน้อยอยู่เลยไปหาประสบการณ์เรียนหาความรู้เพิ่มเติมใช้เวลาตรงนั้นไป

    เจาะลึกประสาทสรีรวิทยาคลินิก

    ที่ผมเรียนมา มันอาจจะเกินเวชศาสตร์ครอบครัวไป เท่าที่ดูบางสาขายังไม่มีการอบรม คือส่วนที่ไปเรียนมาในส่วนที่ผมเชี่ยวชาญเลยคือทางประสาทวิทยา

    แล้วผมลงลึกไปทางประสาทสรีระศาสตร์ หรือที่เรียกว่า clinical neurophysiology ยังไม่มีเปิดสอนในเมืองไทย การสอนในเมืองไทยตอนนี้อาจจะเป็นคล้ายๆ ลักษณะว่าแพทย์ที่อยากเรียน ไปอยู่กับผู้เชี่ยวชาญก็ไปเทรนนิ่ง แต่ยังไม่มีเซอร์ติฟิเคท

    clinical neurophysiology จะเป็นการดูกระแสไฟฟ้าทางสรีระวิทยาระบบประสาท สรีระนี่คือคล้ายกับการทำงานของระบบประสาท เพราะฉะนั้นเวลาเส้นประสาททำงานจะมีสัญญาณออกมา เพราะฉะนั้นสรีระวิทยาระบบประสาท คือการที่จะวัดสัญญาณกระแสไฟฟ้าของระบบประสาทในแต่ละส่วนที่เราต้องการทราบออกมา แล้วข้อมูลพวกนี้จะนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรค ในการติดตามโรคได้

    หมอรองอธิบายต่อว่า

    พวกนี้รวมไปถึง เช่น พวกEEG (Electroencephalography)สัญญาณอีอีจีวัดจากที่ศีรษะ ก็เอาไปติดตามพวกโรคลมชักได้ ถ้าสัญญาณทางระบบประสาทส่วนปลาย เรามาติดอิเล็กโทรดที่แขนที่ขา วัดสัญญาณเส้นประสาทตรงบริเวณนั้น ก็สามารถบอกได้ว่า เรามีโรคทางเส้นประสาทส่วนปลายรึเปล่า 

    ผมไปเรียนตรงนั้นมาก็คิดว่าไหนๆมาเรียนแล้วก็ยังไม่พอก็เลยเรียนลึกเข้าไปอีก เขาเรียกว่า การเฝ้าระวังทางระบบประสาทในระหว่างผ่าตัด อันนี้เป็นอันสุดท้ายที่ผมเรียน ไปเรียนที่ Massachusetts General Hospital         

    เขาก็มีความสัมพันธ์กับHarvard Universityอยู่ คือการนำศาสตร์ความรู้ การวัดการทำงานของระบบประสาทนี่ มาใช้ในห้องผ่าตัด  เวลาผ่าตัดในที่ๆค่อนข้างสำคัญเกี่ยวกับระบบประสาท เราจะติดอิเล็กโทรดในการวัดสัญญาณไฟฟ้าต่างๆ

    ถ้าเครื่องมือศัลยแพทย์เข้าไปใกล้อวัยวะที่สำคัญพวกนี้ สัญญาณประสาทมันจะเปลี่ยน เช่นว่าเขาไปทำ เขาไปดึง ไปรั้งปมประสาทเวลาผ่าสันหลัง สัญญาณพวกนี้จะเตือนขึ้นก่อน สามารถบอกศัลยแพทย์ได้ว่า นี่คุณเข้าไปใกล้ที่เป็นเส้นประสาทแล้วนะ ระวังอย่าไปตัดมัน ถ้าตัดนี่บางจุดอาจจะทำให้เสียฟังก์ชั่นไป การใช้ศาสตร์ตรงนี้สามารถใช้ได้กับการผ่าตัดหลายชนิดในต่างประเทศ

    แต่เมืองไทยยังไม่ค่อยได้ใช้ การผ่าตัดเช่น การผ่าตัด brain tumor เนื้องอกในสมอง  การผ่าตัดในทางกระดูกสันหลังที่ต้องไปเสี่ยงกับไขสันหลัง หรือการผ่าตัดทางเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง

    เราสามารถวัดได้ว่าตอนนี้ ที่คุณกำลังผ่าตัดอยู่ คุณทำให้เลือดมันไหลน้อยไปเลี้ยงสมองรึเปล่า ถ้าเกิดเลือดไหลน้อย บางทีสมองขาดเลือด ตรงนี้มอนิเตอร์ได้ การผ่าตัดหัวใจบางชนิดก็ใช้สัญญาณประสาทสมอง ในการไกด์ได้ว่าตอนนี้คุณลดการทำ งานของหัวใจมากเกินไปจนสมองมันขาดเลือดรึเปล่า

    :หมายความว่าหมอจะต้องอยู่ในขณะผ่าตัดด้วย

    คือการผ่าตัดจะต้องอยู่ในสายตาของหมอแผนกนี้ตลอดเวลา คือจะมีหมอผ่าคนหนึ่ง แล้วมีหมออย่างเรา คำว่าอยู่ในสายตา คือสัญญาณประสาทจะต้องอยู่ในความรับผิดชอบในการมองเห็นของเราตลอด

    ในต่างประเทศ ระบบเขาพัฒนาไปมากแล้วจะมีเทคโนโลจิสช่วย เพราะฉะนั้นคนที่คุมเครื่องมอนิเตอร์ในห้องผ่าตัดแต่ละห้องจะเป็นระดับเทคโนโลจิส คือนักเทคนิคการแพทย์ แล้ว neurologist ประสาทแพทย์แต่ละคน อาจจะควบคุมการทำงานมอนิเตอริ่ง ได้ 2-3 ห้อง เป็นต้น

    :หมอรักษาเยอะไหม ลักษณะแบบนี้ ในเมืองไทย

    ต้องเรียนก่อนเซ็ตติ้งในเมืองไทย ถามว่ามีการผ่าตัดที่ค่อนข้างคอมเพล็กซ์แบบนี้ไหม ก็มี แต่เท่าที่ทราบ เขาใช้การมอนิเตอริ่งแบบนี้เต็มรูปแบบรึเปล่า น่าจะยังทำได้ยาก เท่าที่ผมทราบคือ สมมติการผ่าตัดเนื้องอกสมอง ต้องมอนิเตอริ่งทั้งหมด 4-5 อย่าง เขาอาจจะสามารถมอนิเตอร์ได้ 2 อย่าง

    เพราะคนที่รันการมอนิเตอร์ อาจจะเป็นคุณหมอด้านอื่น เช่น คุณหมอดมยา คุณหมอศัลยแพทย์ระบบประสาทท่านอื่นที่ไปดูงานมาระยะสั้นแล้วมามอนิเตอร์เอง เพราะฉะนั้นการแปลผลโดยองค์รวมทั้งหมดหลายๆชนิดจะยังทำไม่ได้ เพราะแพทย์ท่านเหล่านั้นยังติดการทำงานในห้องผ่าตัดด้านอื่นที่เขาจำเป็นจะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน

    อาจารย์หมอรองเล่าและว่าต่อ

    อีกอย่างเทคโนโลจิสที่ช่วยในการมอนิเตอริ่ง แบบนี้ได้ในเมืองไทยยังไม่พอ เพราะฉะนั้นหลายครั้ง คุณหมอจะต้องลงมานั่งทำเองนั่งติดสายไฟกับคนไข้ คุมเครื่องคอมพิวเตอร์เองเป็นงานที่ค่อนข้างหนักทำให้ครั้งหนึ่งอาจจะต้องเป็น 1 ต่อ 1 ระบบเลยขาดแคลนตรงนี้ หลายที่ก็เลยจะเป็นแบบว่า เนื่องจากมันหามอนิเตอร์ยาก อะไรที่ไม่จำเป็นจริงๆ หรือว่าคอมเพล็กซ์จริงๆ อาจจะข้ามตรงนี้ไปก็พยายามจะพัฒนาตรงนี้ ถ้าทำได้

    สำหรับการเฝ้าระวังทางระบบประสาทในระหว่างผ่าตัดภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า Intraoperative Neurophysiology Monitoting

    ในส่วนตัวผมนี่ ถ้านอกจากด้านส่วนงานราชการที่ทำอยู่แล้ว อยากจะให้ประเทศไทยพัฒนาระบบด้านนี้  เพราะเป็นประโยชน์กับคนไข้ โดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด มันซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

    สมมติเราผ่าเนื้องอกในสมองที่คอมเพล็กซ์มากๆ แต่ก่อนอาจจะผ่าไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้อุปกรณ์เยอะขึ้น เขาก็พยายามผ่า บางอย่างก็ผ่าลงไปได้ แต่มอนิเตอริ่งต้องพร้อมด้วย เพราะการที่ผ่าเข้าไปลึกๆในเนื้อสมองเนื้อเยื้อค่อนข้างซับซ้อนเนี่ย นอกจากเครื่องมือดีแล้ว ต้องอาศัยมอนิเตอริ่งที่แอดวานซ์มากขึ้นด้วย

    ตรงนี้ประเทศไทยยังขาดอยู่ ทั้งระบบ  neurologist ที่ควบคุมทั้งระดับเทคโนโลจิสต์ ที่จะมาช่วยเซ็ตเครื่องในห้องผ่าตัด อยากจะให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญเหมือนกัน

    จบกลับไทยเป็นหมอตำรวจต่อ

    พอเรียนจบแล้วกลายเป็นว่าคนที่เรียนที่อเมริกาเกินครึ่งตัดสินใจอยู่ที่อเมริกา  มีส่วนน้อยที่ตัดสินใจกลับมา ติดทุนนี่เขาจะต้องกลับมาแน่ แต่ผมไม่ติดทุน แต่ผมดูแล้วการอยู่เมืองนอกกับการอยู่เมืองไทยมีทั้งข้อดีข้อเสีย ไม่มีอะไรดีไปกว่ากันอย่างชัดเจน  อยู่ที่ใครจะชอบวัฒนธรรมแบบไหน เลยตัดสินใจกลับมา พอกลับมาก็ต้องดูแล้วว่าอยู่เมืองไทยตรงไหนมันเหมาะกับเราที่สุด เนื่องจากผมเคยอยู่โรงพยาบาลตำรวจมาก่อนเคยเป็นตำรวจมาก่อน เป็นหมอตำรวจ

    รู้สโคปงานรู้วัฒนธรรมองค์กร

    ด้วยความที่เคยอยู่โรงพยาบาลตำรวจ รู้สโคปงาน รู้วัฒนธรรมองค์กรเป็นยังไงอย่างนี้ ผมคิดว่าผมชอบที่นี่มากที่สุด และการเป็นหมอด้วยเป็นตำรวจด้วยเป็นอะไรที่หาที่อื่นไม่ได้

    กลุ่มคนที่เราได้ช่วยอันนี้พูดในแง่ดี คือกลุ่มคนที่เราได้ช่วยแน่นอนว่าต้องเป็นตำรวจแน่ๆแต่จริงๆแล้วคนไข้ที่โรงพยาบาลตำรวจเกินครึ่งเป็นประชาชนทั่วไป เพราะเราดูครอบครัวตำรวจด้วย ดูประชาชนแถวๆนั้นด้วย ดังนั้นเราได้ทั้งหมดเลยดูทั้งประชาชนทั่วไป และตำรวจ

     ตำรวจเป็นอาชีพที่เขาต้องเสียสละมากนะ การปฏิบัติงานอยู่เวร ไม่แพ้หมอ  ผมว่าเราได้ช่วยเขาตรงนี้ เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง ปรากฎว่าความต้องการเวชศาสตร์ครอบครัวก็ยังสูงอยู่

    ดังนั้นตัดสินใจไปอยู่ที่เดิม แผนกเดิม กลุ่มงานเดิม ยศสตาร์ทเหมือนตอนออกไปเลย พ.ต.ต.

    เวชศาสตร์ครอบครัว ตอบในแง่ส่วนตัวนะ การดูแลเวชกรรมป้องกัน หรือว่าโรคทั่วไปของตำรวจ จะเข้ามาที่งานเวชศาสตร์ครอบครัวทั้งหมด ได้แก่การตรวจสุขภาพประจำปี อาจจะมีแม่งานที่เป็นผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไป แต่การวางแผนการจัดการเชื่อว่าส่วนใหญ่ยังอยู่ในแผนกเวชศาสตร์ครอบครัว เช่น การจัดตารางเวียน ว่าที่ไหนเหมาะสมที่จะไปตรวจสุขภาพ จะมีตรวจสุขภาพประจำปี

    ทุกหน่วยจะต้องได้รับการตรวจเป็นการออกหน่วยแพทย์ว่าพื้นที่ไหน สภ.ไหนจังหวัดไหน ที่เหมาะสมจะไปเซอร์วิสพิเศษในแง่การตรวจสุขภาพ เราก็ทำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไป ตรงนี้จะเป็นของหน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว

    แพทย์จบเวชศาสตร์ครอบครัวยังน้อย               

    แต่ถามว่าแพทย์พอไหม คือระบบงานในสายตาผมนะเรายังต้องการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่ม เพราะตำรวจทั่วประเทศมีเป็นหลักแสน จำนวนแพทย์ในแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวมีน่าจะประมาณ 10 คน แต่ที่จบเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวมาจริงๆค่อนข้างน้อยไม่เกิน 5 คน ดังนั้นเราเลยต้องการหมอที่จบจากทางเวชศาสตร์ครอบครัวมาจริงๆ

    เป็นอาจารย์สอนน้องจบใหม่

    อีกประการหนึ่งคือ เรามีการเรียนการสอนด้วย แผนกเวชศาสตร์ครอบครัวด้วย สอนพวกแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านคือแพทย์ที่จบ พบ.มา แล้วต้องการเรียนต่อเฉพาะทาง เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ต้องมาเรียนต่ออีก 3 ปี ตรงนี้โรงพยาบาลตำรวจมีโปรแกรมที่สอนให้เป็นแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวด้วย

    คราวนี้ต้องอาศัยอาจารย์ที่จบเวชศาสตร์ครอบครัวมาเราก็กำลังต้องการอาจารย์เพิ่ม ตอนนี้เป็นอาจารย์ด้วย ต้องสอนด้วย เป็นหมอด้วย เป็นอาจารย์ที่ต้องคอยสอนน้องที่มาใหม่

    เวชศาสตร์ครอบครัวดูเป็นองค์รวม

    สโคปของเวชศาสตร์ครอบครัว จริงๆ ดิวิลอปมาจากแพทย์ทั่วไป แต่ก่อนแพทย์ทั่วไปที่ประเทศไทย เขาเรียกว่า จีพี เป็นแพทย์ปฏิบัติทั่วไป แต่ลักษณะการรักษาเขาจะมองไปว่า คนไข้เป็นโรคทั่วไปมาเราก็รักษา

    แต่พอเขาดิวิลอปเป็นเวชศาสตร์ครอบครัว เขาดูเป็นองค์รวม ดูตัวผู้ป่วยด้วย ดูออกไปถึงสภาพแวดล้อมรอบๆผู้ป่วย เช่น ครอบครัวของเขา ความคิดจิตใจของคนไข้คือจะขยายออกไปด้านจิตวิทยาหน่อยๆ ด้านสังคมศาสตร์ บางส่วนเอามาผสมกัน เพราะฉะนั้นสโคป จะกินไปกว้างๆบางทีก็จะกินไปทางเวชศาสตร์ป้องกันด้วย

    :สถานการณ์ของเวชศาสตร์ครอบครัวโดยรวม ตำรวจทั้งประเทศอยู่ในขั้นไหนเป็นยังไง น่าห่วงไหม หรือว่าเป็นอะไรมากที่สุด

    ถ้าเอาตามสถิติยังไม่ทราบ เพราะผมเป็นนานแพทย์ระดับสารวัตรยังเข้าไม่ถึงข้อมูลตรงนี้ แต่บอกได้ว่าในคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลตำรวจ คนไข้ที่มาหาคือประชาชนไทยตอนนี้กำลังเข้าสู่ยุคคนสูงอายุมากขึ้น โรคทางลักษณะของการดูแลผู้สูงอายุจะมากขึ้น อย่างที่เรียนไปแล้วว่าเราดูครอบครัวคนไข้ด้วย

    ดูแลตำรวจ-พฤติกรรมครอบครัว

    เพราะฉะนั้นครอบครัวคนไข้ก็มีคุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่าตายายของตำรวจก็มาหาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จะมีโรคความดัน เบาหวาน ไขมัน เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าตำรวจสุขภาพไม่ดี แต่หมายความว่าบุคคลรอบๆเขาที่มารับบริการของฝ่ายเรา เลยดูโรคพวกนี้มากขึ้นต้องให้คำแนะนำส่วนนี้ คราวนี้พอดูเป็นครอบครัวแล้ว เราให้คำแนะนำยาวไปถึงคนอื่นด้วย เช่น การคุมไขมัน คุมเบาหวานต้องดูอาหาร อย่างนั้นอย่างนี้

    ดีกว่าเวชปฏิบัติที่แนะนำเป็นคนๆ

    แต่คราวนี้ถ้าเราทราบว่า คนในครอบครัวเขาเป็นโรคพวกนี้ด้วยก็อาจจะเกิดจากพฤติกรรมโดยรวมของครอบครัว ต้องเปลี่ยนอาหารทีเดียวอาจจะได้ผลหลายคน  ไปชวนกันไปออกกำลังกายเป็นครอบครัว ถ้าคุณหมอดูเขาอยู่หลายๆคน ในครอบครัว แนะนำปุ๊บมันก็มีแรงหลายแรงที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครอบครัวทั้งหมด อันนี้คอนเซ็ปต์เวชศาสตร์ครอบครัวจะดีกว่าเวชปฏิบัติทั่วไปในอดีตที่ดูเป็นคนๆ แล้วแนะนำเป็นคนๆ ไป

    ถือว่าขาดแคลนไหม เพราะว่าหมอที่ดูแลเวชศาสตร์ครอบครัว ทั้งในส่วนของเวชศาสตร์ฯ และการเฝ้าระวัง มันคนละแบบกัน ที่พูดมาเมื่อกี้เป็นของส่วนลึกของประสาทวิทยา อันนี้ขาดแคลนอยู่แล้ว เพราะเทรนในเมืองไทยไม่ได้

    อันนี้พูดถึงเวชศาสตร์ครอบครัวก่อน ดูตามจำนวนคนไข้กับจำนวนแพทย์ทั้งหมดในเมืองไทยตอนนี้ไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่แล้ว ต้องไปดูอีกทีแต่ว่าก็ยังขาดแคลนอยู่ เพราะเราไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวลงไปถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทย

    ผมทราบว่า ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุข พยายามที่จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลโรงพยาบาลตำบล รพ.สต.มีแพทย์อย่างน้อยใครก็ได้ลงไปซุปเปอร์ไวซ์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวลงไป เพราะที่ผ่านมาบางโรงพยาบาล อาจจะเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านอื่นที่ลงไปดู แต่ว่าจริง แล้ว ไอเดียลี่ควรจะเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ลงไปดูองค์รวม ตอนนี้ยังมีไม่ครบ ดังนั้นดีมานด์มันยังต้องการอยู่

    อาจารย์หมอหนุ่มกล่าวต่อถึงการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในปัจจุบันอีกว่า

    เวรเวชศาสตร์ครอบครัวจะไม่เหมือนเวรแพทย์ทางด้านอื่นๆ เวรแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ อาจจะเป็นเวรอยู่คนดูคนไข้ใน ขึ้นเวร นอกเวลาราชการ แต่เวรเวชศาสตร์ครอบครัว จะเป็นลักษณะของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เป็นการออกไปตามจุดที่เขาต้องการ หรือบางโรงพยาบาล อาจจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คอยรับคอนเซาท์คนไข้ เช่น คนไข้ในความดูแลของเรา อันนี้ไม่แน่ใจเมืองไทยเป็นยังไง

    แต่ถ้าเป็นต่างประเทศระบบเขาแข็งแล้ว อาจจะเป็นคนไข้ที่อยู่ในความดูแลในแอเรีย มีคอนเซาท์เตชั่น มีสงสัย เช่น ผู้ป่วยไม่สบายตอนกลางคืน มีคำถามเรื่องการใช้ยา สามารถโทร.มาปรึกษาที่ออฟฟิศได้ มีเจ้าหน้าที่รับ บางครั้งหมอส่วนตัวของเขาสังกัดโรงพยาบาล

    อย่างหมอ ถ้านอกเวร มีที่ช่วยทำคือระดมพรคลินิกของ “อาจารย์ตุ้ม-พญ.สุภาวดี เจียรกุล” เป็นหลานคนที่ผมนับถือมาช่วยเขาทำ เพราะการรันคลินิกถ้าทำคนเดียวหนักเหมือนกัน

    บางครั้งต้องการความเห็นของแพทย์ 2 ท่าน เพราะบางทีความเจ็บป่วยของคนไข้บางอย่าง คลุมเครือก็ต้องการความเห็นจากแพทย์ 2 คน ช่วยกันตัดสินใจ

    ข้อดีของระดมพรคลินิก ความเห็นผมมีจุดดีกว่าคลินิกอื่น ตรงที่อาจารย์ตุ้มนี่ พูดตรงๆ ความรู้สึกจริงๆคืออาจารย์เป็นคนที่เป็นห่วงคนไข้ คิดถึงเรื่องผลกำไรค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะคิดว่า ดีกับคนไข้รึเปล่าหลายๆอย่าง เช่น การเลือกใช้ยา หรือการดีดีเคทของเขาในการใช้เวลานอกคลินิก ใช้เวลามารีวิว เมดิคัลเรคคอร์ด เขาดี เท่าที่ผมเคยเห็น ประสบการณ์ที่ผมเห็นจากคลินิกอื่นมานะจะประทับใจตรงนี้

    :สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ของตำรวจไทย ขณะที่เราเป็นหมอตำรวจ อยากจะให้กำลังใจ หรือว่าอย่างไร

    คือผมเข้าใจตำรวจเยอะ มันก็ต้องมีนอกลู่นอกทาง ถ้าหากว่าอะไรที่ถูกก็ว่ากันไปตามถูก อะไรที่ผิดก็ว่าไปตามผิด เชื่อว่าผู้บังคับบัญชามีความยุติธรรมอยู่แล้ว

    ส่วนของวิกฤตศรัทธาที่มีต่อตำรวจ อันนี้ตอบในแง่ส่วนตัว คือคิดว่าตำรวจก็ยังเป็นอาชีพที่ดีและเสียสละอยู่  เชื่อว่าทุกวงการมีคนไม่ดี แต่ว่าเรามอง Job Description เป็นหลักว่าจริงๆแล้วอาชีพนี้เขาทำอะไร นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่ผมกลับมาเป็นหมอ แล้วดูแลตำรวจ

    คือผมยังเชื่อมั่นว่า ตำรวจเป็นอาชีพที่มีความจำเป็น ช่วยเหลือประชาชน  เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละ เพราะฉะนั้นผมยังเชื่อมั่น ถ้าเราไม่ไปมองเป็นจุดๆเป็นคนๆไปนะ ไม่ดีก็มีส่วนบ้าง

    ทั้งหมดนี่คืออีก1บุคลากรคุณภาพของโรงพยาบาลตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติครับ

    เฮียเก๋2/6/67

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments