ผบ.ตร. ร่วมวงปาฐกถาและมอบประกาศนียบัตรแก่นิสิตจุฬาฯ ในโครงการ Special LawLAB “การสืบสวนสอบสวนยุค 5G” หรือ โครงการนำร่องศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง(Young Lawyers – Police Engagement Pilot Project) ตามความร่วมมือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. ที่ห้องศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 ตร. พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ ผบก.สส.บช.น.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิสิตคณะนิติศาสตร์ฯ ที่ร่วมโครงการ และกลุ่มครูพี่เลี้ยงจากสถานีตำรวจนครบาล 5 สถานี ประกอบด้วย สน.พญาไท, สน.ห้วยขวาง, สน.บางเขน, สน.บางนา และ สน.พระโขนง ร่วมวงปาฐกถาประสบการณ์ที่น้องๆนิสิตได้ไปดูการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตำรวจ ร่วมถึงฝึกปฏิบัติงานจริงที่สถานีตำรวจ
ในช่วงแรกให้นิสิตฯ ที่ไปดูการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ และฝึกปฏิบัติงานจริง ตามสายงานต่างๆ เช่น งานสอบสวน งานป้องกันปราบปราม งานสืบสวนสอบสวน งานจราจร ได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงาน
น้องๆได้กล่าวถึงปัญหาปัญหา อุปสรรค และข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นจริง ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ เช่น ปัญหาด้านกำลังพลที่มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อาจไม่ตรงตามหลักทฤษฎี ประชาชนไม่ทราบเขตอำนาจสอบสวนของแต่ละ สน. รวมถึงขาดการพัฒนาทางเทคโนโลยี
น้องๆที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหา ข้อขัดข้องการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ โดยอยากให้จัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง แต่อยากให้จัดในช่วงของการปิดภาคการศึกษา และเพิ่มระยะเวลาการฝึกให้มากกว่านี้ เพราะการฝึกแต่ละสายงานมีรายละเอียดค่อนข้างมาก พร้อมได้กล่าวขอบคุณคณะครูพี่เลี้ยง ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้เป็นอย่างดีขณะที่ฝึกปฏิบัติงาน
ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ ได้กล่าวปาฐกถาตอนท้ายว่า
รู้สึกดีใจแทนข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ เพราะอยากให้พี่น้องประชาชน น้องๆนิสิตเสมือนเป็นตัวแทนประชาชนได้เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ว่าตำรวจทำอะไรบ้าง ในขณะเดียวกันก็ต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อยากให้น้องๆมีความทรงจำที่ดีจากการเข้าร่วมโครงการนี้
พร้อมยอมรับว่าตำรวจมีปัญหาจริง เช่น ด้านกำลังพล ก็ต้องมีการปรับแก้กันไป ยกตัวอย่างหากเกิดเหตุแล้วกำลังสายตรวจไประงับเหตุแต่ไม่เพียงพอ ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายจราจร ก็ต้องไประงับเหตุด้วย รวมถึงการฝึกยุทธวิธีด้านต่างๆอย่างการใช้ไม้ง่ามในการระงับเหตุ ด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยี เช่น การพิมพ์ลายนิ้วมือ กำลังมีโครงการติดตั้งเครื่องสแกนลายนิ้วมือซึ่งสามารถตรวจสอบประวัติได้ด้วย โดยเบื้องต้นจะเริ่มต้นที่ บช.น.
ท้ายสุด พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ ได้กล่าวว่ายุคสมัยนี้ “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ แล้วตำรวจไทยไม่มีความพยายามทำให้ได้” ก่อนขึ้นมอบประกาศนียบัตรให้แก่นิสิตฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ