Thursday, December 26, 2024
More
    Homeข่าวเด่นรอบวัน“บิ๊กโจ๊ก”ไม่รอด ก.พ.ค.ตร. ชี้คำสั่งให้ออกจากราชการชอบด้วยกฎหมาย

    “บิ๊กโจ๊ก”ไม่รอด ก.พ.ค.ตร. ชี้คำสั่งให้ออกจากราชการชอบด้วยกฎหมาย

    วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) ได้ประชุมพิจารณาวินิจฉัยคดีที่เป็นที่สนใจและมีคำวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ของพลตำรวจเอกสุรเชชษฐ์ หักพาลโดยได้ส่งคำวินิจฉัยไปให้ผู้อุทธรณ์และคู่กรณีในอุทธรณ์ทราบ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับคำวินิจฉัยแล้ว

    พลตำรวจเอกสุรเชชษฐ์ หักพาล ได้อุทธรณ์ว่าคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 177/2567  ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการไว้ก่อน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจพิจารณาและวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีคำขออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    เนื่องจากกรณีนี้เป็นที่สนใจของประชาชนมีการนำเสนอความเห็นผ่านสื่อสารมวลชน
    จำนวนมาก โดยมีความเห็นที่หลากหลายแตกต่างกันทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงอย่างกว้างขวาง

    ก.พ.ค.ตร.ได้พิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และตามกฎ
    ก.พ.ค.ตร.ว่าด้วยอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ.2567 ซึ่งกำหนดให้ใช้วิธีการไต่สวนและได้ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนแล้ว

    ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ คำขอคุ้มครองชั่วคราว คำชี้แจงของผู้อุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ของคู่กรณีในอุทธรณ์ คำชี้แจงและเอกสารที่เกี่ยวข้องของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย และการแถลงด้วยวาจาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ว่า

    ผู้อุทธรณ์ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา และถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง คู่กรณีในอุทธรณ์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 105 มาตรา 107 มาตรา 133และมาตรา 1999 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2547 ออกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

    วินิจฉัยว่า คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 178/2567 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นคำสั่งที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กฎหมายและ กฎ ก.ตร. กำหนดและเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสม จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

    วินิจฉัยยกอุทธรณ์และยกคำขอกำหนดวิธีการชั่วคราวของผู้อุทธรณ์

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments