Thursday, March 28, 2024
More
    Homeปร์วีร์ บันทึกท่องเที่ยวปราสาทเขาพนมรุ้ง-สนามไอโมบาย

    ปราสาทเขาพนมรุ้ง-สนามไอโมบาย

    ปราสาทเขาพนมรุ้งสนามไอโมบาย ความสุดยอดของบุรีรัมย์ จากโบราณถึงปัจจุบัน

    ความวิจิตรงดงามของโบราณสถาน บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในพื้นที่ดังกล่าวของยุคนั้นๆได้อย่างดี

    วันนี้พาเที่ยวจังหวัดที่มีพร้อม ทั้งโบราณสถานที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต กับสถานที่ที่ทันสมัยสุดๆบ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน อย่าง จ.บุรีรัมย์

    บุรีรัมย์ เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญสมัยอารยธรรมขอมอย่างปราสาทพนมรุ้ง

    ขณะเดียวกันในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ สนามแข่งรถ ค่ายมวย โดยเฉพาะสนามฟุตบอล นามไอ-โมบาย(i-Mobile Stadium) หรือ ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม Thunder Castle Stadium) สนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด

    เราเรียกทริปนี้ว่า ทริปมหัศจรรย์ เที่ยวชมสถานที่เจริญรุ่งเรืองทั้งในยุคโบราณกับปัจจุบัน อย่างสนามไอ-โมบาย และปราสาทพนมรุ้ง ไปพร้อมๆกัน

    สำหรับคนที่มีเวลาสักหน่อย แนะนำให้ขับรถเพลินๆไปเรื่อยๆ จากกรุงเทพฯ แวะพักแวะกินตลอดทาง ใช้เวลาเหลือๆประมาณ 6 ชม.ครึ่ง

    ที่หมายแรก พุ่งตรงไปที่ปราสาทพนมรุ้ง อยู่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 77 กิโลเมตร

    ปราสาทพนมรุ้ง อยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม

    เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ.บุรีรัมย์ และเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของ.บุรีรัมย์

    รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ด้วย

    ที่เป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม คือ มีปรากฏการณ์ธรรมชาติพระอาทิตย์ขึ้นและตก แสงอาทิตย์สาดส่องทะลุ 15 ช่องประตูของปราสาทพนมรุ้ง ทุกๆ ปีจะมีปรากฏการณ์ดังกล่าว 4 ครั้ง

    อีกสิ่งหนึ่งที่ห้ามพลาดการมาชมปราสาทเขาพนมรุ้ง คือ ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์

    ทรงอยู่ที่ทับหลังของมณฑป ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานปราสาทพนมรุ้ง ที่เคยหายไปจนเป็นข่าวคึกโครม และได้กลับมาอยู่ในที่ที่ควรอยู่

    การเดินทาง เมื่อมาถึงจ.บุรีรัมย์แล้ว ขับมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ประมาณ 44 กิโลเมตร

    ถึง.ประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

    ทางเดินขึ้นปราสาทพนมรุ้ง ช่วงแรกเป็นทางราบ พอสุดทางราบก็จะเป็นบันไดหินทรายจำนวน 52 ขั้น

    แต่ละชั้นลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับความสูง ให้ความรู้สึกยอดเขาที่สูงเสียดยอดขึ้นไปสู่สวรรค์

    ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า คำว่า พนมรุ้ง มาจากภาษาเขมรว่า วนำรุง แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่

    ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย

    เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ

    กลุ่มอาคารบนยอดเขาก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 1518

    ความงดงามของสถาปัตยกรรมเขมร ทำให้เรารู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่ง หลีกหนีจากโลกอันวุ่นวาย มานั่งพักผ่อนอย่างสงบพักใหญ่ ก่อนเดินชมปราสาทไปรอบๆ

    สิ่งหนึ่งที่เราตั้งใจว่าต้องชมให้ได้คือ ภาพสลักทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งเราได้ชมได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกเรียบร้อยค่ะ

    อิ่มตา อิ่มใจ กับปราสาทเขมรอันงดงามแล้ว ล้อหมุนไปต่อที่ สนามไอ-โมบาย อีกหนึ่งไฮไลท์ห้ามพลาดของ จ.บุรีรัมย์

    สนามไอโมบาย มีความจุ 32,600 ที่นั่ง เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานระดับโลก ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท

    โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบายและบางส่วนของเนวินชิดชอบ ประธานสโมสร โดยเปิดให้กับบุคคลทั่วไปเข้าชมฟรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน.บุรีรัมย์

    สนามแห่งนี้ยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คด้วยว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลก ที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน

    ขณะเรามาเที่ยวชม ได้เห็น เนวิน ชิดชอบ แต่งตัวสบายๆสวมกางเกงสามส่วน ไม่เหลือลุ๊คนักการเมืองเลย บิดจยย.บิ๊กไบค์อยู่รอบสนามด้วย เป็นอีกหนึ่งจุดสนใจของนักท่องเที่ยวในวันนี้ไปเลย

    นอกจากภายในสนามแล้ว บริเวณรอบๆสนามก็มีพื้นที่ให้เดินเล่นกว้างขวาง รวมทั้งมีร้านขายของที่ระลึกของสโมสร หรือ Buriram United Mega Store  ตรงด้านหน้าสนามแถวจุดจอดรถ ซึ่งเสื้อและของที่ระลึกประจำสโมสร กลายเป็นของฝากประจำ.บุรีรัมย์ไปแล้ว

    มาถึงแล้วนะ บุรีรัมย์ จังหวัดที่มีการผสมผสานความสุดยอดจากครั้งโบราณมาถึงปัจจุบัน เอาไว้อย่างน่าอัศจรรย์

    ปร์วีร์12/4/63

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments