วันที่ 25 ม.ค.67 ณ ห้องประชุมกองบังคับการกฎหมายและคดี ตำรวจภูธรภาค 1 (ศปก.บก.กค.ภ.1) อาคารอเนกประสงค์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.
พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป 5)(สส 3) /หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน เป็นประธานการประชุมคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคำสั่ง ตร.ที่ 670/2566 ลงวันที่ 29 พ.ย. 66 และ คำสั่ง ตร.ที่ 30/2567 ลงวันที่ 18 ม.ค.67 เพื่อเร่งรัดติดตามผลการดำเนินคดีอาญาที่ 737/2566 ของ สภ.คูคต จว.ปทุมธานี
มี นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน ,พล.ต.ท.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบช.ภ.1 /รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนพล.ต.ท.สุรพล เปรมบุตร
ผบช. ประจำ สง.ผบ.ตร./ รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนพล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก./รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน พล.ต.ต.นราเดช ทิพย์รักษ์ รอง ผบช.ภ.1/
รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน พล.ต.ต.ชยานนท์ มีสติ รอง ผบช.ภ.1 / รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน
พล.ต.ต.มานะ อินพิทักษ์ รอง ผบช.ภ.2 /รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนพล.ต.ต.วรชาติ แสนคำ ผบก.สส.ภ.1 /รองหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน พร้อมด้วยคณะพนักงานอัยการ และ พนักงานสืบสวนสอบสวน เข้าร่วมประชุม เพื่อเร่งรัดสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ รัดกุมและเป็นธรรม
พล.ต.ท.อัคราเดช เผยว่าคณะทำงานพิจารณารัดกุมมาก สอบพยานไปแล้ว 130 กว่าปาก การพิจารณาในการที่จะดำเนินคดีคนใดบ้าง ตรงนี้ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะมีผู้เเจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 22 ราย โดย พล.ต.ต.กัมพล อดีตผบก.ภ.จว.ชลบุรี ถูกเเจ้งข้อหาพรบ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯด้วย
ด้านนายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวนกล่าวว่า จากการประชุมชุดของอัยการที่เป็นชุดที่พิจารณาร่วมกัน จนได้บทสรุปความผิดในคดี พรบ.ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พรบ.อุ้มหายฯโดยเเจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการตำรวจและพลเรือน ครั้งนี้มีมติให้เเจ้งข้อหารายใหม่เพิ่มอีก1ราย เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายวัชรินทร์กล่าวอีกว่า ส่วนจะสรุปสำนวนพร้อมความเห็นส่งอัยการปราบปรามทุจริตฯได้เมื่อไหร่นั้น ขั้นตอนจะต้องแจ้งข้อหาเพิ่มเติมก่อน ต้องทำหนังสือออกหมายเรียกไปให้ผู้ต้องหาดังกล่าวทั้ง 22 ราย มาพบพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 12 เเละ13 ก.พ.ให้มารับทราบข้อกล่าวหาที่กองบังคับการกฎหมายเเละคดีตำรวจภูธรภาค 1
ตนเห็นว่าบางทีเจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฏหมายที่ออกมาใหม่ หลักสำคัญคือการจับกุมผู้ต้องหา1. ต้องมีการแจ้งการจับตามมาตรา 22 หลังจากแจ้งการจับเสร็จแล้วจะต้องส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี แต่ถ้าเกิดมีการจับแล้วไม่ได้มีการนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฏหมายอันนี้อาจจะถือว่าเข้าข่ายความผิดมาตรา 7
ส่วนขั้นตอนต่อไปเมื่อแจ้งข้อกล่าวหาแล้วหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ก็ต้องสรุปสำนวนทำความเห็นในคดีซึ่งเราให้สิทธิ์ผู้ต้องหาที่จะอ้างพยานหลักฐานอะไรเข้ามาได้ เราให้สิทธิ์เต็มที่ เราไม่ได้ตัดสิทธิ์ การแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวยังไม่ได้หมายความว่าเราจะสรุปสำนวนสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเพียงแต่เป็นการเริ่มต้นของการสอบสวนที่เราเห็นว่า มีพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่าน่าจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งผู้ต้องหาเองก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งหรือว่านำพยานหลักฐานเข้ามาก็ได้