Saturday, November 23, 2024
More
    Homeบทความทั่วไป“ภาวะโลกเดือด”ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

    “ภาวะโลกเดือด”ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

    วันนี้เราไม่ได้เผชิญกับภาวะโลกร้อน Global Warming  แต่มันคือ “ภาวะโลกเดือด” Global Boiling เพราะเหตุโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปแล้วกว่า 2,500 ล้านจิกะตัน (Gt) หรือ 2,500 ล้านล้านตัน

    ข้างต้นคือท่อนหนึ่งในปาฐกถาของ นายอันโตนีโอ กูเทอเรสเลขาธิการสหประชาชาติ

    “ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมหาศาลคือปัญหาสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ ไคลเมต เชนจ์ การประชุมดาวอส มีการพูดกันว่า ถ้ามันรุนแรงขึ้น อาจจะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 12.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2050 หรืออีก 27 ปีข้างหน้า”

    ย่อหน้าถัดมาคือการบรรยายของ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในเวทีสัมมนางานอรุณ สรเทศน์ รำลึก 2567โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ ความท้าทายในการเดินหน้าอนาคตประเทศ โดยเฉพาะอุณหภูมิของโลกที่นับว่า่ยิ่งสูงขึ้น

    ดร.พิรุณ อธิบดีกรมโลกร้อน ที่เรียกให้เข้าใจง่ายๆ กันทั่วไปได้ระบุว่า

    โลกเจอความหายนะหลายรูปแบบ ที่ผ่านไปหมาดๆคือการระบาดของโควิด -19 ตอนนี้กำลังเผชิญกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังก้าวเข้าสู่ ไบโอไดเวอร์ซิตีคอลแลปส์ (Biodiversity Collapse) หรือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์

    เมื่อใดก็ตามที่มาถึงตรงจุดนี้ นั่นคือ “จุดจบของมวลมนุษยชาติ”

    ผลกระทบที่เห็นภาพชัดเจนคือ หมีขั้วโลกเริ่มอาศัยอยู่ยากลำบาก เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้มันไม่สามารถหาอาหารได้ในเขตที่อยู่อาศัย ภาพดอกไม้บานในดินแดนแอนตาร์กติกา ที่เป็นความสวยงามแต่แฝงความหายนะ

    การที่ดอกไม้บานในเขตขั้วโลกที่มีแต่ธารน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม

    รวมถึงประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า อุณหภูมิโลกอาจจะสูงขึ้นไปถึง 50 องศาเซลเซียส นั้น แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกคน โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพ อาหารการกิน   อย่างทะเล นักวิชาการกรมทะเลและชายฝั่ง ออกมาเตือนว่าเราเผชิญกับปะการังฟอกขาวในน้ำทะเลอีกครั้งหนึ่ง

    สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เราต้องร่วมกันแก้ปัญหาก่อน ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม เพื่อหวังผลว่าในอีก 15-20 ปีข้างหน้า ผลกระทบจะเบาบางลง และอยู่ในระดับที่มั่นคงยั่งยืน

    ดังที่เลขายูเอ็น กล่าวไว้ว่าปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับภาวะโลกเดือด Global Boiling

    ดร.พิรุณ แนะว่า กติกาโลกก็จะเปลี่ยน ธุรกิจต้องมองเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน ต้องเป็นสีเขียว ตลาดคาร์บอนจะมีบทบาทในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือกรีนเฮาส์เอฟเฟ็ค แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาหลักมันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น เพื่อให้เราเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การรายงานการปล่อยก๊าซจากนี้ ต้องโปร่งใสมากขึ้น

    เราต้องเปลี่ยนผ่านเรื่องพลังงานให้ได้ ไม่เช่นนั้นไทยไม่มีทางเป็นกลางคาร์บอน หรือ Net Zero  ได้ รวมถึง Carbon  Tax จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต แรงกดดันจากต่างประเทศก็จะมากขึ้นด้วย

    การประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ปี2021-2030  เป็น “ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” มีการกำหนดวิสัยทัศน์ว่า ปี 2050 เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ สาระสำคัญคือมีทั้งการลดภัยคุกคาม การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ไปจนถึงกลไกผลักดันให้มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลัก

    การที่เราเผชิญกับสภาวะโลกเดือดขณะนี้ ผลกระทบที่สัมผัสได้อย่างชัดเจน ด้านสุขภาพ เราจะพบว่าผู้คนได้รับภัยจากอาการฮีตสโตรก (Heatstroke) หรือโรคลมแดด ถึงขั้นเสียชีวิตเริ่มมีจำนวนมากขึ้นๆ

    ปีที่ผ่านมามีผู้คนมีชื่อเสียง มาจบชีวิตด้วยอาการฮีตสโตรกคงจำกันได้

    สิ่งที่เราคิดว่าไกลตัวเกินไปสำหรับเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฟังดูแล้วไม่ค่อยน่าใส่ใจนัก ความจริงมันเหมือนเงาตามตัวเรามากกว่า

    ตอนนี้ก็เริ่มวิกฤตโลกเดือดเข้าไปทุกวินาที เตือนภัยว่าต้องตระหนักให้มากกว่าเดิม เพราะมันคุกคามไปทั่วโลกแล้ว.

    ดอนรัญจวน 8/3/2567

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments