Saturday, November 23, 2024
More
    Homeข่าวเด่นรอบวัน“รองโจ๊ก”สั่ง ศปน.ตร.กวาดล้างแอปเงินกู้นอกระบบและแก๊งรับจำนำรถ ภาค1-2

    “รองโจ๊ก”สั่ง ศปน.ตร.กวาดล้างแอปเงินกู้นอกระบบและแก๊งรับจำนำรถ ภาค1-2

    ศปน.ตร.ระดมกวาดล้างเครือข่ายแอปเงินกู้นอกระบบและแก๊งรับจำนำรถในพื้นที่ภาค 1 และ 2 ปูพรมตรวจค้นพื้นที่ รวมดำเนินคดี ผู้ต้องหา 23 ราย ยึดของกลางอีกหลายรายการ

    ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อนจากเงินกู้นอกระบบในหลายรูปแบบ เช่น แอปพลิเคชันเงินกู้ ผิดกฎหมาย , แก๊งหมวกกันน็อค , การรับจำนำรถ เป็นต้น

    ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.) นำโดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศปน.ตร., พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./รอง ผอ.ศปน.ตร. พล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศปน.ตร.

    สั่งการชุดปฏิบัติการสืบสวนส่วนกลาง ศปน.ตร. เร่งรัดปราบปรามกลุ่มเงินกู้นอกระบบที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรากว่าที่กฎหมายกำหนด และมีการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้  ให้สืบสวนหาเครือข่ายผู้กระทำความผิดดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้

    1. ชุดปฏิบัติการสืบสวนส่วนกลาง ศปน.ตร. ชุดที่ 1 จับกุมแก๊งแอปเงินกู้นอกระบบ
    พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผบช.ภ.1 , พล.ต.ต.นราเดช ทิพย์รักษ์ รอง ผบช.ภ.1  สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ ชป.ส่วนกลาง 1  สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ในความผิดเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเงินกู้ผิดกฎหมาย ชื่อแอพ“กู้ให้ดีดี”  

    มีรูปแบบการให้กู้ยืมผ่านแอปพลิเคชัน ระยะเวลาในการกู้ยืมเงิน 7 วัน  จะหักดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 40 ต่อ 7 วัน ต้องชำระเงินคืนเต็มจำนวน เมื่อคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปีจะพบว่า มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 2085% ต่อปี หากไม่สามารถหาเงินมาชำระได้ทัน ผู้กู้ก็จะถูกโทรศัพท์มาข่มขู่ และโพสต์รูปประจานบนสื่อสังคมออนไลน์

    จากการสืบสวนพบว่า เครือข่ายเงินกู้นอกระบบแอปพลิเคชัน “กู้ให้ดีดี” มีเส้นทางการเงินของเครือข่ายนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีรายละเอียด ดังนี้

    – กลุ่มบัญชีโอนเงินให้ผู้กู้ (บัญชีธนาคารขาเข้า) และเชื่อได้ว่าเป็นกลุ่มบัญชีธนาคารที่ใช้เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ (บัญชีม้าสำหรับโอนเงินกู้ให้ผู้กู้)

    – กลุ่มเจ้าของบัญชีรับชำระเงินต้น/ดอกเบี้ย (บัญชีธนาคารขาออกชั้นที่ 1) และเชื่อว่าเป็นกลุ่มบัญชีธนาคารที่ใช้เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ (บัญชีม้าสำหรับรับโอนชำระหนี้เงินกู้)

    – กลุ่มเจ้าของบัญชี สำหรับพัก/ยักย้าย/รวบรวมทรัพย์สิน (บัญชีธนาคารขาออกชั้นที่ 2) โดยการรับโอนจากบัญชีธนาคารกลุ่มเจ้าของบัญชีรับชำระเงินต้น/ดอกเบี้ย และพบว่าบางส่วนโอนแจกจ่ายต่อไปยังบัญชีธนาคารกลุ่มโอนเงินให้ผู้กู้ จึงเชื่อว่าเป็นกลุ่มบัญชีนายทุนเงินกู้ และผู้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้

    จากพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรวบรวม ได้ร้องขออนุมัติหมายจับศาลจังหวัดสมุทรปราการ เจ้าของบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายลักลอบปล่อยเงินกู้ แอปพลิเคชั่น “กู้ให้ดีดี”   14 ราย  

    ข้อหา “ร่วมกันให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและโดยกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆไว้ในหลักฐานการกู้ยืม หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและร่วมกันเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับในทางการค้าปกติโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดยมีเงินหมุนเวียนประมาณ 160 ล้านบาท

    ต่อมาวันที่ 3 ส.ค.66 พล.ต.ต.อภิชาติ วรรณภักดิ์ ผบก.บก.สส.ภ.1 , พล.ต.ต.วรพงศ์ คำลือ ผบก.สส.ภ.5 , พล.ต.ต.พัลลภ แอร่มหล้า ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ , พล.ต.ต.ดุลเดชา อาชวะสมิตระกูล ผบก.ภจว.เชียงราย , พ.ต.อ.โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ , พ.ต.อ.พีรศักดิ์ รอดบน รอง ผบก.สส.ภ.1 / หน.ชป.ส่วนกลาง ศปน.ตร. ชุดที่ 1 และ พ.ต.อ.กฤษดา พันธ์เกษม รอง ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ / หน.ชป.ส่วนกลาง ศปน.ตร.ชุดที่ 5

    พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการ ศปน.ตร.ภ.1 และ ภ.5 เข้าทำการ ปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย  9 จุด ใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ เชียงราย ผลการดำเนินการสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ทั้งหมด 9 ราย หลบหนี 5 รายนำส่ง  สภ.บางแก้ว ภ.จว.สมุทรปราการ  ดำเนินคดีตามกฎหมาย

    2. ชุดปฏิบัติการสืบสวนส่วนกลาง ศปน.ตร. ชุดที่ 2 จับกุมแก๊งเสี่ยไอซ์ จำนำรถ
    ด้วยเมื่อวันที่ 31 ม.ค.66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปน.ภ.2 ได้ จับกุม นายณัฐพงษ์ หรือโจ้ (สงวนนามสกุล) อายุ 36 ปี โดยขออนุมัติหมายค้นศาลจังหวัดพัทยา ที่ 12/2566 ลง 31 ม.ค. 2566  ตรวจค้นบ้าน  ม.4 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จว.ชลบุรี  มีนายณัฐพงษ์ หรือโจ้ (สงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นเจ้าของบ้าน 

    จากการตรวจค้นได้ตรวจยึดจับกุม รถจักรยานยนต์ 37 คัน รถยนต์ 69 คัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ 1 เครื่อง สมุดจดบันทึกรายการบัญชีเงินกู้ของลูกค้าและรายการรับจำนำรถ จำนวน 1 เล่มรวมของกลางทั้งสิ้น   108 รายการ

    แจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกจับในความผิดฐาน “ ประกอบธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้ขออนุญาต , และจัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต”  จากนั้นนำตัวผู้ถูกจับพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน สภ.บางละมุง จว.ชลบุรี เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

    พล.ต.ท. อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.ภ.2 , พล.ต.ต.ชัยต์พจน สูวรรณรักษ์ รอง ผบช.ภ.2 / รอง ผอ.ศปน.ภ.2 ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ ชป.ส่วนกลาง 2 ให้สืบสวนขยายผลเพิ่มเติม เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับบุคคลอื่นที่ร่วมอยู่ในขบวนการ ต่อมาสามารถขออนุมัติศาลจังหวัดพัทยา ออกหมายจับบุคคลผู้เกี่ยวข้องได้เพิ่มเติม 2 ราย ได้แก่

    1. นายกฤตภาส (สงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลจังหวัดพัทยา ที่ จ.359/2566 ลง 13 ก.ค. 66 (จับกุม)
    2. นายฐณะวัฒน์ หรือ เสี่ยไอซ์ (สงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลจังหวัดพัทยา ที่ จ.360/2566 ลง 13 ก.ค. 66 (หลบหนี)

    ในความผิดฐาน “ร่วมกันประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับในทางการค้าปกติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และร่วมกันให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และร่วมกันจัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต”

    จากการดำเนินการดังกล่าว ต่อมาวันที่ 3 ส.ค. 66 พ.ต.อ.ชาตรี สุขศิริ รอง ผบก.ภ.จว. ชลบุรี / หน.ชป.ส่วนกลาง ศปน.ตร. ชุดที่ 2 และ พ.ต.อ.อรรฆพงษ์ สุนทรวิภาต รอง ผบก.ภ.จว.จันทบุรี /หน.ชป. ศปน.ภ.2 พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการ ศปน.ตร.ภ.2 , ภ.1 , ภ.7 , สตม. และ บช.ทท.

    เข้าปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย  14 จุด ใน  4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี , ระยอง , พิษณุโลก และ กาญจนบุรี เพื่อค้นหาผู้ต้องหาตามหมายจับ รวมทั้งบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และตรวจยึดทรัพย์สิน ผลการดำเนินการสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้สิ้น 7 ราย ประกอบด้วย
    พื้นที่ จ.ระยอง

    1. น.ส.จันทิมา (สงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลจังหวัดจันทบุรี ที่ 153/2564 ลง 2 ส.ค.64 ในข้อหา ฉ้อโกง และ แจ้งข้อกล่าวหา ประกอบสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต และจัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต

    2. นายนรงค์ฤทธิ์ (สงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลจังหวัดชลบุรี ที่ 150/2566 ลง 31 ม.ค.66 ในข้อหา ยักยอกทรัพย์

    3. น.ส.มณิสรา (สงวนนามสกุล) ในข้อหา ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้ขออนุญาต และ จัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต

    พื้นที่ จ.ชลบุรี
    1.นายพิมพ์พันธ์ (สงวนนามสกุล) ในข้อหา มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
    2.นายทศพนธ์ (สงวนนามสกุล) ในข้อหา ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ และ
    ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

    พื้นที่ จ.กาญจนบุรี
    1.นายกฤตภาส (สงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลจังหวัดพัทยา ที่ 359/2566 ลง 13 ก.ค. 66 ใน

    ข้อหา ร่วมกันประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับในทางการค้าปกติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และร่วมกันให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และร่วมกันจัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต

    2.นายภาคภูมิ (สงวนนามสกุล) ในข้อหา ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้ขออนุญาต และ จัดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาต ของกลางที่ตรวจยึดได้ ดังนี้ รถยนต์ 29 คัน รถจักรยานยนต์ 10 คัน กุญแจรถยนต์ 12 ดอก สมุดบัญชีเงินฝาก 10 เล่ม ซึ่งเครือข่ายรับจำนำรถของเสี่ยไอซ์ มีเงินหมุนเวียน ประมาณ 100 ล้านบาท

    พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปน.ตร. กล่าวว่า ในวันนี้ ศปน.ตร. มีหน้าที่ในการปราบปรามแก๊งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งปัจจุบันมีการกระทำผิดในหลายรูปแบบ ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการจับกุม แอปพลิเคชันเงินกู้นอกระบบผิดกฎหมายที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน และเป็นการตัดวงจรกลุ่มบัญชีม้าซึ่งเป็นต้นทางของการนำไปก่ออาชญากรรมในหลากหลายรูปแบบ

    หลังจากจับกุมกลุ่มดังกล่าวแล้ว จะให้สืบสวนขยายผลหาผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้การแปลงเงินตราให้เป็นเงินสกุลดิจิทัลเพื่อให้ยากแก่การติดตาม อย่างไรก็ตาม ศปน.ตร.จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มผู้กระทำผิดให้สิ้นซาก

    นอกจากนี้ในส่วนของการปราบปรามแก๊งรับจำนำรถโดยผิดกฎหมายนั้น ก็เป็นปัญหาหนี้นอกระบบในอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงมาก ยังมีความเสี่ยงที่ผู้รับจำนำรถจะเอารถยนต์ที่มาจำนำไว้ไปจำหน่ายต่อ

    ในบางรายที่รถยนต์ยังอยู่ระหว่างเช่าซื้อ ทางผู้ประกอบการลีสซิ่งก็อาจจะฟ้องร้องในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ จึงได้สั่งการให้เข้าตรวจยึดทรัพย์สินเหล่านี้ เพื่อเป็นการปราบปรามกลุ่มแก๊งรับจำนำรถ ไม่ให้สามารถดำเนินการผิดกฎหมายได้อีก

    สุดท้ายนี้ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอฝากเตือนภัยถึงประชาชน อย่าหลงเชื่อในการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งยังเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หากต้องการตรวจสอบแหล่งเงินกู้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบใบอนุญาตการปล่อยสินเชื่อได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้

    – ธนาคารแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseChec

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments