นรต.49 คนนี้จัดเป็นนักสืบคุณภาพ
สะสมประสบการณ์งานสืบสวนจากกองปราบ ทางหลวง สืบสวนภาค1 ก่อนเติบโตในชีวิตราชการตามลำดับ โดยเฉพาะที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ไม่ว่าจะเป็นรองผบก.ตม.6และรองผบก.สส.สตม.
ไม่แปลกตำรวจ 1ใน4ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเข้ารับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่นครุฑทองคำ ประจำปี2568ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีชื่อรองนิก รวมอยู่ด้วย
โดยจะมอบรางวัลในวันที่1เม.ย.68วันข้าราชการพลเรือน
อีก3คนคือ พ.ต.อ.หฤษฏ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.3 พ.ต.ท.พงศ์พิพัฒน์ ปุ้มตะมะ สว. (สอบสวน) สน.พลับพลาไชย 2 และ พ.ต.อ.กันตภณ โพธิ์อ๊ะ ผกก.ม้าตำรวจ บก.สปพ.
ในส่วนของรองนิก-พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ จิตต์ประยูรตี รอง ผบก.ตม.6ที่ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลครุฑทองคำ
เพราะผลงานจากกรณีที่ตร.มีนโยบายให้สืบสวนขยายผล ขบวนการเครือข่ายการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย ที่เข้ามาพำนัก หรือมาทำงานในประเทศไทย หรือใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน ไปประเทศที่ 3ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในหลายรูปแบบ ที่ส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคง และประเทศชาติ
พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ ได้ขับเคลื่อนงานบริหารสืบสวนขยายผลจัดทำข้อมูล(สร้างถังข้อมูล)วิเคราะห์สถานการณ์ขบวนการเครือข่ายลักลอบนำพาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในพื้นที่ที่ สตม.รับผิดชอบในพื้นที่ (ทั่วประเทศ)
ดูได้จากผลการปฏิบัติงานราชการประจำปี 2567 พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ ได้วางแนวทางการทำงานการสืบสวนขยายผล บรรยายให้ความรู้กับจนท.ฝ่ายสืบสวน ทุก ตม.จว.ให้รู้วิธีสืบสวนตั้งแต่การจัดชุดปฏิบัติการสืบสวน ลงพื้นที่เกิดเหตุ
เก็บพยานหลักฐาน วิธีการซักถาม ศึกษาแผนประทุษกรรม พิสูจน์ทราบขบวนการให้ได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางวิเคราะห์ข้อมูลทางคดี การรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐาน จนนำไปสู่การออกหมายจับ
สร้างเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลรวบรวมในแต่ละคดี กำหนดแบบฟอร์ม การกรอกข้อมูล /สถิติ รายละเอียดของคดี เส้นทางเครือข่ายและ ข้อมูลคดีที่มีการสืบสวนขยายผลที่เกิดในพื้นที่ทั่วประเทศ
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ และวางมาตรการในการป้องกันปราบปราม ฯ เร่งรัดติดตาม ขยายผล ทุกเดือน
จัดตั้งศูนย์ฯ ทีมวิเคราะห์ทุกบก.ฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการติดต่อ และความเคลื่อนไหวทางการเงินของผู้ต้องหาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในทุกคดี (แยกสัญชาติ เมียนมา บังคลาเทศ /กัมพูชา และจีน )
เป้าหมายสืบสวนขยายผลพิสูจน์ให้ได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เข้าลักษณะเป็นเครือข่ายแล้ว มาโยนในถังหาความเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายพิสูจน์ทราบเป็นไปในรูปแบบของขบวนการ
![]()
ภาพรวมผลปฏิบัติ ในปี 67 ทั้งหมด 411 คดี ออกหมายจับ 78 ราย มีการดำเนินคดีได้ทั้งหมด 24เครือข่าย คือกลุ่มเครือข่ายบังกลาเทศ /กลุ่ม เครือข่ายเมียนมาและกลุ่มเครือข่ายจีน
ขบวนการเครือข่ายที่สำคัญ ที่ได้จับกุมแถลงข่าวมีพ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ อยู่เบื้องหลังมีดังนี้
การจับกุมขบวนการเครือข่าย นายอัสราฟ และเครือข่าย อื่นๆในกลุ่มของขบวนการขนชาวบังคลาเทศ 9 เครือข่าย ที่ลักลอบ มาจากเมืองธากา บังคลาเทศ ผ่านทางกัมพูชา ลักลอบเข้าไทยช่องทางธรรมชาติ ทางอรัญประเทศฯ มีขบวนการนำพาจากชายแดนเข้าพื้นที่ชั้นใน ในลักษณะส่งเป็นทอด ๆ จนถึงชายแดน ทางจว.นราธิวาส เพื่อข้ามไปยังประเทศมาเลเซีย
ทลายขบวนการเครือข่ายนายอนุรักษ์ ที่เป็นกลุ่มนำพาช่วยเหลือชาวเมียนมาอิสลาม ลักลอบเข้าจากพื้นที่ ชายแดนสังขละบุรี กาญจนบุรี ผ่านพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ลงไปพื้นที่ ภาคใต้ไปยังมาเลเซีย และพบความเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ เป็นกลุ่มขบวนการ
ทลายขบวนการเครือข่ายลักลอบขนจีนโดยผิดกฏหมาย (5เครือข่าย) “ปฏิบัติการ รุกฆาตขนคน” คนต่างด้าวสัญชาติจีนที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับคอลเซ็นเตอร์
มีกลุ่มขบวนการนำพาช่วยเหลือให้กลุ่มคนจีนลักลอบเข้ามาในประเทศไทยทางช่องทางธรรมชาติ ตามแนวตะเข็บชายแดนทั่วประเทศ
กลุ่มช่วยเหลือนำพาคนจีนหลบหนีจะกระทำเป็นรูปแบบมีความเชื่อมโยงในลักษณะ เป็นขบวนการ แบ่งพื้นที่และแบ่งหน้าที่กันทำ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย
ทั้งนี้ ความสำเร็จของการให้ความรู้ สร้างแนวทางการทำงานให้กับฝ่ายสืบสวน สตม. ที่ส่งผลให้มีความรู้ด้านงานสืบสวนคดีอาญาเพิ่มขึ้นสามารถจับกุมสืบสวนขยายผลทลายขบวนการเครือข่ายเป็นจำนวนมาก และสามารถใช้ประโยชน์จากถังข้อมูล ใช้เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงานสืบสวน ในปีต่อๆไป
เมื่อผลงานเป็นที่ประจักษ์ พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ จึงถูกเสนอชื่อจากหน่วยงานไปยังพล.ต.อ.กิตดิ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร.ลงนามเสนอปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ครุฑทองคำ” ประจำปี 2568
เป็นอีกรางวัลอันทรงคุณค่าสำหรับ“ข้าราชการพลเรือนดีเด่น “ครุฑทองคำ”
พ.ต.อ.ภาณุภาคยณ์ จิตต์ประยูรตี