สืบนครบาล รวบ หนุ่มวัย18 หัวจ่ายยาเสพติดย่านเอกมัย ตรวจค้นเจอยาบ้า พกปืนที่เอว และมีปืนลูกซองในกระเป๋า
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย ,พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.บช.น. พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท ณัฐวุฒิ สีเสมอ , พ.ต.ท.นิติกรณ์ ระวัง รอง ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น.
สั่งการให้ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.สมพร คำเกตุ สว.กก.สส.2 บก.สส.บช.น.ได้ร่วมกันจับกุมนายภานุวัฒน์ อายุ 18 ปีอยู่บ้านย่านเขตวัฒนา กรุงเทพฯ
โดยกล่าวหาว่า “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า) โดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย, ครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, พกพาปืนและเครื่องกระสุนปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร”
พร้อมด้วยของกลาง
1.ยาบ้าชนิดสีแดง 351 เม็ด 2.ปืนลูกซอง 1 กระบอก (พบอยู่ในกระเป๋าสะพายสีเขียว)3.กระสุนปืนลูกซอง เบอร์ 12 จำนวน 3 นัด4. ปืน 9 มม. ยี่ห้อ sig sauer รุ่น p980 จำนวน 1 กระบอก(พบที่เอวของผู้ถูกจับ5.ซองกระสุนปืน(แม็กกาซีน) ขนาด 9 มม. จำนวน 2 อัน (พบเสียบอยู่ที่อาวุธปืน1 อัน และพบที่กระเป๋ากางเกงข้างซ้ายของผู้ถูกจับ 1 อัน6.ซองใส่อาวุธปืน 1 อัน7. กระสุนปืน 9 มม. 13 นัด จับกุมที่ลานจอดรถในซอย เอกมัย 24 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
พฤติการณ์กล่าวคือ ก่อนการจับกุม ชุดจับกุมรับแจ้งจากสายลับว่ามีนายภานุวัฒน์ฯ (ทราบชื่อและนามสกุลภายหลัง) เป็นผู้ลักลอบจำหน่ายยาเสพติด บริเวณย่านเอกมัย แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนล่อซื้อยาเสพติด ได้พร้อมของกลางทั้งหมด สอบสวนรับว่า ได้จำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) จริง โดยจำหน่ายในราคา 4,000 บาท
ส่วนปืนลูกซองได้นำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับดู และปืนกึ่งอัตโนมัติ ยี่ห้อ sig sauer รุ่น p980 ได้พกพาเพื่อไว้ใช้ป้องกันตัวเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้จัดทำบันทึกการจับกุมและนำตัวผู้ถูกจับพร้อมของกลาง นำส่ง พงส.สน.คลองตัน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ กล่าวว่า ยาเสพติดนั้นก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน โดยในปัจจุบันที่ผู้คนสามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้นผ่านโลกออนไลน์ สามารถทำการติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรง ยิ่งทำให้การจับกุมยาเสพติดมีความยากลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงใน
การใช้ยาเสพติดในช่วงวัยเด็กและเยาวชนที่มากขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนความช่วยเหลือจากครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร่วมมือของคนในชุมชน