Wednesday, October 30, 2024
More
    Homeบทความทั่วไปอัยการชี้ปม ตำรวจฆ่าตัวตายง่าย

    อัยการชี้ปม ตำรวจฆ่าตัวตายง่าย

    อัยการคดีครอบครัวชี้ ตำรวจฆ่าตัวตายง่ายเพราะมีปืน ชี้มีความเครียดสูงมี พงส.น้อย ต้องตั้งผู้ช่วยทดแทน
     
    นายวุฒิชัย พุ่มสงวน อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 6 กล่าวถึงสถานการณ์ตำรวจฆ่าตัวตายสูงว่า
    ทุกอาชีพนั้นมีความเครียดสะสมเพียงแต่ว่าตำรวจมีความเครียดและมีปืนอยู่ใกล้ตัว
    ที่ผ่านมาค่านิยมของคนปกติการมาเป็นตำรวจคือเป็นผู้ที่มีอำนาจ
    แต่ในส่วนของตำรวจที่มาเป็นพนักงานสอบสวนนั้นเหมือนพนักงานออฟฟิศธรรมดาที่มีงานหนักมากและไม่มีระบบ support
    คือ ต้องทำงานคนเดียวรับแรงกดดันทั้งจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย เจ้านาย มวลชนพนักงานราชการ และศาลยุติธรรม
    ที่สำคัญปริมาณงานของพนักงานสอบสวนมีจำนวนมาก และมีความยุ่งยากไม่มีระบบใน การเรียนรู้อย่างแท้จริงขาดพี่เลี้ยง ขาดลูกน้องมาช่วยงาน
    ส่วนตำรวจสายงานอื่นๆก็มีความกดดันแตกต่างกันไปที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาตลอด เวลา
     
    “ผมขอพูดในส่วนของพนักงานสอบสวนเพราะทำงานใกล้ชิดอัยการ
    จะพบว่าตำรวจในปัจจุบันที่เป็นพนักงานสอบสวนที่ยังปฏิบัติหน้าที่โดยตรงมีจำนวนน้อยมาก ฟังดูเหมือนจะเยอะ
    แต่ใครก็ตามที่เข้ามาเป็นพนักงานสอบสวนแล้ว จะวิ่งเต้นเพื่อขอย้ายไปช่วยราชการที่ส่วนงานอื่น แต่ชื่อยังเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ เพราะงานมันเครียดมาก เพราะต้องรับแจ้งความทุกเรื่อง
    นอกจากนี้ในทางทฤษฎีจะต้องรับผิดชอบไปจนถึงศาลชั้นต้นศาลชั้น อุทธรณ์และศาลฎีกาด้วย งานจึงหนักมากในระยะหลังจึงมีข่าวฆ่าตัวตายสูงขึ้น
    อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าทุกอาชีพมีความเครียด เพียงแต่ตำรวจมีทั้งความเครียดและมีปืนจึงมีโอกาสในการฆ่าตัวตายได้สูง”
     
    นายวุฒิชัยกล่าวต่อว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็รู้ว่า มีปัญหาตำรวจฝ่ายสอบสวนฆ่าตัวตาย หนทางแก้ไขปัญหามีหลายวิธีแต่ไม่แน่ใจว่าวิธีไหนจะมีประสิทธิผลมากที่สุด
    อาจจะแบ่งเป็นเรื่องในประเด็นเรื่องการทำงานที่จะต้องสร้างระบบ สร้างเครื่องมือสร้างผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานสอบสวน
    ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติพยายามใช้ตำแหน่งนี้แต่คงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะมีระบบที่ทั่วถึงไปทั้งประเทศ
    ในส่วนเรื่องหน้าที่การเจริญเติบโตตามสายงานก็ควรจะมีลื่นไหลอยู่ในระบบ ไม่จำเป็นต้องไปประจบเจ้านาย

    แต่ปัจจุบันพนักงานสอบสวนยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้กำกับการ ซึ่งมีอำนาจควบคุมทั้งสายปราบปรามและสายสอบสวน
    ผู้กำกับจะสั่งให้เอาพยานหลักฐานชิ้นไหนเข้าสำนวนหรือจะตัดออกก็ได้ เพราะสำนวนคดีตามปกติก็ทำกันเอง ไม่มีใครรู้จึงทำให้เกิดปัญหา
    เครดิต วัสยศ งามขำ บางกอกโพสต์
     
    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments