วันที่ 21 ต.ค.65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชอาญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพแฮกข้อมูลบัญชีดิจิตอลแพลตฟอร์มส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบหรือใช้ในการกระทำความผิด สร้างความเสียหาย
จากกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอข่าวมียูทูปเบอร์รายนึงถูกมิจฉาชีพแฮกข้อมูลบัญชีของช่องYouTube จากนั้นลบคลิปและขโมยข้อมูลของช่องสร้างความเสียหาย
กรณีลักษณะดังกล่าวมีสื่อภายในประเทศและสื่อต่างประเทศ ได้นำเสนอเกี่ยวกับอาชญากรรมในลักษณะการแฮกข้อมูลบัญชีดิจิตอลแพลตฟอร์มส่วนบุคคล หรือการหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล(Identity Theft) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจาก บัญชี YouTube บัญชี Facebook รวมถึงข้อมูลบัตรประชาชน บัตรเครดิต หรือข้อมูลเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ไปใช้หาประโยชน์ในทางมิชอบ
ทั้งนี้ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามโยบายของรัฐบาล และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ได้กำชับสั่งการให้ทุกกองบังคับการในสังกัด เร่งดำเนินการสืบสวนปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพดังกล่าว
โฆษก บช.สอท. กล่าวต่ออีกว่า พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท.ขอฝากไปถึงผู้ใช้บัญชีดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ หมั่นตรวจสอบการตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยของบัญชีตนเองเพื่อไม่ให้มิจฉาชีพแฮกบัญชีหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปสร้างความเสียหาย พร้อมฝากประชาสัมพันธ์ถึง แนวทางป้องกัน 15 ประการ ดังนี้
1.ป้องกันข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวมีโอกาสถูกขโมยได้ทุกเมื่อ ควรเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
2.เปิดเผยข้อมูลด้วยความระมัดระวังควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ทุกครั้งก่อนเปิดเผยข้อมูล
3.เปลี่ยน Passwordให้ยากต่อการคาดเดาควรตั้งรหัสผ่านอย่างน้อยมี 8 ตัวอักษรและมีตัวเลขผสมกันหรือใช้ Password manager สำหรับจัดเก็บชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
4.ใช้อีเมลสำรองควรใช้อีเมลสำรองแทนอีเมลส่วนตัวสำหรับการรับข่าวสารหรือข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่สำคัญ
5.บริหารและจัดการแอปพลิเคชันที่ไม่ใช้ตรวจสอมแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ไม่ใช้งานและทำการลบเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล
6.โหลด Application จาก Official Store แอปพลิเคชันมนสมาร์ทโฟนควรโหลดจาก Official Store หรือแหล่งที่น่าเชื่อถือเพื่อป้องกันแอปพลิเคชันปลอม
7.ไม่ผูกบัตรเครดิตออนไลน์ไม่ควรมันทึกข้อมูลมัตรเครดิตไว้บนเว็มไซต์เพราะมีความเสี่ยงในการถูกขโมยจากแฮกเกอร์
8.ระมัดระวังในการใช้ Social Mediaตรวจสอมรายชื่อเพื่อน หรือบุคคลอื่นที่อยู่ในรายชื่อ เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดี
9.ล็อคหน้าจอคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนอยู่เสมอ ควรตั้งค่าล็อคหน้าจอและสร้างรหัสผ่านเพื่อรักษา ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ของคุณ
10.ตรวจสอบการ แชร์โลเคชัน ควรปิดการแซร์โลเคชัน เมื่อไม่ได้ใช้งานและระมัดระวังการแซร์โลเคชัน
11.ปิดการเชื่อมต่ออัตโนมัติ ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth อัตโนมัติ เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
12.หมั่นอัปเดต Software อยู่เสมอ ควรอัปเดต software ใหม่ๆ เพื่ออุดช่องโหว่
13.กำหนดสิทธิ การเข้าถึงข้อมูลจำกัดสิทธิ์ของการเข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชันเพื่อความปลอดภัย
14.หมั่นสำรองข้อมูลอยู่เสมอ ช่วยป้องกันข้อมูลและลดความเสียหายจากการถูกแฮกเกอร์ ขโมยและเรียกค่าไถ่ข้อมูล
15.จัดทำแผนสำรอง เมื่อถูกขโมยข้อมูลจัดทำแผนกู้คืนข้อมูลและวิธีจัดการเมื่อถูกขโมยข้อมูล
ทั้งนี้หากพบเบาะแสการกระทำผิด สามารถติดต่อไปยังสายด่วนตำรวจไซเบอร์ หมายเลข 1441 หรือ 081-866-3000 ตลอด 24 ชม. และแจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ Thaipoliceonline.com หรือเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุโดยตรง พนักงานสอบสวนจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปยังธนาคาร เพื่อทำการยับยั้งการธุรกรรมชั่วคราวของบัญชีคนร้ายโดยเร็ว