Tuesday, December 24, 2024
More
    Homeข่าวทั่วไปมรภ.นครราชสีมาเสวนาการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคดิจิตอล

    มรภ.นครราชสีมาเสวนาการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคดิจิตอล

    เวลา09.30น.วันที่ 23 ธันวาคม 67 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

    รศ.ดร.ศิริวดี วิวิธคุณากร คนบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มรภ.นส.ได้เปิดการเสวนาเรื่องการพัฒนานวัตกรรม การเรียนการสอนในยุคดิจิตอล

    มี นายเชษฐ์ สุขสมเกษม อนุกรรมการบริหารสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ทนายความประจำ สำนักงานกฎหมายมหาศาล และเป็นผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิทยากร มี ผศ.ดร.สายสุนีย์ จับโจร ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ และวิทยากรอีกหลายท่านเข้าร่วมเสวนา

    นายเชษฐ์กล่าวว่า ปัจจุบัน เข้าสู่ยุคดิจิตอล มีการนำสื่อโซเชียลและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนและการสอนมากยิ่งขึ้นจนไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ นักศึกษา มีพัฒนาการเรียนรู้ในการใช้อุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว คณาจารย์อาจต้องปรับตัวมากกว่าเดิมและ รู้เท่าทันกับนวัตกรรมหรือเหนือกว่า ยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ AI

    ต้องยึดมั่นในหลักวิชาการที่คลาสสิคประกอบกับ มีทฤษฎี ที่มั่นคงแม่นยำ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดของทฤษฎี วิชาการจากต่างประเทศได้ จากนั้นต้องฝึกนักศึกษาในการคิดวิเคราะห์ตกลงทำตามที่ตนคิด แล้วลงมือทำทันที

    จากนั้นต้องประเมินผล เราไม่อาจหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ได้ แต่ต้องเอามาใช้ให้เหมาะสมไม่ควรเอา AI มาเป็นเครื่องชี้นำในการทำงาน เพราะจะก่อให้เกิดอันตราย

    อาจารย์บางท่านหากใช้ สื่อโซเชียลในการบรรยายไม่ว่าทาง Facebook หรือออนไลน์ต่างๆก็ต้องมีความละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะเผยแพร่ออกไป ส่วนนักศึกษาผู้ฟังผู้ชมที่รับข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ นอกจากอาจารย์ที่บรรยาย ก็ต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนที่จะแชร์ออกไปเช่นกัน

    นอกจากนี้ นายเชษฐให้ข้อแนะนำว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ควรปรับปรุง ระบบการเรียนการสอนโดยไม่ยึดติดกับการเรียนในห้องเรียน ควรเน้นการสื่อสารแบบออนไลน์แต่ให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบแสดงความคิดเห็น ราวกับเรียนออนไลน์

    นอกจากนี้ ไม่ควรยึดติดกับหลักสูตรที่เน้นระยะเวลาศึกษานานถึง 4 ปี เพราะในปัจจุบันนักศึกษามีปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆค่ายานพาหนะค่าอาหารค่าหอพัก การเรียนอาจจะลดลงเหลือ 2 ปีครึ่ง และ มหาวิทยาลัยควรเป็นศูนย์กลาง ในการ จัดอบรม ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิชาการด้านสันทนาการศิลปะวัฒนธรรม โดยอาจจะต้องสร้าง App ของตนเอง

    ยกตัวอย่าง สมมุติว่าเป็น Application หลานย่า โดยให้ ผู้ใช้โดยเฉพาะส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นมีความหลากหลายมีทางเลือกในการใช้บริการค้นคว้าหาความรู้สามารถ ใช้บริการ ด้านอื่นๆได้ด้วยเกิดความสะดวกประหยัดเรียบง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา เกิดรายได้เกิดการสร้างงาน

    นอกจากนี้  ได้เสนอว่า ควรจะมีการเชิญอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด ที่สามารถใช้สื่อโซเชียลในการโน้มน้าวความคิด หรือเป็นผู้นำทางความคิด ทางสื่อโซเชียลต่างๆไม่ว่าจะเป็นดารานักแสดง พระหรือวัยรุ่นซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นในเนื้อหาหรือ Content ที่หลากหลาย ประชาชนให้ความสนใจ มียอดวิวตั้งแต่ 100,000 ถึง 1 ล้านวิว มาเข้ารับการอบรมจากสถาบันราชภัฏแห่งนี้

    เพื่อการปรับปรุง Content ให้มีประสิทธิภาพมีหลักวิชาการโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในทางละเมิดแก่บุคคลอื่น หรือเป็นการหมิ่นประมาท หรือมีความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ โดย สามารถ เชิญอินฟลูฯเมาอบรมให้จบภายใน 1 วันหรือ 2 วันแล้วรับประกาศนียบัตร ซึ่งสามารถจะสร้างมาตรฐานให้กับเหล่า อินฟลูฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน หรืออาจจะจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล “อินฟูลเอนเซอร์อีสานอวอร์ด”เพื่อ คัดเลือกบุคคลทีเป็นอนฟูลเอนเซอร์ ที่มีคุณภาพ การแข่งขันให้เกิดมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐาน 

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments