Friday, May 23, 2025
More
    Homeข่าวเด่นรอบวันตำรวจผนึกกำลังแถลง4ประเด็นคัดค้านร่างพรบ.แก้ไขป.วิอาญาที่เสนอโดย ปชน.

    ตำรวจผนึกกำลังแถลง4ประเด็นคัดค้านร่างพรบ.แก้ไขป.วิอาญาที่เสนอโดย ปชน.

    แถลงการณ์ร่วมสมาคมตำรวจ สมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และชมรมพนักงานสอบสวนตำรวจ

    เรื่อง ขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาชน

    ตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาชน ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …

    มีสาระสำคัญคือการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอบสวน และให้อำนาจพนักงานอัยการในการกำกับ ควบคุม และมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการมีอำนาจให้ความเห็นชอบก่อนออกหมายเรียกหรือก่อนการขอหมายจับ ขัง ค้น และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ทำความเห็นแย้งแทนตำรวจนั้น

    สมาคมตำรวจ สมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และชมรมพนักงานสอบสวนตำรวจ ได้ร่วมกันพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างรอบคอบแล้ว เห็นว่า ไม่สมควรให้ผ่านความเห็นชอบด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้

    1. ประเด็น การแจ้งเหตุต่อฝ่ายปกครองและอัยการเมื่อพบการกระทำผิด มีความเสี่ยงที่จะทำให้ข้อมูลในคดีสำคัญรั่วไหลได้ตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 (ใหม่) กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งเหตุต่อฝ่ายปกครองและอัยการทันทีเมื่อพบการกระทำผิด

    มีความเสี่ยงที่จะทำให้ข้อมูลในคดีสำคัญรั่วไหลได้ ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของพยาน ผู้เสียหาย หรือแม้แต่ชื่อเสียงของผู้ต้องหาที่อาจยังไม่มีการจับกุมหรือพิสูจน์ความผิดในชั้นศาล

    การสืบสวน มิใช่การ “สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน” แต่การสืบสวนเป็นขั้นตอนการแสวงหาข้อเท็จจริง “เพื่อป้องกันเหตุ” หรือ “เพื่อพิสูจน์ทราบเหตุ” หรือ “เพื่อเป็นข้อมูลอาชญากรรมเชิงลึก”

    ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และการติดตามจับกุมผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ โดย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของผู้สืบสวนไว้โดยตรง ดังนี้การสืบสวนจึงเป็นเรื่องของการออกแสวงหาข้อเท็จจริงตามเทคนิคการสืบสวน ที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลหรือประชาชนในเรื่องที่ทำการสืบสวน

    การสืบสวนที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องกระทำอย่างสงบ เพื่อสยบความเคลื่อนไหวของอาชญากร ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็แยกอำนาจสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าพนักงานอื่น เป็นอิสระแยกออกจากกันเพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้แก่ผู้มีอรรถคดีและเพื่อให้อรรถคดีดำเนินไปด้วยความต่อเนื่องและคลี่คลายด้วยความรวดเร็ว

    การที่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้ พนักงานสอบสวนต้องรายงานการสืบสวนต่อพนักงานอัยการก่อนที่จะทำการสืบสวนในลักษณะ “ขออนุญาต” หรือ “ขออนุมัติ” ต่อพนักงานอัยการหรือฝ่ายปกครองก่อนที่เจ้าพนักงานจะสืบสวนคลี่คลายคดี มีผล

    เป็นการสกัดกั้นการแสวงหาข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายสืบสวนก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ทำหน้าที่สืบสวน ประชาชนหรือผู้มีอรรถคดีไม่ได้ประโยชน์แต่ผลประโยชน์มีแนวโน้มตกแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่า สาธารณชนทั่วไปไม่ได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ …) พ.ศ. … ประเด็นนี้

    2. ประเด็น การออกหมายเรียก หมายจับ หมายขัง หมายค้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการก่อน เป็นการซ้ำซ้อนในกระบวนการยุติธรรมทำให้ล่าช้าเกินสมควร การให้อำนาจอัยการเห็นชอบ ก่อนการออกหมายเรียก ตาม มาตรา 53/1 ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม และการให้อำนาจอัยการเห็นชอบ ก่อนการขอหมายจับ ขัง ค้น มาตรา 57 (ใหม่) ตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … จะทำให้กระบวนการสอบสวนซ้ำซ้อน และล่าช้าเกินความจำเป็น ทั้งที่ปัจจุบันมีการกลั่นกรองจากศาลอยู่แล้ว

    โดยเฉพาะในยุคที่เน้นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ คดีจำนวนมากเป็นคดีเล็กน้อยที่ควรเร่งดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว การออกหมายอาญา (หมายจับ หมายค้น หมายขัง หมายจำคุก) กฎหมายให้อำนาจ พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง เป็นผู้ที่มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นอิสระแยกต่างจากจากกัน โดยศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจออกคำสั่งอนุมัติหมายอาญา

    ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากศาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ และให้กระบวนการสืบสวนสอบสวนในชั้น “ก่อนฟ้อง” เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี การที่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องขอคำรับรองจากพนักงานอัยการก่อนที่จะไปยื่นคำร้องขอหมายอาญาต่อศาล

    มีผลเป็นการเพิ่มขั้นตอนในกระบวนการสอบสวนให้มากขึ้นโดยใช่เหตุ ทั้งการรับรองคำร้องของพนักงานอัยการไม่มีผลต่อดุลพินิจในการออกหมายอาญาของศาล การแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประเด็นนี้ ก่อให้เกิดภาระแก่พนักงานสอบสวนผู้ปฏิบัติมากขึ้น และทำให้เกิดความล่าช้าแก่อรรถคดีของประชาชน

    การออกหมายเรียกผู้ต้องหา เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสรับทราบข้อกล่าวหาและเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนเท่านั้น มิใช่การตัดสินว่าผู้ใดผิด การกำหนดให้ต้องมีความเห็นชอบจากอัยการก่อน จึงไม่จำเป็น และเป็นการถ่วงเวลาให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

    การออกหมายเรียกบุคคลให้มาพบพนักงานสอบสวนทั้งในฐานะพยานหรือในฐานะผู้ต้องหาเป็นไปตามหลักการฟังความทุกฝ่ายที่ “เปิดโอกาส” ให้ผู้ต้องหามาพบและชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องที่ถูกกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวน และเพื่อให้ “พยาน” ได้เข้าให้ข้อเท็จจริงแก่พนักงานสอบสวนเพื่อให้คดีแจ่มกระจ่างว่าผู้ต้องหามีผิดหรือบริสุทธิ์

    การออกหมายเรียกจึงไม่มีผลเป็นการ “รอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน” แต่เป็นขั้นตอนการพิสูจน์ทราบข้อความจริงตามที่ถูกกล่าวหาโดยพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป การที่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ …) พ.ศ. … กำหนดให้ พนักงานสอบสวนต้องขอคำรับรองจากพนักงานอัยการก่อนที่จะออกหมายเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำเพื่อทำให้คดีแจ่มกระจ่าง มีผลเป็นการเพิ่มขั้นตอนในกระบวนการสอบสวนให้มากขึ้นโดยไม่จำเป็น

    เป็นภาระแก่พนักงานสอบสวนผู้ปฏิบัติหน้าที่ และก่อให้เกิดความล่าช้าเสียหายแก่อรรถคดีของประชาชน ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ …) พ.ศ. … ประเด็นนี้ไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ

    3. ประเด็น ในคดีฆ่า คดีสำคัญ หรือกรณีมีคำร้องขอความเป็นธรรม ให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบและกำกับการสืบสวนสอบสวน และพยานหลักฐานได้ทันที โดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งปวงชาวไทยเป็นผู้อนุมัติให้บังคับใช้ผ่านการลงคะแนนเสียงประชามติ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (2) บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า

    “ให้ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม…” ซึ่งเป็นการยืนยันว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาชั้นก่อนฟ้องของประเทศไทยให้ยึดและใช้หลักแนวคิด “การแยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องร้อง”เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล และคานอำนาจกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้ประโยชน์ตกแก่ผู้มีอรรถคดีอันเป็นผลให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในสังคมแก่ประชาชน

    การที่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ …) พ.ศ. … กำหนดให้ พนักงานอัยการ และฝ่ายปกครอง เข้ามามีบทความลักษณะ “ควบคุม” “สั่งการ” ผ่านกระบวนการรายงานและขออนุญาตสืบสวนสอบสวนจากพนักงานอัยการและหรือฝ่ายปกครองนั้นขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งมาจากปวงชาวไทย

    เป็นการทำลายหลักแนวคิด “การแยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องร้อง” เป็นผลให้การตรวจสอบ การถ่วงดุล และการคานอำนาจกันและกันด้อยประสิทธิภาพ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้มีอรรถคดี เป็นผลให้การดำเนินคดีอาญาขาดประสิทธิภาพนำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแก่ ซึ่งไม่อาจเห็นพ้องด้วยกับ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ได้

    4. ประเด็นการให้เปิดเผยพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนระหว่างสืบสวนสอบสวน ผ่านกระบวนการให้เปิดเผยและหรือแจ้งพยานหลักฐานที่มีแก่ผู้ต้องหาทราบ เห็นว่าการค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ประเด็นแห่งคดีหรือพิสูจน์ข้อความจริงในชั้นพิจารณาของศาลใช้หลักการพยาน

    คนที่จะเบิกความภายหลังไม่ควร “รับรู้หรือรับทราบข้อเท็จจริง” จากพยานคนที่จะเบิกความก่อนดัง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า

    “ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะเบิกความภายหลังและศาลมีอำนาจที่จะสั่งพยานอื่นที่อยู่ในห้องพิจารณาให้ออกไปเสียได้…”

    บทกฎหมายดังกล่าวนำมาใช้กับการค้นหาความจริงในคดีอาญาชั้นพิจารณาของศาลด้วยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การสืบสวนสอบสวนที่กระทำเป็นการลับย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการสืบสวนสอบสวนที่กระทำโดยเปิดเผย

    การที่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … กำหนดให้ เจ้าพนักงานตำรวจ และหรือ พนักงานสอบสวน ต้อง “เปิดเผย” พยานหลักฐาน และหรือผลการสืบสวนสอบสวนให้ผู้ต้องหาทราบ

    ย่อมทำให้ผู้ต้องหา “รู้” ช่องทางในการยุ่งเหยิงและหรือทำลายพยานหลักฐานโดยเพียงแค่ยุ่งเหยิงและหรือทำลายข่มขู่ทำให้เกิดข้อ “สงสัยในพยานหลักฐาน” ผู้ต้องหาก็ “อาจ” พ้นผิดได้แล้ว โดยไม่จำต้องถึงขนาดทำลายพยานหลักฐานนั้น อันทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมอาชญากรรมและหรือนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษลดลง

    นอกจากนี้ในการเปิดเผยและหรือตรวจสอบพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนและหรือพนักงานอัยการนั้น ยังมีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 (4) (5) (6) ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะ “ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ” “มีสิทธิตรวจดูสำนวนการพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง” และ “มีสิทธิตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน”

    เป็นหลักคุ้มครองสิทธิของจำเลยโดยไม่กระทบต่อสิทธิของผู้เสียหายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนฟ้องร้องคดีอยู่แล้ว นอกจากนั้นการที่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … กำหนดให้ เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนต้อง “เปิดเผย” พยานหลักฐานที่สืบสวนสอบสวนรวบรวมมาได้แก่ผู้ต้องหา ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องสงสัย หรือบุคคลอื่นใดที่เป็น

    ปรปักษ์และมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องยังหมิ่นเหม่ละเมิดต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหาย และหรือพยาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่ พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ และยิ่งไปกว่านี้ในเรื่องทำนองเดียวกันยังได้มี พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของทางราชการของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในสำนวนการสืบสวนสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะผ่านกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลของ “คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ” แล้วว่า เอกสารชิ้นใด ฉบับใด พยานหลักฐานชิ้นใด ฉบับใด เปิดเผยได้หรือไม่ เพียงใด และการเปิดเผยจะเปิดเผยได้เมื่อใด การเปิดเผยลักษณะใดไม่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลและการดำเนินคดี การเปิดเผยลักษณะใดที่มีลักษณะกระทบและละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและกระทบต่อการดำเนินคดีเป็น กลไกเครื่องมือ ที่รองรับสิทธิการรับทราบรับรู้ข้อมูลของผู้ต้องหาที่ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้เสียหาย พยาน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินคดีอาญาของรัฐ อยู่แล้ว ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments