วันที่ 15 มี.ค. ที่ อาคารประชุมสัมนาและฝึกอบรม บช.ก. เมืองทองธานี
พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. เป็นประธานเปิด โครงการสัมมนาการสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเบื้องต้น
ให้แก่ข้าราชการตำรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งใหม่ ในระดับ รอง สว. – ผบ.หมู่ 347 นาย ตั้งแต่วันที่ 15 – 16 มี.ค. 2564
โดยมี พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผบก.ตอท. พร้อมคณะ เป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ บรรยายการสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
พล.ต.ท.กรไชยฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว ดำเนินการตามนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.
จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ความเข้าใจ ในพื้นฐานอาชญากรรมทางเทคโนโลยี, แนวทางการทำงานของ บช.สอท., ความตระหนัก เรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์,
มาตรการป้องกันและแก้ไขการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตลอดจน การยกระดับขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจ
อาทิ แนวทางการสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการเก็บและรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล
สำหรับนโยบายการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 ประภทการหลอกลวงออนไลน์ทางด้านการเงิน (Scam หรือCallCenter),
ด้านที่ 2 ประเภทการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการซื้อขายสินค้า และสิ่งผิดกฎหมาย,
ด้านที่ 3 ประเภทการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไชเบอร์
ด้านที่ 4 ประเภทการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก หรือสตรีทางอินเตอร์เน็ต การใช้อินตอร์เน็ตในการซื้อขายทางลามก อนจารเด็ก บริการทางเพศ และการค้ามนุษย์
ด้านที่ 5 ประเภทการพนันทางออนไลน์อาชญากรรมข้ามชาติ และงานอื่นๆ
โดยมีความมุ่งหมาย ในการพัฒนาบุคคลากร ให้มีความสามารถ ในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ
จนสามารถสืบสวนสอบสวน ติดตามจับกุม ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว
ตลอดจน สามารถปกป้อง ประชาชน เยาวชน สังคม และประเทศชาติ ให้มีความปลอดภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์
ถือเป็นการขับเคลื่อนทิศทางการทำงานของ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ไม่ว่าจะเป็น อาชญากรรมทางเทคโนโลยี อาชญากรรมพิเศษระหว่างประเทศ
การก่อการร้ายทางไซเบอร์ การเงินดิจิทัล เว็บไซด์ใต้ดิน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดต่าง ๆ ทางเทคโนโลยี
ทั้งนี้ อาชญากรรมทางไซเบอร์
ถือเป็นความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายและการรับมือป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ โดยต้องอาศัยทักษะความรู้ ในการป้องอาชญากรรมทางไซเบอร์, กระบวนการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการรวบรวมพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ทางดิจิทัล
เพื่อสามารถยืนยันการกระทำความผิดของอาชญากรทางไซเบอร์ ได้อย่างแน่ชัด ในขั้นตอนของการอำนวยยุติธรรมทางอาญาและลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมให้แก่ประชาชน
สมดั่งวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า “เป็นองค์กรสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมไซเบอร์อย่างมืออาชีพที่ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา”