จากเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช เมื่อปี63มีผู้เสียชีวิต30คนยังเป็นโจทย์ใหญ่ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องหายุทธวิธีเบื้องต้นในการเผชิญเหตุ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่
ทันทีที่ได้รับตำแหน่งผู้นำสีกากีพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.มอบหมายให้พล.ต.ท.รอย อิงคไพโรจน์ ผู้ช่วยผบ.ตร. ในฐานะประธานกรรมการบริหารการกีฬาตำรวจประเภทยิงปืน (ก.ก.ป.ยิงปืน) เป็นผู้รับผิดชอบ
เรียกหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4 หน่วยงาน
กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ. บช.น.(อรินทราช 26), กก.3 บก.สอ.บช.ตชด.(นเรศวร 261),กก.สนับสนุน บก. ป. บช.ก.(หนุมาน) และ กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.ปพ. บช.ก.(คอมมานโด)
มานั่งประชุมหารือในการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรการใช้อาวุธปืนทั้งปืนสั้นปืนยาวให้สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบัน
กระทั่งตกผลึกความคิดเป็นรูปแบบการฝึกเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปฝึกได้ผลดี และนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้จริง
ภายใต้ชื่อ“โครงการฝึกยิงปืนทางยุทธวิธีในรูปแบบคอมแบทแฮนด์กันส์ (Combat Handguns) และคอมแบทคาร์ใบน์(Combat Carbine)” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
โครงการฝึกยิงปืนทางยุทธวิธีทั้ง2รูปแบบ มีหลักการและวัตถุประสงค์คือ
เดิมทีการยิงปืนในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรูปแบบการยิงปืนหลากหลายรูปแบบ เพื่อพัฒนาทักษะการยิงปืน
หากแต่ว่าการฝึกทักษะการยิงปืนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังมีทักษะที่สำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จริงอีก
จึงได้มีการระดมความคิดของหน่วยงานที่มีความชำนาญในการใช้อาวุธปืนและยุทธวิธี เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกยิงปืนตามนโยบาย
ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพบเจอในขณะปฏิบัติหน้าที่จริง และสามารถนำมาวัดผลและพัฒนาการฝึกได้
ดังนั้นให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 4หน่วยงาน ทำหน้าที่เป็นวิทยากรครูฝึกต้นแบบฝึกอบรมตำรวจ(ครูแม่ไก่)จากกองบัญชาการต่างๆทั่วประเทศ120นาย
เพื่อให้ข้าราชการตำรวจที่เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการนี้( ครูแม่ไก่)
นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดของตน เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้อาวุธปืนในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามแผนการฝึกอบรมทั้ง2โครงการ ใช้เวลา 6 วัน จะมีการทดสอบการปฏิบัติและการใช้กระสุนจริง
แบ่งเป็น ปีนพกกึ่งอัตโนมัติ กระสุนขนาด 9 มม. จำนวน 300 นัด และปืนยาว กระสุนขนาด 5.56 มม. จำนวน 300 นัด
ระยะเวลาฝึกอบรม กำหนดขึ้นในห้วงเดือน ส.ค. – ก.ย.64 ที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจกลาง (หนองสาหร่าย)อ.ปากช่องจ.นครราชสีมา
โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกครั้งนี้ จะสามารถสร้างครูฝึกที่จะขยายผลได้ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกกระจายสู่ทุกส่วนปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Train The Trainer)
ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดและหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการปฏิบัติการทางยุทธวิธีและการใช้อาวุธปืน
ฝึกฝนตนเองให้ให้มีความชำนาญและมีทักษะการใช้อาวุธปืนที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ ที่ต้องเจอในการปฏิบัติหน้าที่จริง
สำหรับหัวข้อการใช้อาวุธที่อยู่ในรายการฝึกทั้งปืนสั้นและปืนยาวครั้งนี้ ประกอบไปด้วย
ยิงช้า ยิงจากกึ่งบรรจุ (ปืนจากซอง) ยิงแบบต่อเนื่อง การเปลี่ยนซองกระสุน แก้ไขเหตุติดขัดขณะทำการยิง สลับมือ และทำการยิง
ส่วนหัวข้อท่าทางการยิง อาทิ
นอนยิง นั่งคุกเข่าสูงยิงยืนยิงหลังที่กำบัง ด้วยมือถนัดและมือไม่ถนัด ยิงขณะเคลื่อนที่ ยิงระยะใกล้ เป้าหมายส่วนหัว
ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของการฝึกยิงปืนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หากเกิดเหตุยิงดะแบบจ่าคลั่งที่โคราช เชื่อว่าเหตุการณ์จะไม่ยืดเยื้อ และยุติได้โดยเร็ว โดยไม่ต้องรอหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมาจุดปะทะ
เพราะผลจากการฝึกครั้งนี้ จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่มีทักษะการยิงน้องๆหน่วยปฏิบัติการพิเศษเลยทีเดียว
กากีกลาย17/7/64
คลิปสาธิตการยิงปืนพกสั้นและปืนยาว(คอมมานโดปฏิบัติการพิเศษ)
https://drive.google.com/file/d/1e9I-iIbgUAK2g55CvxGZRf4mnxWewFqf/view?usp=sharing