Friday, November 22, 2024
More
    Homeย่อโลกลูกหนังกับจู้กหู้กกู้เมย์-รัชนก เธอ คือ ความหวัง

    เมย์-รัชนก เธอ คือ ความหวัง

     

    กราบทุกคน จู้กหู้กกู้ปรับอารมณ์ตัวเองไม่ทันจริง จากดีใจไม่ถึงอาทิตย์ก็มาเสียใจ แต่ก็นะ..

    ชีวิตมีเพียงครั้งเดียว ทำมันให้ดีที่สุด ล้มได้ ก็ลุกได้ ชีวิตต้องก้าวไปข้างหน้า

    บทตวามนี้ขออนุญาตเขียนหลังจากผ่านมานานพอสมควร ยอมรับไม่ค่อยรู้เรี่องกีฬาแบดมินตันซักเท่าได  ไปไล่อ่านตามข่าวและบทความจากกูรูสายนี้  ขอนำมาย่อให้กระชับตามสไตล์จู้กหู้กกู้ อิอิ

    ย้อนหลังกลับไปในปี 1990 หรือเมื่อ 31 ปี ที่แล้ว นางกมลา ทองกร หรือ “แม่ปุก” ได้ก่อร่างสร้างธุรกิจโรงงานขนมไทยบ้านทองหยอด ขึ้นมาในกรุงเทพมหานคร เพื่อขายขนมไทยสูตรของคุณแม่เธอ

    เริ่มต้นขายในพื้นที่ใกล้เคียง ก่อนขยับขยายขายมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความนิยม จนเริ่มมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อเพื่อนำไปขายปลีกต่อในร้านรวงต่างๆ

    “บ้านทองหยอด” คือ แบรนด์ขนมไทย ที่ดังไปไกลทั่วกรุงเทพฯ

    แต่ตอนนั้น ใครเล่าจะรู้ว่า วันหนึ่ง “บ้านทองหยอด” จะดังไปทั่วโลก เพราะกีฬาแบดมินตัน

    คุณแม่ปุก ชื่นชอบกีฬาแบดมินตัน เธอตัดสินใจสร้างสนามแบดมินตันไว้ในโรงงานให้ลูกๆ ทั้งสามของเธอได้เล่น รวมถึงให้พนักงานในโรงงานได้ออกกำลังกายในช่วงเวลาว่าง

    ปี ค.ศ.1995 สาวน้อยคนหนึ่งได้ถือกำเนิดมาบนโลก ที่จังหวัดยโสธร

    เธอชื่อว่า “เมย์” รัชนก อินทนนท์

    ในวัย 3 เดือน คุณพ่อ และคุณแม่ของรัชนก เดินทางมาหางานทำที่กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าแดนศิวิไลซ์ที่ใครก็อยากเข้ามา

    ปลายทางการทำงานเพื่อความหวังในการส่งลูกสาวให้ร่ำเรียนสูงๆ คือ “โรงงานบ้านทองหยอด”

    จากยโสธร สู่ กรุงเทพมหานคร ชีวิตของรัชนก เรียบง่าย เหมือนลูกสาวพนักงานโรงงานทั่วไปที่เดินทางมาทำงานในเมืองหลวงใช้ชีวิตในโรงงานมาเรื่อยๆ

    ก่อนที่วันหนึ่ง “คุณแม่ปุก” เกรงว่า “น้องเมย์” จะเล่นซนในโรงงานจนเกิดอันตราย

    ชวนให้สาวน้อยคนนี้ เข้ามาเล่นในสนามแบดมินตันที่เธอสร้างไว้ ก่อนจะยื่นไม้แบดมินตัน ให้รัชนกลองเล่น โดยไม่หวังผลตอบแทน

    นั่น คือ วินาทีที่คุณแม่ปุกยื่นไม้แบดมินตันให้กับ “สาวน้อยมหัศจรรย์” ที่ชื่อว่า รัชนก อินทนนท์

    รัชนก เริ่มต้นเล่นแบดมินตัน ด้วยความไม่คิดอะไร ก่อนจะหลงรักกีฬาชนิดนี้ และฝึกฝนอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

    เวลาผ่านไป ในวัย 12 ปี เธอลงสนามแข่งขันในรายการชิงแชมป์ประเทศไทย ท่ามกลางนักกีฬาระดับประเทศในขณะนั้น

    ปี 2008 ในวัย 13 ปี เธอคว้ารองแชมป์ประเทศไทย

    ปี 2009 ในวัย 14 ปี เธอคว้าแชมป์ประเทศไทยเอาชนะ สลักจิต พลสนะ อดีตมือหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเพิ่งผ่านการลงสนามในศึกโอลิมปิก เกมส์ 2008 ที่ประเทศจีน มาแบบสดๆ ร้อนๆ

    ไม่เพียงแค่นั้น ในวัย 14 ปี เธอยังคว้าแชมป์แบดมินตันเยาวชนหญิง ชิงแชมป์โลก มาครองได้

    เป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่ทำได้ และเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์รายการนี้ได้

    หลังจากนั้น เธอคว้าแชมป์เยาวชนโลกได้อีกสองสมัยติดต่อกัน ในปี 2010 และ 2011

    กลายเป็นนักกีฬาแบดมินตันคนแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์โลกเยาวชนได้ 3 สมัยติดต่อกัน และเริ่มคว้าแชมป์ในรายการสะสมคะแนนโลกตั้งแต่อายุเพียง 15 ปี

    ปี 2012 ในวัย 17 ปี รัชนก ได้ลงสนามในศึกโอลิมปิก เกมส์ เป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ประเทศอังกฤษ

    ครั้งนั้น เธอไปเพื่อเรียนรู้ ในฐานะดาวรุ่ง โดยไม่ได้คาดหวังอะไรนอกจาก “ประสบการณ์” ก่อนจะตกรอบ 8 คนสุดท้าย โดยแพ้ หวัง ซิน จากประเทศจีน

    ถัดมาอีก1 ปีในวัยเพียง 18 ปี รัชนก อินทนนท์ สร้างตำนาน “สาวน้อยมหัศจรรย์แห่งวงการแบดมินตันโลก” ที่ไม่รู้ว่าจะมีใครทำลายสถิติของเธอได้ไหม

    ด้วยการก้าวขึ้นไปเป็นแชมป์โลกแบดมินตันหญิง คนแรกของประเทศไทย และเป็นแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์วงการลูกขนไก่ของโลกใบนี้

    รอบชิงชนะเลิศ “น้องเมย์” เอาชนะ หลี เสี่ยว เร่ย ยอดนักแบดมินตันสาวชาวจีน ที่เพิ่งคว้าเหรียญทอง โอลิมปิก เกมส์ 2012 มาหมาดๆ

    ก่อนที่เธอจะก้าวขึ้นไปเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่สามารถติดทรีของโลกได้ในปีเดียวกัน

    เธอ คือ สาวน้อยมหัศจรรย์จากบ้านทองหยอด

    แฟนแบดมินตันทั่วโลกต่างจับจ้องเธอ สื่อมวลชนทุกแขนงในประเทศไทยต่างพูดถึงเธอ

    ความสำเร็จของเธอเกิดจากโอกาสที่หยิบยื่นให้ของ “แม่ปุก” และเธอก็ตอบแทนมารดาบุญธรรมในเวลาต่อมาท่านนี้ ด้วยความสำเร็จ และความตั้งใจ

    จนทำให้ “บ้านทองหยอด” เป็นที่รู้จัก และมีผู้สนับสนุนโรงงานแห่งนี้ทั้งด้านขนมไทย และด้านแบดมินตันอย่างไม่ขาดสาย

    จากนั้น รัชนก อินทนนท์ ก็กลายเป็นความหวังแห่งวงการแบดมินตันไทย ในการลุ้นคว้าเหรียญทอง การแข่งขันแบดมินตัน ประเภทหญิงเดี่ยว ให้กับทัพนักกีฬาไทย

    ในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับทวีปอย่าง เอเชียนเกมส์ และระดับโลก อย่าง โอลิมปิก เกมส์ ซึ่งในประวัติศาสตร์ ทีมชาติไทย ไม่เคยได้เหรียญทองจากรายการนี้เลยแม้แต่เหรียญเดียว

    ในสองรายการดังกล่าว โดยเฉพาะ แบดมินตัน หญิงเดี่ยว โอลิมปิก เกมส์ แม้แต่การเข้ารอบรองชนะเลิศ ในประเภทหญิงเดี่ยว ยังไม่เคยปรากฎให้เห็นเลยสักครั้ง

    แต่ค่าตอบแทนของความหวัง ไม่ใช่ความสมหวังเสมอไป

    แม้เธอจะตั้งใจแค่ไหน
    แม้เธอจะฝึกฝนหนักเพียงใด
    แต่เธอก็ทำได้แค่เกือบ ก่อนจะร้องไห้อย่างที่เราเห็น

    เธอ คือ ความหวังของพวกเรา
    และเธอเองก็หวังเอาไว้มากเช่นกันว่า เธอจะทำได้

    จู้กหู้กกู้เชื่ออย่างนั้น

    ขอขอบคุณ รัชนก อินทนนท์

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments