วันที่28ก.ย.66พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.อิทธิพร โพธิ์ทอง รองผบช.ภ.2 พล.ต.ต.ธีระชัย ชำนาญหมอ ผบก.สส.ภ.2สั่งการให้ ตำรวจ สืบภาค 2 และชุดปราบปรามคนร้ายข้ามชาติ ภ.จว.ชลบุรี
สนธิกำลังกันจับกุมนาย zhang qiyu ชาว จีน และนาย chiu yung-sheng ชาวไต้หวันได้ที่ โรงแรม ไมลีน ฮอลิเดย์ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พร้อมของกลางอุปกรณ์อิเลคทรอนิก(สกิมเมอร์)สำหรับติดที่ตู้ atm เพื่อดูดข้อมูลบัตรของผู้เสียหาย 5 ชุดอุปกรณ์ บันทึกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกซ์ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องบัตรเครดิตปลอม 6 ใบ (ข้อมูลภายในไม่ตรงกับข้อมูลของบัตร)แผ่นจำลองหมายเลข atm 2 แผ่น
หลังสืบทราบว่า มีแก๊งชาวจีนหอบหิ้วเครื่อง สกิมเมอร์ (คัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกซ์)มาติดตั้งที่ตู้ atm เพื่อดูดข้อมูลของผู้เสียหายในพื้นที่พัทยา สร้างความเสียหายให้ระบบธนาคารและผู้เสียหาย จำนวนหลายล้านบาท
ประกอบก่อนก่อนหน้านี้ ธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งว่า มีความผิดปกติที่ตู้เอทีเอ็ม ที่ตั้งอยู่ปากซอยว้อคกิ้งสตรีท พัทยาใต้ชุดจับกุมได้ตรวจสอบกล้อง cctv พบว่า เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 01.00 น. คนร้ายนำอุปกรณ์เครื่องสกิมเมอร์ ไปติดไว้ที่ตู้ เอทีเอ็ม ธนาคารไทยพาณิชย์ ดังกล่าวจริง จึงแจ้งทางธนาคารทราบ และแจ้งปิดบริการที่ตู้เอทีเอ็มนั้น
จากการสืบสวน และติดตามตรวจสอบ จนพบว่า คนร้ายที่นำเครื่องสกิมเมอร์มาติดตั้งไว้นั้น คือ คนร้าย 2 รายดังกล่าวข้างต้น จึงได้วางแผนเข้าจับกุมนำตัวส่งสภ.บางละมุงดำเนินคดี
ข้อหา“ทำบัตรอิเล็กทรอนิกปลอม โดยเป็นการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ม.269/1 อัตราโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท ,ทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกซ์ ม.269/2 อัตราโทษจำคุก 1 ปี ถึง 5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท ,ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ม.269/4 อัตราโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 7 ปี ปรับ 20,000-140,000 บาท “
อย่างไรก็ตาม จากแผนประทุษกรรมการติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์เพื่อดูดข้อมูลบัตรอิเล๊กทรอนิกซ์ในประเทศไทยนั้น ทราบว่า ลักษณะการกระทำความผิดแบบนี้ ได้หายจากประเทศไทยไปเกือบ 10 ปีแล้ว การจับกุมครั้งนี้ จึงถือเป็นการจับกุมที่แสดงให้เห็นว่า การกระทำความผิดในลักษณะนี้ ยังไม่ได้หมดไป สามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบธนาคารและผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก
เพราะเมื่อคนร้ายได้ติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์และดูดข้อมูลได้แล้ว จะคัดลอกข้อมูลของผู้เสียหายลงใส่บัตรอิเล๊กทรอนิกซ์ที่มีแถบแม่เหล็กอยู่ด้านหลัง และ นำไปใช้รูดจ่ายค่าสินค้า กดเงินสด ได้ทันที
สืบสวนภาค 2 ขอประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระมัดระวังสังเกตุ ในการใช้บริการที่ตู้เอทีเอ็ม ถ้าพบลักษณะช่องเสียบบัตร ที่ผิดปกติ เช่น ไฟไม่ติดไม่กระพริบ ช่องฝืดเสียบบัตรยาก อาจมีความผิดปกติที่ตู้ดังกล่าว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที