บิ๊กต่อ-พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก.จัดได้ว่าเป็นนักอ่านตัวยงคนหนึ่ง
เห็นได้จากบทความดีๆที่เจ้าตัวไม่เก็บไว้คนเดียว เอามาลงในเฟสบุ๊ก กลุ่มไลน์สอนใจผู้ใต้บังคับบัญชาในสังกัดอยู่เรื่อยๆ
จนนำมาทำเป็นไดอารี่รวมเล่ม เมื่อวันเกิดพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ เมื่อต้นปี64
มาวันนี้เช่นกัน มีบทความดีๆที่บิ๊กต่อนำมาสอนใจ ในเรื่องของการอ่อนน้อมถ่อมตน
สูงได้แต่ต้องต่ำให้เป็น
ชนะได้และแพ้ให้เป็น
ถูกได้แต่ต้องคิดให้เป็น
แข็งได้ก็ต้องอ่อนให้เป็น
ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือคุณธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับผู้ที่จะเป็นใหญ่
เมื่อท่านก้าวสู่เป็นผู้นำระดับสูง ก็เจอปัญหาปริมาณที่มากมายที่มาปะทะทั้งจากงานและจากผู้คน จึงต้องมีความอดทนอย่างสูง มีจิตใจที่เข้มแข็ง
เหมือนต้นไม้ใหญ่ยิ่งสูงยิ่งเจอลมแรง หรือบางครั้งอาจเจอพายุ
หากลำต้นนั้น อาศัยความแข็งแรงเพียงอย่างเดียวไม่โอนอ่อนผ่อนตามกระแสลมพายุก็จะหักโค่นลงมาเสียหายและล้มได้
ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นผู้ที่มีสติปัญญาและมีดีในตัวอยู่มากจึงไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาอวดเบ่งกับใคร
หากมองเข้าไปในจิตใจของผู้อ่อนน้อมนั้นแล้ว แท้จริงเขาคือผู้มีความเข้มแข็งทางจิตใจอย่างยิ่ง
มีความอดทนอย่างสูง มีความเคารพนบนอบและความอ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในตน จึงทำให้เกิดอยู่ในตระกูลสูง
ดังตัวอย่างในสมัยสามก๊กคือเล่าปี่ ผู้พนมมือแด่ชนทุกชั้น
และในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกลวังชุก พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน
ทรงได้รับการยกย่องว่า มีพระจริยวัตรงดงามและที่รักยิ่งของประชาชนทั่วไป
อีกกรณีหนึ่งกับคนธรรมดา แต่พร้อมที่จะ นอบน้อม เพื่อให้ตนรอด และได้รับการอภัย
“อานุภาพของ สองมือไหว้”
ตามห้างสรรพสินค้าที่จอดรถมักหายาก ณ.ห้างแห่งหนึ่งชายคนหนึ่งขับรถไปซิ้อของวนหลายรอบพบที่จอดรถแล้ว เลยเดินหน้าเปิดไฟกระพริบกำลังจะเข้าถอยเข้า
ปรากฏว่ามีรถอีกคันข้างหลังเอาหัวพุ่งมาเสียบเข้าก่อน เป็นท่านจะทำยังไง ?
เขาโกรธมากเปิดประตูลงไป ตั้งใจโวยเอาเรื่องยังไงๆ ก็ไม่ยอมเด็ดขาด
เดินไปถึงรถเขา คนขับเปิดประตูรถออกมา ยกมือไหว้หน้าซีดมาก แล้วพูดว่า
พี่ผมปวดท้องมากผมขอโทษ ผมไม่ไหวแล้ว แล้วก็รีบวิ่งเข้าห้าง
แค่ยกมือไหว้ขอโทษ ใจที่โกรธเปลี่ยนเป็น “อภัย” ขึ้นมาทันที
บางท่านคงเคยพบเหตุการณ่แบบนี้เหมือนกันใช่หรือไม่ แตกต่างคนต่างไม่ยอมกัน เกิดการทะเลาะวิวาทถึงกับลงไม้ลงมือกันก็มี
การไหว้คนอื่นก่อน มันไม่ใช่การ“ลดตัวเอง” แต่มัน“สร้างค่าตัวเอง” ให้คนอื่นเคารพตัวเราเพิ่มขึ้น
การแสดงออกว่ายอมรับนับถือในบุคคลอื่น สิ่งที่เราจะได้รับก็เช่นเดียวกัน สันติสุขก็ตามมา
การให้อภัยจึงมาจากความอยากเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์
การให้อภัยนั้นไม่ได้เป็นการเยียวยาหัวใจของใครหากแต่มันปลดปล่อยตัวเราจากความโกรธในใจทั้งมวล
และทันทีที่เราให้อภัยความโกรธความแค้น ต่างๆในใจของเราก็สลายไป ใจก็เป็นสุข
รักเสมอ