เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 2 ก.พ.66 ที่กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ฐานะประธาน พร้อมด้วย รองผบช.น. ผบก.น. 1-9 ผบก.อก.บช.น. ผบก.สส.บช.น. ผบก.จร. ผบก.อคฝ. ผบก.ศฝร. มอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่และรายงานตัวระดับรองผบก.-ผกก. สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) 178 นาย โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง
พล.ต.ท.ธิติ เปิดเผยภายในที่ประชุมว่า
หลายคนเคยพบเจอเวลาเปลี่ยนไปเราทำหน้าที่กันใหม่ในบทบาทที่แตกต่างกันในตำแหน่งหน้าที่ที่ต่างไป สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอคือความรู้สึกผู้ใต้บังคับบัญชาระหว่างเพื่อน พี่กับน้อง
รู้จักกันด้วยงาน-จดจำสิ่งที่ร่วมสู้
ทุกครั้งเจอกันในวาระการพบกันอย่างเป็นทางการ ตนจะพูดเสมอว่าเราจะต้องรู้จักกันด้วยการทำงานไม่ใช่รู้จักกันด้วยการเอาสิ่งอะไรมาให้กัน เราจะจดจำในสิ่งที่เราทำอะไรด้วยกัน ร่วมต่อสู้มาด้วยกัน แก้ปัญหามาด้วยกันสำเร็จบ้าง
อยากให้ความทรงจำมีร่วมกันก่อนที่จะพ้นจากหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการแต่งตั้งโยกย้ายหรือการเกษียณอะไรก็แล้วแต่ วันนี้มาเจอกันขอให้จดจำเรื่องราวที่มาคุยกัน
แต่ถ้าเดินเข้ามาในบ้านหลังนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาลแล้ว เราจะมีความคิดไม่สอดคล้อง ไม่ทำความรู้จัก ไม่เรียนรู้กัน อยู่ที่ความเหินห่างหมางเมิน นำไปสู่ความแตกแยกไม่สามัคคี
องค์กรตำรวจเรา ความน่าจะล้มละลายมากกว่าสายการบินหนึ่งที่ใหญ่มากมาย ในสถานการณ์แย่ที่สุดถูกยึดทรัพย์สินต้องเอาคนออก มีหนี้แต่ก็พยายามหารายได้มาพยุงทำให้มีรายได้ทางบวกเข้ามาบ้าง
ไม่ได้ถูกสร้างเป็นมนุษย์พีอาร์
แต่ตำรวจเราไม่มี เพราะเวลาเราทำอะไรแล้วทำดีแค่เสมอตัว เหตุผลเนื่องจากเราไม่ได้ถูกสร้างมาเป็นมนุษย์ประชาชนสัมพันธ์ ทำงานเอาหน้าเอาตาหรือป่าวประกาศให้ใครทราบ อาจจะมีบุคคลบางพวกทำงานแบบนี้แต่ไม่ใช่ทุกคนในองค์กร
ปัญหาไม่ทันเกม-ข้อมูลช้า-รั่ว
ปัญหาเกิดขึ้นเพราะเราเดินทางสื่อสารระหว่างข้อมูลไม่ทัน เต็มไปด้วยความล่าช้า รับผิดช้า แก้ไขปัญหาช้า หรือไม่เคยได้รับแรงดันเลย ทำให้การเข้าไปถูกสอดส่อง มันไม่ทันเกมของคนอื่น รวมถึงมีรูรั่วในองค์กร ทำให้การทำงานต่างๆ ประสบปัญหา
ยกตัวอย่างเคสห้วยขวาง
“คนที่อยู่สถานการณ์ต่างๆ ยกตัวอย่างกรณีสน.ห้วยขวาง เหตุเกิดวันที่ 4 ต่อวันที่ 5 ม.ค.65 ที่ผ่านมาเป็นภาพข่าววันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา ตั้งคณะกรรมตรวจสอบวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา ดำเนินการถึง 29 ม.ค. ที่ผ่านมา ดำเนินคดี ในความผิดที่พบความผิดชัดเจน ส่วนไม่ชัดเจนให้สืบสวนต่อ 26-29 ม.ค.ที่ผ่านมา ดำเนินการสรุป 4 วัน วันที่ 30 ม.ค. ทำการแจ้งข้อกล่าวหา 31 ม.ค.-2 ก.พ. ครบ 7 วันเสร็จสิ้น
ปล่อยปละไม่มีรายงาน
มีข้าราชการตำรวจเป็นคณะกรรมการเป็นคนในเครื่องแบบ ใครบางคนให้ถูกถอดเครื่องแบบออก ให้ใส่ชุดวอร์มนั่งรถคุมตัวผู้ต้องหา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะไม่มีการรายงาน ไม่มีการเข้าไปควบคุมกำกับดูแลมันคือการปล่อยปละละเลย ไม่เข้าไปใกล้ชิดลูกน้องมากพอ หรือใกล้ชิดแต่ไม่ได้ไปนั่งในใจเขา
ต้องปรับบทบาทการทำงาน
คนดื้อมันมี แต่ตักเตือนกันได้ทำให้เขาเกรงใจได้ แต่วันนี้ไม่ใช่ เดี๋ยวเราจะเห็นภาพข่าวมีข้าราชการตำรวจที่อยู่ในบ้านเราลูกน้องเรา จะรู้จักไม่รู้จัก แต่จะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องจดจำและปรับบทบาทการทำงาน ตั้งแต่ท่านเดินทางออกจากห้องประชุมไป”
ผบช.น. กล่าวอีกว่า
ชัากว่าหนึ่งก้าว จะช้ากว่าเขาเสมอ
สิ่งหนึ่งที่จะฝากไว้สำหรับทุกคนที่เข้ามาคือการรายงานเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราช้ากว่าก้าวหนึ่งเราก็จะช้ากว่าเขาเสมอ ยกกรณีเรื่องห้วยขวางทำจริงๆ 7 วันเสร็จ วันนี้เอาคนที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องไปสู่กระบวนการยุติธรรม
แต่ทำไมสังคมต้องติเตียน เพราะ 1.เรามีรูรั่ว 2.เราช้ากว่าเขาหนึ่งก้าว พอเราจะทำอะไรเขาจะมาบอกในสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว สิ่งนี้จะเกิดขึ้นอีก จะเกิดขึ้นที่โรงพักไหนสถานีไหนก็แล้วแต่ ท่านเป็นหัวหน้าสถานีอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงต้องถูกตรวจสอบอย่างหนักหน่วง
หากเจอกรณีตั้งด่านแบบ สน.ห้วยขวาง จะมีการแจ้งให้ทราบอย่างไร รองผบช.น.คุมงานป้องกันปราบปราม และสืบสวน ต้องรับทราบมีการแจ้งให้ทราบ
ใส่ใจลูกน้อง อย่าให้เดินทางไม่ดี
ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้คือที่อยู่โรงพักแต่ละหน้างานกำลังจะเจออะไร ในรอบ 2-4 สัปดาห์ได้เจอคนธรรมดา นักสืบโซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะการตั้งจุดตรวจจุดสกัด อย่าให้มีเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น ต้องกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดี กำชับเขาให้ดี สั่งสอนเขาดี เป็นผู้นำที่ดี ตักเตือนดุด่าว่ากล่าว ไม่รักเราไม่เป็นไร แต่อย่าให้เขาเดินไปไม่ดี เขาจะไม่สูญเสียครอบครัวและไม่สูญเสียอนาคต
รายงานเหตุเรื่องเร่งด่วนเรื่องแรก
เรื่องเร่งด่วนเรื่องแรกคือการรายงานเหตุ หน้างานป้องกันปราบปราม ผู้กำกับการลงไปดูแล รองผู้บังคับการลงไปขับเคลื่อนหน้างานต่างๆ
จุดตรวจจุดสกัด ยังไม่เห็นชอบห้ามตั้ง
โดยเฉพาะงานป้องกันปราบปราม จุดตรวจถ้าไม่มีการลงในระบบไม่อนุญาตให้ตั้ง การเสนอขออนุมัติขึ้นมาถึงรองผู้บัญชาการที่ดูแลทั้งในหน้างานจราจรและหน้างานป้องกันปราบปราม ไม่เห็นชอบห้ามตั้ง จุดสกัดยังไม่จำเป็นต้องตั้งจนกว่าจะมีการพิจารณาจากรองผู้บัญชาการ เกิดเห็นตรงไหนจำเป็นต้องมีแล้วเสนอข้อขึ้นมา
ด่านเมายังไม่อนุญาตให้ตั้งจนกว่าจะได้รับการพิจารณาจากรองผู้บัญชาการ มีความจำเป็นจากอุบัติเหตุบ่อยครั้งหรือปัญหาเกิดจากผู้ขับขี่มีสภาพไม่สมบูรณ์มีการดื่มแอลกอฮอล์
หากตรวจสอบพบมีปัญหาจะมอบหมายให้รองผู้บัญชาการ ตรวจสอบพบมีคำสั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อพบภายใน 3 วันต้องพิจารณาได้ว่าบกพร่องเรื่องอะไร เอกสารถึงตนเอง ภายใน 7 วันต้องรู้ว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น จบลงทัณฑ์
ลูกน้องทำผิดรับผิดชอบตามลำดับ
หากตรวจสอบพบตามลำดับผู้กำกับลงไปตรวจพบลูกน้องทำผิด สารวัตรที่กำกับดูแลรับผิดชอบจดบัญชีถึงเวลาปรับย้ายตำแหน่งทันที รองผู้กำกับการ แจ้งสารวัตรรับผิดชอบช่วยงานศูนย์ปฏิบัติการทันที ถ้าไม่มีเรื่องทุจริตพิจารณาบกพร่องตามที่เกิดเหตุ หากพบเหตุทุจริตดำเนินคดี หากกองบัญชาการตรวจพบ รองผู้บังคับการรับผิดชอบ ผู้กำกับการ รองผู้กำกับการ สารวัตร รับผิดชอบ
เบี้ยเลี้ยงลูกน้องต้องได้กันครบ
การบริหารหัวหน้าสถานีทำทุกอย่างงบประมาณต้องมีความรู้ สิ่งจะต้องไม่มีคือเบี้ยเลี้ยงลูกน้องต้องได้ตามสิทธิ์เต็มจำนวน หากปล่อยให้คนอื่นทำเกิดการทุจริตให้ผู้รับประโยชน์ไม่ได้ประโยชน์ให้รองผู้กำกับการ สารวัตรทำแทนเกิดเหตุดังกล่าวผู้กำกับต้องรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ผู้ใต้บังคับบัญชา
หน้างานความมั่นคงทุกโรงพักต้องจัดกำลังควบคุมฝูงชน รองผู้บังคับการทำหน้าที่ผบ.พัน โรงพักทำหน้าที่ผบ.ร้อย
รับมืองานมั่นคง-เลือกตั้ง
สิ่งที่ต้องเผชิญสิ่งที่ต้องเผชิญคืออีกช่วงเวลาหนึ่งต้องมีการเลือกตั้ง ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ต้องรู้ว่าใครเป็นใคร งานมั่นคงของกองบังคับการต้องสัมผัสกับงานสืบสวนต้องคู่ขนานกัน ปัญหาจะมาจากข้อมูลท้องถิ่น บุคคลเฝ้าระวัง รวมถึงกรณีคดี 112 อะไรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้องดูแลอย่างใกล้ชิดมีแผนรองรับชัดเจน ใช้เวลาตรวจสอบปรับแผน
ทำอะไรไม่ไหวต้องรายงานขึ้นมา
ด้านงานสืบสวนอะไรที่เป็นหมายจับค้างเก่า ยาเสพติด หนี้นอกระบบ งานสืบสวนของโรงพักทำการขับเคลื่อนในพื้นที่ อย่าทำอะไรที่ตนเองทำไม่ไหวทำไม่ได้ต้องรายงานขึ้นมา หากตัวเลขไปไม่ได้ต้องมีคำตอบว่าทำอะไร อาทิ มีภารกิจแทรกขึ้นมาในพื้นที่ อย่าไปพยากรณ์ตัวเลข รองสารวัตร สารวัตรต้องช่วยขับเคลื่อน
งานจราจรของโรงพักและบก.จร. งานโครงการพระราชดำริ หาวิธีการนำเสนอให้โครงการมาช่วยในการช่วยเหลือประชาชน
ผกก.ต้องช่วยดูงานสอบสวน
หน้างานสอบสวน ผู้กำกับการต้องช่วยกำกับดูแล จะทำคดีสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องชนะหรือไม่ชนะก็แล้วแต่แค่ต้องให้ประชาชนรู้สึกได้ว่าพนักงานสอบสวนทำงานให้เขาอย่างเต็มที่ งานสอบสวนบริการดี
สุดท้ายงานกิจการพิเศษโรงพักต้องรับผิดชอบงานดังกล่าวมีการจัดกำลังอย่างเป็นระบบในการเข้าร่วม
อาบอบนวดทุกพื้นที่อย่าให้มีค้ามนุษย์
นอกจากนี้ให้ช่วยดูแลปัญหาเกี่ยวกับคดีค้ามนุษย์ในพื้นที่ต้องตรวจสอบโดยละเอียด โดยแจ้งเตือนทุกสน.สถานบริการที่มีการใช้บริการอาบ อบ นวด ไม่เช่นนั้นจะถูกแจ้งข้อกล่าวค้ามนุษย์ ปล่อยปละละเลย เป็นเจ้าหน้าที่สนับสนุน
รวมถึงสถานบริการเปิดร้องรำทำเพลง ตรวจสอบให้จริงจัง ดำเนินการขั้นตอนให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง อำนวยการ สอบสวน สืบสวน ปราบปราม
ตำรวจที่ดีเป็นได้ทุกตำแหน่ง
ถามใจว่าท่านเป็นตำรวจที่ดีในหน้าที่การงานนั้นได้หรือเปล่า จะเป็นตำรวจที่ดีมันเพราะตัวท่าน ไม่ใช่มาบอกว่าถ้าผมเป็นตำรวจจราจรที่ดีจะทำแบบนั้น
ท่านเป็นได้ทุกตำแหน่งถ้าท่านจะเป็นตำรวจที่ดี และทุกตำแหน่งที่ได้รับจะได้ประสบการณ์และเพื่อนร่วมงานที่ดีถึงท่านเสมอ ทุกตำแหน่งให้คุณค่ากับตัวเราเสมอ ทุกตำแหน่งเป็นตำรวจที่ดีได้เสมอ
แบ่งงานรองผบช.น.
พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผบช.น. ดูแลงานจราจร (จร)
พล.ต.ต.นิตินันท์ เพชรบรม รองผบช.น. รับผิดชอบงานจเรตำรวจ (จต)
พล.ต.ต.สมนึก น้อยคง รองผบช.น.รับผิดชอบงานต่างประเทศ (ตท)
พล.ต.ต.พิทักษ์ อุทัยธรรม รองผบช.น. รับผิดชอบงานบริหาร 2 (บร 2)
พล.ต.ต.โชคชัย งามวงศ์ รองผบช.น.ดูแลงานความมั่นคง (มค)
พล.ต.ต.สำเริง สวนทอง รองผบช.น. รับผิดชอบงานปราบปรามยาเสพติด (ปส)
พล.ต.ต.สยาม บุญสม รอง ผบช.น.รับผิดชอบงานกิจการพิเศษ 1 (กศ 1)
พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากรูปุณยสิริ รองผบช.น.รับผิดชอบงานกิจการพิเศษ 2 (กศ 2)
พล.ต.ต.สมควร พึ่งทรัพย์ รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานกฎหมายและคดี (กม)
พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น. รับผิดชอบงานสืบสวน (สส)
พล.ต.ต.สมบูรณ์ เทียนขาว รองผบช.น.รับผิดชอบงานบริหาร 1 (บร 1)
พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รองผบช.น.รับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม (ปป)