Thursday, November 21, 2024
More
    Homeอาชญา (ลง)กลอนแก๊งค้าไอซ์ใช้ “ทวิตเตอร์”เจาะจุดอ่อนตำรวจไทย

    แก๊งค้าไอซ์ใช้ “ทวิตเตอร์”เจาะจุดอ่อนตำรวจไทย

     

    อาชญา (ลง) กลอน
    ธนก บังผล

    เชื่อได้ว่าถ้าพูดถึง “ทวิตเตอร์” ตำรวจไทยเกือบร้อยละ 90 คงไม่รู้จักและเล่นไม่เป็น

    ไม่ใช่เฉพาะแค่ตำรวจนะครับสถิติจากเว็บไซต์ www.twfdigital.com เปิดเผยว่าประเทศไทยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์เพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ในขณะที่ความนิยมของคนในประเทศอเมริกามีมากที่สุดในโลกคือ ร้อยละ 18.9

    ส่วนเฟซบุ๊กที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่นั้น กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่มีผู้ใช้เป็นอันดับ 1 ของโลก

    ที่ผมต้องเกริ่นนำมาอย่างนี้ไม่ใช่ต้องการจะดูแคลนว่าตำรวจไทยไม่ทันสมัยนะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่าโซเชียลมีเดียสมัยนี้มีมากมาย ไม่ได้มีแค่ไลน์ กับ เฟซบุ๊คเท่านั้น

    นั่นทำให้เกิด “จุดอ่อน” ในการปราบปรามอาชญากรรมอย่างหลากหลาย

    ที่ผ่านมาอาจจะเคยมีนักสืบโซเชียลสามารถแกะรอยคนร้ายจากเฟซบุ๊กให้เห็นกันบ้าง

    แต่ผู้ที่ต้องการทำผิดกฎหมายก็ยังมีช่องทางอื่นๆให้เลือกใช้ โดยเฉพาะทวิตเตอร์นี่ละครับชัดเจนที่สุด และเคยเป็นข่าวมาแล้วด้วยว่ามีนักค้ายาประกาศตัวกันอย่างเอิกเกริก

    ผมค่อนข้างคาดหวังกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ว่าจะทำงานเชิงรุกให้ทันยุคทันสมัยมากกว่าทุกวันนี้

    ไม่ว่าจะเข้าไปเล่นหรือจะเข้าไปแฝงตัวสืบอย่างจริงจัง สร้างความชำนาญในสายงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ไม่ใช่เที่ยวไปบล็อคเว็บหนังโป๊เป็นแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ที่คาดหวัง เพราะผมมั่นใจว่าอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะระบาดหนักอย่างแน่นอน

    ในฐานะที่ผมใช้ทวิตเตอร์มาเกือบ 10 ปีแล้ว ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงของคนที่เข้ามาใช้งานมาเรื่อยๆ

    เหมือนครั้งหนึ่งที่เราใช้โปรแกรมแชท MSN กับ hi5 นั่นละครับ พอมีเด็กวัยรุ่นเข้ามาใช้มากๆ รูปแบบการสื่อสารเริ่มหยาบคายไร้รสนิยม คนก็เปลี่ยนมาใช้เฟซบุ๊ก

    ปัจจุบันความกากบนเฟซบุ๊คไทยนั้นก็เหมือน hi5 ยุคนั้นไม่มีผิด

    หลายคนเริ่มเบื่อและหันไปใช้อินสตาแกรมแทน ซึ่งมันก็มีโอกาสเป็นไปได้มากเช่นกันว่าเมื่อเด็กแว้นเด็กสก๊อยครองเฟซบุ๊ก ความนิยมใน IG ก็จะเพิ่มขึ้น

    สาธยายมายาวเหยียดเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ

    ขณะนี้เอเย่นต์ค้ายาเสพติดนิยมใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางหาลูกค้าและจำหน่าย โดยบัญชีทวิตเตอร์นั้น ถ้าเขาไม่อนุญาตให้เราติดตาม(Follow) เราก็ไม่สามารถพูดคุยหรือเห็นสิ่งที่เขาทวิตได้

    นอกจากนี้เมื่อเอเย่นต์กับลูกค้าฟอลโล่กันแล้วก็จะสามารถพูดคุยกันได้ผ่าน Diirect Message (DM) ซึ่งเป็นความลับระหว่าง 2 คน

    เหมือนอินบ็อกซ์ในเฟซบุ๊กนั่นละครับ แต่ทวิตเตอร์จะปลอดภัยมากกว่า

    ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ก็มาจากหน้าบัญชีทวิตเตอร์ของนักค้ายา ถ้าจะทำกันจริงๆ ก็สามารถออกหมายจับได้ทันที เพราะความผิดสำเร็จแล้ว

    มีทั้งเบอร์โทร มีทั้งบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่หากเจาะเข้าไปก็รู้เลยว่าเป็นใคร

    โซเชียลมีเดียแต่ละตัว ก็มีวิธีการสื่อสารและการรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ที่แตกต่างกันไป ลองคิดดูสิครับว่าทำไมในต่างประเทศเขาถึงนิยมใช้ทวิตเตอร์มากกว่าเฟซบุ๊ก

    แล้วทำไมตำรวจไทยยังไม่ใช้ทวิตเตอร์กันอีกละครับ

    ลองจับพวกพ่อค้ายาเสพติดที่ทำผิดกฎหมายคาตาอย่างนี้ให้เป็นข่าวดังสักครั้ง อย่างน้อยก็ปรามไม่ให้ผู้ที่คิดจะขยายธุรกิจผิดกฎหมายย่ามใจอย่างตอนนี้

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments