“ผู้การ ตม.1″เชือด5 ลูกน้อง สืบ ตม. ออกจากราชการไว้ก่อนหลังเจอศาลออกหมายจับอุ้มรีดนักธุรกิจจีน
วันที่ 22 มี.ค.66 ที่ ตร . พล.ต.ต.ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีหนังสือคำสั่ง กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ที่ 31 /2566
ให้ พ.ต.ต.สรวิศ อินทร์ลับ สารวัตร กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
พ.ต.ต.จิรภัทร บุญนำ สารวัตร กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ร.ต.ท.ประวิต พลจังหรีด รองสารวัตร กองกำกับกรสืบสวน กองบังคับการ
ตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ร.ต.ท.สุริยะ รุกขชาติ รองสารวัตร กองกำกับการสืบสวน (สายงานสืบสวน)
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
และด.ต.พีระศักดิ์ ยิ้มไพบูลย์ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการสืบสวนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลสอบสวนพิจารณาทางวินัย
หลังมีคำสั่งที่ 30/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวน พ.ต.ต.สรวิศ อินทร์ลับ พร้อมพวกรวม 5 นาย เนื่องจากข้าราชการตำรวจดังกล่าวถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ
หากให้ผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในหน้าที่ราชการต่อไป อาจเกิดความเสียหายแก่ราชการโดยส่วนรวม อันเป็นเหตุให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ตาม กฎ ก.ตร.
ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก พ.ต.ต.สรวิศ อินทร์ลับ พร้อมพวกรวม 5 นาย ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อนุมัติออกหมายจับข้าราชการตำรวจดังกล่าว
ต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกชมขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามหมายจับ
อนึ่ง ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งนี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ตร. ได้ตาม
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 141 ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งและหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอทราบผลการวินิจฉัยอุทธรณ์
ดาบสอง ตั้งกรรมการสอบฟันวินัยร้ายแรง 5 ตำรวจอุ้มรีดทรัพย์นักธุรกิจจีน
วันที่ 22 พลตำรวจตรี ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ได้มีคำสั่ง
ที่ 30/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ด้วย
(1.)พันตำรวจตรี สรวิศ อินทร์ลับ สาวัตร กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง
(2.)พันตำรวจตรี จิรภัทร บุญนำ สารวัตร กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
(3.)ร้อยตำรวจโท ประวิต พลจังหรีด รองสารวัตร กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
(4.)ร้อยตำรวจโท สุริยะ รุกชชาติ รองสารวัตร กองกำกับการสืบสวน (สายงานสืบสวน) กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 และ
(5.)ดาบตำรวจ พีระศักดิ์ ยิ้มไพบูลย์ ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 มีกรณีต้องหาคดีอาญา
กล่าวคือเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2566 ข้าราชการตำรวจกลุ่มดังกล่าว มีพฤติการณ์ ได้ร่วมกันควบคุมตัว นายต้าเกอ สัญชาติจีนและนางมีนา แซ่ลี ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวยหลายคัน จากบริเวณ บ้านเลขที่ 800/64 ซอยตระกูลสุข แขวงดินแดง เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร มายังบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พร้อมขับวนไปเรื่อยๆ ระหว่างนั้นได้พูดคุยกับนายต้าเกอ และ นางมีนาฯ มีการถ่ายภาพหนังสือเดินทางและข่มขู่นายต้าเกอ ว่าได้กระทำความผิดอาญา
พร้อมเรียกรับผลประโยชน์
สุดท้ายนายต้าเกอ ตกลงยอมจ่ายเงิน เป็นเงินประมาณ 10 ล้านบาทโดยโอนผ่านระบบ E-token เมื่อมีการโอนเงินเรียบร้อย พันตำรวจตรี สรวิศ ฯ กับพวก จึงได้นำตัวนายต้าเกอ และนางมีนาฯมาส่งยังศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ
การกระทำดังกล่าว ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อนุมัติออกหมายจับข้าราชการตำรวจดังกล่าว
ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกชมขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่
ห้าคนขึ้นไป
ตามหมายจับที่ จ.55-58/2566 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2566 และ บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาคดีอาญา ที่ 216 /2566 ของสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ลงวันที่ 22 มีนาคม 2566 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 119 ประกอบ มาตรา 178
จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(1)พันตำรวจเอก ภาสกร รัตนปนัดดา รองผู้บังคับการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เป็นประธานกรรมการ
(2)พันตำรวจเอก พิทักษ์พงษ์ เจริญกุล ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
เป็นกรรมการ
(3.)ว่าที่ พันตำรวจเอกหญิง ธัญดา เลาห์ทวี ผู้กำกับการ ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เป็นกรรมการเป็นกรรมการ
(4.)ว่าที่พันตำรวจตรีหญิง วาสนา เทพประสิทธิ์ สารวัตร ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
(5.)ร้อยตำรวจโทหญิง จุฑารัตน์ เง็กเอี่ยม รองสารวัตร ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสอบสวน ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2547 ให้แล้วเสร็จ แล้วเสนอสำนวนการสอบสวนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
อนึ่ง หากคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งนี้ หรือกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการตำรวจผู้อื่นและคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่าข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนอยู่ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานมาโดยเร็วสั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2566 “คำสั่งดังกล่าวระบุ”