Saturday, November 23, 2024
More
    HomeStories About Meพ.ต.อ.กฤษ ก้อมน้อย โชว์สมาร์ทเซฟตี้โซน

    พ.ต.อ.กฤษ ก้อมน้อย โชว์สมาร์ทเซฟตี้โซน

    พ.ต.อ.กฤษ ก้อมน้อย ชื่อเดิม สุรพล ผกก.สน.มีนบุรี หรือ ผกก.โหน่ง หรือ ผกก.ก้อม นรต.41

    กล่าวถึงสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี ถูกคัดเลือกเป็นสถานีตำรวจนำร่อง โครงการSMART SAFETY ZONE 4.0 ระยะ 2 ปี 2565 โดยเลือกจัด โครงการ Smart Safety Zone ตลาดน้ำขวัญ – เรียม ถนนเสรีไทย แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ว่า

    ตามที่รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการต้ารวจแห่งชาติ จึงได้จัดทำ ” โครงการ สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0 ( SMART SAFETY ZONE 4.0) ” ขึ้น เพื่อเป็นโครงการนำร่องในเขตพื้นที่ต่าง ๆ

    มีเป้าหมายคือ พัฒนารูปแบบวิธีการป้องกันอาชญากรรม โดยใช้นวัตกรรม และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวคิดเรื่อง ” เมืองอัจฉริยะ “

    ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานต้ารวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการโครงการSMART SAFETY ZONE 4.0 นำร่องไปกับ 15 สถานีตำารวจชั้นนำทั่วประเทศ

    ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจนครบาลมี สน.นำร่อง 3 สน. ได้แก่ 1 สน.ห้วยขวาง 2. สน.ลุมพีนี 3. สน.ภาษีเจริญ และในปีงบประมาณ 2565 มีสถานีตำรวจ ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 85 สถานีทั่วประเทศรวมเป็น 100 สถานี

    พ.ต.อ.กฤษเผยอีกว่า

    ในส่วนของกองบังคับการตำรวจนครบาล 3  พิจารณาคัดเลือกสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี เป็นสถานีตำรวจนำร่อง ” โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ” ตลาดน้ำขวัญ-เรียม เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 จาก 9 กองบังคับการ ในสังกัดกองบัญชาการต้ารวจนครบาล

    มีความเป็นมาของโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี ( พ.ศ.2561-2580 ) เป้าหมายการพัฒนาระยะที่ 1 ( 5 ปี พ.ศ.2561-2565 ) มีตัวชี้ วัดเป้าหมาย ที่ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน ไม่เกินร้อยละ 40 และความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำารวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    ผกก.สน.มีนบุรีกล่าวต่ออีกว่า ทั้งนี้การพัฒนาระบบราชการไปสู่ระบบราชการ 4.0 มีองค์ประกอบ 3 ประการ ประกอบด้วย

    1. ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน

    2. ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

    3. ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย

    ปัจจัยสำคัญแห่งความส้าเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย

    1. การสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

    2. การสร้างนวัตกรรม

    3. การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

    มีวัตถุประสงค์ของโครงการ Smart Safety Zone 4.0

    1. เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่สาธารณะ โดยผสมผสานทฤษฎี
    และแนวความคิด ในเรื่องการป้องกันอาชญากรรม อาชญาวิทยา กับแนวความคิดเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย

    2. เพื่อยกระดับการทำงานของตำรวจตามกรอบความคิดในเรื่อง“ระบบราชการ 4.0” และก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ( Digitalization )

    3. เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน ระบบราชการส่วนภูมิภาค ระบบราชการส่วนท้องถิ่น และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในด้านการป้องกันอาชญากรรม และนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

    พ.ต.อ.กฤษเผยอีก ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ในระดับชาติ เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ ท้าให้ประชาชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มมากขึ้นไม่หวาดกลัวภัยอาชญากรรม อันจะน้าไปสู่ความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงทางสังคมในที่สุด

    2. ในระดับองค์กร สำนักงานตำารวจแห่งชาติก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการทำงาน ในระบบราชการ 3.0 ไปสู่ความเป็นระบบราชการ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล

    3. ในระดับปัจเจกชน ข้าราชการตำรวจมีความตื่นตัวและปรับทัศนคติ ให้ยอมรับและพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้น้าการเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้าน ต่างๆ และยุทธศาสตร์สำนักงานต้ารวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)

    สมดังวิสัยทัศน์ของ ประเทศไทยที่ว่า “ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ”

    “เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมาพล.ต.ต. พลฑิต ไชยรส ผบก.น.3 เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก( BIG 6 )  มี พ.ต.อ.สราวุธ จินดาคำ รอง ผบก.น.3  เจ้าอาวาสวัดบางเพ็งใต้ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบำเพ็ญเหนือ  ผช.ผอ.เขตมีนบุรี  ผอ.โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ

    ประธานกต.ตร.สน.มีนบุรี  ประธานสภาวัฒนธรรมเขตมีนบุรี ผอ.ศูนย์สาธารณสุข 43 มีนบุรี  ตัวแทนสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ตัวแทนสถานีดับเพลิง และกู้ภัยบางชัน  ตัวแทนโรงพยาบาลเสรีรักษ์  ตัวแทนโรงพยาบาล นวมินทร์ 9  ตัวแทนตลาดน้ำขวัญ-เรียม

    ตัวแทนศูนย์กู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิกู้ภัยร่มไทรมีนบุรี  ตัวแทนผู้สื่อข่าวมวลชน และเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่ ที่ห้องประชุม บก.น.3 เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับพิธีเปิดโครงการพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 15 มกราคม 2565 นี้” พ.ต.อ.กฤษกล่าว

    เสือออนไลน์15/1/65

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments