Friday, November 22, 2024
More
    Homeบทความทั่วไปกรณีศึกษาฝ่ายปกครองล้อมจับตำรวจรีดส่วย

    กรณีศึกษาฝ่ายปกครองล้อมจับตำรวจรีดส่วย

    หลังคลิปภาพปฏิบัติการของฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย ล้อมจับ ดาบตำรวจท่องเที่ยวพร้อมนิ้ว ที่เข้าไปรีดส่วนสถานบันเทิงในพื้นที่อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี คารถหลวงติดโลโก้ตำรวจท่องเที่ยว ชนิดไม่ไว้หน้า

    ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อื้ออึงในโลกโซเชี่ยล โดยเฉพาะในกลุ่มตำรวจผู้ถือกฏหมาย และมีการแชร์ข้อความของ พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Siriphon Kusonsinwut แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

    กรณีชุดปฏิบัติการพิเศษของฝ่ายปกครอง จับกุมตำรวจท่องเที่ยวที่เรียกรับผลประโยชน์ มีข้อพิจารณา ดังนี้

    1) การเรียกรับผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย สมควรแก่การดำเนินการจับกุมดำเนินคดี

    เชื่อเถอะว่า ตำรวจดีๆ ก็อยากเห็นวงการตำรวจ “ขาวสะอาด” เช่นกัน ดังนั้น ไม่มีใครเห็นว่า การกระทำแบบนี้ ถูกต้องใด ๆ

    2) การใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง มีอำนาจสอบสวนและจับกุมได้หรือไม่

    แม้จะมี ป.วิ.อาญา กำหนดชัดเจนว่า เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวน แต่อำนาจสอบสวน มีเพียงกฎหมายทีกำหนดไว้ในกฎกระทรวง 16 ฉบับเท่านั้น แม้กระทรวงมหาดไทยจะมีคำสั่งภายใน ฯลฯ กำหนดให้อำนาจในรักษาความสงบเรียบร้อย

    แต่การจับกุมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพอย่างร้ายแรง การที่จะถือว่ามีอำนาจจับกุม จะต้องเป็นกรณีที่ มีการมอบอำนาจจากประชาชน กล่าวคือ อำนาจต้องมาจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยตรงเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งภายใน

    3) ความผิดฐานเรียกรับสินบน เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าที่จะจับกุมได้โดยไม่มีหมายจับหรือไม่

    กรณีนี้เห็นว่า ไม่ถือเป็นความผิดที่เห็นกระทำสด หรือมีเนื้อตัวร่างกาย ฯลฯ ที่จะถือว่า กระทำผิดมาแล้วสด ๆ กรณีนี้ จึงเห็นว่า ไม่อาจจับกุมโดยไม่มีหมาย แบบที่กระทำได้

    4) กรณีที่อ้างว่า มีการล่อซื้อ และทำเครื่องหมายไว้ที่ พันธบัตร

    ผมเห็นว่า ความผิดฐานรับสินบนนี้ ผิดสำเร็จเมื่อส่งมอบกัน ดังนั้น ถ้าชุดจับกุมแสดงตนจับกุมในขณะนั้น จึงถือว่าจับกุมเพราะความผิดซึ่งหน้าได้

    5) การกระทำการจับกุมและการใช้กำลังลักษณะนี้ ได้หลักสัดส่วนหรือไม่

    กรณีนี้ ต้องผ่านความชอบด้วยกฎหมายในการจับกุมตามข้อ 3) มาก่อน คือ สามารถใช้อำนาจตำรวจหรืออำนาจบังคับกฎหมายจับกุมได้เสียก่อน จึงสามารถใช้กำลังได้ และหลักการใช้กำลังต้องได้สัดส่วน เมื่อเทียบกับภยันตรายที่จะเกิดขึ้น

    6) คำถามที่สำคัญ ถ้าเกิดการต่อสู้และเสียชีวิตร่างกาย จะคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร ??อนาคต ถ้ามีการกระทำผิดลักษณะเดียวกันจะมีการยินยอมให้จับโดยละม่อมโดยไม่ต่อสู้หรือไม่ ???

    บทสรุป คือ ผิดว่าตามผิด และการจับกุม ต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงกฎหมายที่ให้อำนาจ และเมื่อมีกฎหมายที่ให้อำนาจแล้ว ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ

    เพราะหากมีการต่อสู้ขัดขวางกันขึ้นมา และกรณีที่ไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้าแล้ว การยิงต่อสู้ ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วย กรณีนี้ดังกล่าว มีแต่จะเสียกับเสีย …

                       —————————————————————-

    ครับ….ขอให้เป็นกรณีศึกษาต่อไปแล้วกัน

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments