Thursday, November 21, 2024
More
    Homeบทความทั่วไปภาพบิดเบือน Deepfake

    ภาพบิดเบือน Deepfake

    “เทเลอร์ สวิฟท์” ภาพบิดเบือนดีพเฟค เรียกร้องให้สภาคองเกรส สหรัฐฯ ร่างกฎหมายควบคุมด่วน

    พบรายงานข่าวชิ้นหนึ่ง นักการเมืองสหรัฐฯ ยื่นสภาคองเกรสร่างกฎหมายใหม่จากกรณีการสร้างภาพบิดเบือน ของศิลปินสาว“เทเลอร์ สวิฟท์” จนกลายเป็นภาพที่ถูกเปิดดูบนโลกออนไลน์หลายล้านครั้ง

    สื่อโซเชียลมีเดียที่นำเสนอภาพดีพเฟคของ “เทเลอร์ สวิฟท์” ผ่านทางX และ Telegram
    สมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐ “โจ มอเรลล์” ขนานนามให้กับการแพร่ภาพครั้งนี้ว่า “น่าขยะแขยง”

    Deepfake คือ กระบวนการเรียนรู้ของเครื่องที่เอไอ หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้เก็บข้อมูลเพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวใหม่

    ก็ดูน่าจะเป็นเรื่องดีหรือมีประโยชน์อย่างมาก

    แต่การ “ทำปลอม” ถ้าทำเพื่อจุดประสงค์ในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร หรือให้เกิดความเสียหายน่าอับอายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

    มันก็ “น่ากลัว” หรือ “น่าขยะแขยง”และมันก็คือ การก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง

    ดีพเฟค ก็คือการเก็บข้อมูลเชิงลึก ตั้งแต่ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอเคลื่อนไหว เสียง เอไอจะประมวลข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเรียนรู้นำมาเลียนแบบ สร้างภาพเคลื่อนไหวของคนขึ้นใหม่ เช่น เก็บข้อมูลท่าทาง อวัยวะการเคลื่อนไหว การขยับใบหน้าการขยับปากพูดต่างๆ เก็บข้อมูลเสียง ลีลาน้ำหนักการเปล่งเสียง มาประกอบเป็นภาพเคลื่อนไหววิดีโอแบบปลอมๆ จนดูผิวเผินราวกับเป็นภาพคลิปวิดีโอที่เกิดขึ้นจริง

    เมื่อผู้สร้างนำไปเผยแพร่อย่างไร้ความรับผิดชอบหรือจริยธรรมเมื่อไหร่มันย่อมจะส่งผลกระทบต่อบุคคลในคลิปวิดีโอดีพเฟคนั่นอย่างเต็มเปา

    ยิ่งสังคมมนุษย์ หนีไม่พ้นเรื่องกามเรื่องเซ็กซ์ เป้าหมายของพวกทำดีพเฟค มันจะพุ่งเป้าไปที่เหยื่อหญิงสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    ปกติแอพพลิเคชันดีพเฟค มีตลาดในกลุ่มคนทั่วไป ที่อยากทำวิดีโอสนุกๆ หรือมีมเท่านั้น อย่างที่ แคโรลีน เคิร์ค เขียนถึงในวารสารกฎหมายของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมื่อปีก่อน

    “ตั้งแต่เทคโนโลยีขยายตัวกว้างขวาง มีจ านวน90-95% ของคลิปวิดีโอดีพเฟคลามก เป็นภาพโป๊ เปลือย ของสาววัยแรกรุ่น”

    ในโรงเรียนมัธยมของสหรัฐฯ มีเด็กสาวถูกทำคลิปปลอมในสภาพโป๊ เปลือยอย่างมากมาย ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง

    เนื้อแท้ของคลิปปลอมแล้วคือการรุกล้ำสิทธิส่วนตัว แดเนียล ซิตรอน อาจารย์กฎหมาย ยันชัดว่า

    “ดีพเฟคจะเปลี่ยนภาพหน้าตาของผู้หญิงกลายเป็นสื่ออนาจารลามก แสดงท่าทางร่วมเพศ โดยที่ตัวตนของผู้หญิงไม่มีความคิดจะทำอย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย”

    ภาพปลอมจริงๆ แล้วมันเกิดมานานนับพันปี นี้เป็นเพียงรูปแบบใหม่ของการโกหกเท่านั้น

    ดาราดังทอม ครูส” ยังตกเป็นเป้าบน “TikTok” จากฝีมือของนักทำเอฟเฟ็กต์ภาพยนตร์ แต่ยังดีที่มีลายน้ำระบุว่าเป็นภาพปลอม

    แม้กระทั่ง “ลุงตู่”ยังหนีไม่พ้นดีพเฟค ถือไมค์ร้องเพลงแบบวัยรุ่นทันสมัย

    ก็ต้องระวังอะไรๆ ที่่ก้าวล้ำวิทยาการเทคโนโลยี ที่เหมือนดาบสองคม ใช้ผิดที่ผิดทางมันก็ทำอันตรายต่อสังคมได้อย่างฉกาจฉกรรจ์

    เราควรเรียนรู้หาทางป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้รอบด้าน

    เพราะมิจฉาชีพไซเบอร์มันย่อมจะหาทางแหกกฎ หลบหลีกตำรวจอยู่ตลอดกาล

    ดอนรัญจวน
    27/1/2567

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments