วันที่ 23 เมษายน 2566 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.กฤตภาส กิตติรัฐกรณ์ ปฏิบัติราชการ รอง ผบก.สส.ฯ พ.ต.อ.ธนากร อ่อนทองคำ ผกก.สส.4 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.รัฐนันท์ สมวงศ์ รอง ผกก.สส.4 บก.สส.บช.น.
สั่งการให้ พ.ต.ต.นิทัสน์ มีทอง สว.กก.สส.4ฯ, ร.ต.อ.วีระพงษ์ คุณสมิตปัญญา รอง สว.กก.สส.4ฯ, ด.ต.ชาญฤทธิ์ นิลทการ, ด.ต.ธีรพันธ์ โพยนอก, จ.ส.ต.สรายุทธ ยศสกุล, ส.ต.อ.กานต์ สรรพกิจจำนง ผบ.หมู่ กก.สส.4ฯ
ร่วมกันจับกุมตัว นายเอกพล อายุ 32 ปี ตามหมายจับศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ที่ จ42/2566 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2566 ฐาน “ฉ้อโกง” จับได้ที่หน้าร้านตี๋น้อยยางยนต์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
พฤติการณ์แห่งคดี ผู้เสียหายเป็นอดีตคณบดีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจ.พระนครศรีอยุธยา อายุ 74 ปี มีความประสงค์ที่จะจัดหาเครื่องดนตรีไทยเพื่อไปบริจาคให้กับโรงเรียนในท้องที่ขาดแคลน ได้ลงประกาศในกลุ่มเฟซบุ๊ก
ต่อมานายเอกพล ผู้ต้องหาเห็นโพสต์ดังกล่าว โทรศัพท์ติดต่อเสนอขาย 10,500 บาท แต่เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้แล้ว นายเอกพลฯ ไม่ส่งเครื่องดนตรีให้ และไม่สามารถติดต่อได้ ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.บางบาล จว.พระนครศรีอยุธยา กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.4 บก.สส.บช.น. สืบสวนติดตามจับกุมตัว นำส่ง พนักงานสอบสวน สภ.บางบาล จว.พระนครศรีอยุธยา ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น.กล่าวว่า
“กองบังคับการสืบสวนตำรวจนครบาล เห็นความสำคัญของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทุกประเภท สำหรับคดีนี้แม้มูลค่าความเสียหายจะไม่มาก แต่สร้างความเดือดร้อนให้กับโรงเรียนที่รอการสนับสนุนเครื่องดนตรี เราจะดำเนินการปราบปรามอย่างเต็มรูปแบบ อย่างทันทีตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีความประสงค์ให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภายใต้วิสัยทัศน์ของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ที่กล่าวไว้ว่า เป็นตำรวจมืออาชีพ ทำงานเชิงรุก เพื่อความสงบของประชาชน”