'คุณตำรวจ' รู้จัก นักข่าวสายอาชญากรรม ด้านไหน ?

0
3240

คุณตำรวจ รู้จัก นักข่าวอย่างพวกเรา ด้านไหน?

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คงไม่มีใครรู้จักพวกเราทั่วประเทศ  ในฐานะที่ผมเอง ทำงานข่าวด้านนี้มาแต่ต้น ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ระทึกขวัญหรือด้านดี นักข่าวอย่างผม จะไปถึงที่เกิดเหตุพร้อมๆกับตำรวจเจ้าของคดีพื้นที่ เก็บรายละเอียดข้อมูลเท่าที่ตำรวจพอจะเปิดเผยได้ ก่อนจะส่งต่อข้อเท็จจริงทั้งหมดเข้าไปยังสำนักข่าวต้นสังกัด ผ่านหลายกระบวนการขึ้นเป็นข่าวหน้า 1 หัวสี รอให้ผู้บริโภคข่าวได้อ่านในทุกเช้า

” หลายคนสงสัย สายงานเราแบ่งออกเป็นอย่างไร ? “ ที่จริงแล้วมันก็จะแบ่งตามลักษณะงาน แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภทตามที่เคยทำงานมา แบบแรกคือ “สายอาชญากรรม” หรือที่เรียกว่า “นักข่าวสายตระเวน” อันนี้ เราคงเห็นบ่อยๆเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้ ฆ่ากันตาย ปล้นทรัพย์ เหตุระเบิด หรือแม้แต่สถานการณ์การชุมนุม มีม็อบต่างๆ หรือมีแถลงข่าวตามที่ต่างๆ นักข่าวสายนี้ มักจะเกาะติดลงพื้นที่ เสมือนประหนึ่ง ผู้ร่วมสังเกตุการณ์ เช่นเหตุการณ์เป็นอย่างไร ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร พวกเรา จะมีหน้าที่เรียบเรียง นำเสนอ ส่งประเด็นให้สำนักพิมพ์ หรือทีวีช่องต้นสังกัดต่อไป

13624629_1109942812405134_444404530_n

แบบที่ 2 คงเป็น “นักข่าวประจำ”  ในที่นี่ก็มีหลายสำนักพิมพ์ – สถานี 3 5 7 9 จะต้องมีการส่งนักข่าวของแต่ละที่ ไปประจำทำข่าวตามหน่วยงานต่างๆของตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองปราบปราม ศาลอาญา กระทรวงยุติธรรม อันนี้คือ สถานที่หลักนักข่าวอาจเปลี่ยนที่ไปประจำที่ต่างๆ ตามแต่ได้รับมอบหมายสลับกันไป หนีไม่พ้นสถานที่เหล่านี้ นอกเหนือจากงานแถลงข่าวจากตำรวจหน่วยงานต่างๆ ก็ยังมีงานอื่นๆ

ในส่วนของนโยบายการให้สัมภาษณ์ ประเด็นที่ต้องสงสัย ติดตามเพื่อนำเสนอหน่วยงาน เป็นเรื่องที่ต้องทำกันเอง บางวัน นักข่าวประจำอาจไม่มีงาน หรือไม่มีการแถลงข่าวในวันนั้นๆ ตัวนักข่าวต้องใช้ความสามารถบวกกับความสนิทสนมส่วนตัว ในการหาข่าว ข่าวบางข่าวขึ้นอยู่กับไหวพริบของตัวนักข่าว การพูดคุย สอบถามแหล่งข่าวก่อนนำมาจับประเด็น  เช่น การพูดคุยเรื่องรถติดตามแยกต่างๆ เราอาจขยายความได้ ทั้งเรื่อง การทำหน้าที่ของตำรวจจราจร สัญญาณไฟจราจรตามสี่แยก การเข้าโรงเรียนช่วงเช้าของสถาบันการศึกษา สภาพอากาศทั้งฝนตก สภาพถนนทั้ง น้ำท่วมขัง เส้นทางที่มีปัญหาการจราจรต่างๆ

ซึ่งเมื่อมองโดยรวม “นักข่าวสายอาชญากรรม” หมายถึง ผู้ตระเวนทำข่าว ส่วน “นักข่าวประจำ” ส่วนใหญ่หมายถึง ผู้ที่ทำข่าวประจำหน่วยงาน แต่ส่วนใหญ่ ทั้งหมด ทั้งมวลแล้วก็จะอยู่โต๊ะเดียวกัน สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของกระบวนการ ล้วนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือหาข่าวและภาพ ส่งให้ต้นสังกัด

13625065_1109942862405129_815477702_n

บ่อยครั้งที่ ในละคร หรือ ในภาพยนต์ หากจะมีนักข่าว สายตำรวจ-อาชญากรรม ร่วมด้วยแล้ว ก็มักจะถูกนำมาล้อเลียนบ่อยๆ ทั้งเรื่องความประมาท ความห่าม ความเบ่ง ที่ดูแล้วมันตลกๆ ผมเคยดูละครอยู่เรื่อง มีคนคลุ้มคลั่งใช้มีดจี้คอตัวเอง นักข่าวสาวในเรื่องยืนถ่ายรูปห่างไปไม่ถึง 2 เมตร สุดท้ายนักข่าวสาว กลายเป็นเหยื่อ ถูกจับล็อคคอใช้มีดจี้เอง จนแล้วจนรอด ต้องเดือดร้อนแฟนหนุ่มที่รับบทเป็นตำรวจในเรื่องเข้าช่วยเหลือให้พ้นเนื้อมือโจร ละครบางเรื่องสร้างความสับสน งงเป็นไก่ตาแตกให้ท่านผู้ชมทางบ้าน เพราะตำรวจ 1 นาย รับบทเป็นทั้ง ฝ่ายสืบสวน สายตรวจ และพนักงานสอบสวนในคนเดียวกัน ส่วนนักข่าว สายตำรวจ-อาชญากรรม ในเรื่องก็ดูไม่ฉลาด มีความเผือกมากกว่าสื่อมวลชนในชีวิตจริงหลายเท่าตัว…….. “เป่าหิมะ” 

13582299_1109942985738450_1380936647_o