ในช่วงเทศกาล “เกษียณอายุราชการ” นี้ คอลัมน์ “Healthy Talked” จะไม่เอ่ยถึงคงไม่ได้ เพราะเห็นตำรวจผู้ใหญ่หลายท่านเดินสายฉลองกันอย่างสนุกสนาน อย่างไรเสียก็อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ เพราะบุคคลที่ “เกษียณอายุ” ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะถือว่าเป็น “ผู้สูงอายุ”
แต่ถึงแม้ว่า “ตำรวจผู้ใหญ่” หลายท่านอายุอานามจะไปหลักหกกันแล้ว แต่หน้าตาและบุคลิกภาพของยังเหมือนหนุ่มวัยกลางคนกันอยู่เลยก็ตาม การดูแลป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ คงไม่มีใครอยากเจ็บไข้ได้ป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อกันหรอกใช่ไหมค่ะ เพราะเดี๋ยวจะหมดสนุกกับการใช้ชีวิตหลัง “เกษียณอายุราชการ” กันพอดี โดยเฉพาะ “โรคติดเชื้อต่างๆ”
วันนี้เราจึงมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน “โรคติดเชื้อต่างๆ” ใน “ผู้สูงอายุ” มาฝากกัน เพราะมีหลากหลายโรค ได้แก่ โรคงูสวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ และโรคบาดทะยัก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ “ผู้สูงอายุ” ติดเชื้อง่ายนั้นเนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันทางร่างกายอ่อนแอลง ที่สำคัญมักเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้!!
โรคแรกที่ต้องเอ่ยถึงและกำลังระบาดอยู่ในช่วงนี้ คือ “โรคงูสวัด” โดย พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์ หน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้ว่า โรคงูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ที่หลบซ่อนอยู่ในปมประสาทใต้ผิวหนังหลังจากมีการติดเชื้อชนิดนี้ครั้งแรก โดยเชื้อไวรัสจะแฝงตัวอยู่เป็นเวลานานหลายสิบปี จนเมื่อใดที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะจากการที่อายุมากขึ้น
เชื้อที่แฝงตัวอยู่จะกระจายตัวตามเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย โดยจะแสดงอาการออกมาเป็นผื่นแดง และตุ่มน้ำใสๆ เรียงตัวเป็นกลุ่มตามแนวเส้นประสาท ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการที่แสดงตามมา นั่นคือ อาการปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณผิวหนัง แม้บางครั้งถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะส่งผลกระทยต่อชีวิตประจำวันโดยตรง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการนอนได้
จากข้อมูลที่มีการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 1 ใน 3 ของประชากรที่มีอายุถึง 80 ปี เคยเป็น “โรคงูสวัด”มาแล้ว และความชุกของโรคงูสวัดจะพบมากขึ้นอย่างชัดเจนในประชากรที่มีอายุมากว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้สูงวัยกลุ่มดังกล่าวจะมีโอกาสเป็นโรคงูสวัดได้มากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ถึง 2 เท่า
อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง โดยยิ่งมีอายุมากยิ่งเป็นรุนแรง และนานขึ้น เช่น อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรังแม้ผื่นได้รับการรักษาจนหายแล้ว หรือ Post Herpetic Neuralgia (PHN) ซึ่งมักมีอาการปวดลึกๆ เรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจยาวนานเป็นปีได้ และอาจมีไข้ร่วมด้วย โดยพบได้บ่อยถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ใน “ผู้สูงวัย” อาจเกิดขึ้นบริเวณดวงตา ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนทำให้ตาบอดหรือหากงูสวัดขึ้นบริเวณหูด้านนอกหรือแก้วหู อาจทำให้ใบหน้าซีกนั้นๆ เกิดอัมพาต ปากเบี้ยว หรือไม่สามารถหลับตาข้างนั้นให้สนิทไ
ด้ ยิ่งไปกว่านั้นหากติดเชื้องูสวัดชนิดแพร่กระจายออกแนวเส้นประสาท เชื้อไวรัสอาาจกระจายเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ตับ ปอด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนเป็นอันตรายถึงชีวิต
อีกทั้งช่วยลดอุบัติการณ์ของการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรังได้อีกด้วย แต่ปัจจุบันมีผู้สูงวัยในประเทศไทยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน “โรคงูสวัด” เพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ซึ่งยังเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งประเทศ
นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันป้องกัน “โรคงูสวัด” เพียงครั้งเดียวเพื่อเสริมสร้างเกาะป้องกันแล้ว เราสามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน เช่น การล้างมือให้สะอาด และรักษาความสะอาดของใช้ส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ชุมชนแออัด อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ เพียงแค่นี้ก็ห่างไกลโรคติดเชื้อต่างๆ ได้แล้ว