Tuesday, April 16, 2024
More
    Homeท่องปทุมวันโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุค “ครูใหญ่หวาน”

    โรงเรียนนายร้อยตำรวจยุค “ครูใหญ่หวาน”

       
    ครูหวาน-พล.ต.ท.ดร.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผบช.รร.นรต. ครูใหญ่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  

    เป็นลูกหม้อโรงเรียนนายร้อยตำรวจตัวจริง เพราะหลังจบปริญญาเอกทางด้านอาชญวิทยา ที่เท็กซัส กลับมาเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยสอนวิชาอาชญวิทยา เรื่องกระบวนการยุติธรรมเปรียบเทียบระหว่างประเทศ  ตั้งแต่ยศร.ต.อ.ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ครูหวานสอนมามากกว่า15ปี สอนนักเรียนนายร้อยตั้งแต่รุ่น 53 จนรุ่น 66-67

    นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ  สอนวิชาอาชญาวิทยา ปริญญาเอกที่มหิดล ปริญญาโทจุฬาฯ และธรรมศาสตร์    

    มีโอกาสนั่งคุยกับครูหวานถึงหลักสูตรการเรียนการสอนในรั้วสามพราน ที่เขานั่งเก้าอี้เข้าเดือนที่ 6 แล้วในฐานะครูใหญ่

    “ปัจจุบันนี้ชีวิตคนใช้โลกออนไลน์ทำธุรกรรมติดต่อสื่อสาร กลายเป็นเทรนด์ของโลก ปัจจุบันคนไทยก็ไปตามในทิศทางนั้น เขาบอกว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตติดอันดับต้นๆของโลก พอคนเริ่มไปทำธุรกรรมในโลกออนไลน์ ทำกิจกรรมต่างๆ

    สิ่งที่ตามมา คือการกระทำความผิด เช่น การไปหมิ่นประมาทกันในสื่อโซเชียล การดูหมิ่น หมิ่นประมาท การฉ้อโกงในโลกออนไลน์ ขายสินค้าไม่ตรงกับของจริง โรแมนซ์สแกม”

    พล.ต.ท.ดร.ธัชชัยเริ่ม  

    ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันโลก
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีหน้าที่ผลิตนายร้อยตำรวจชั้นสัญญาบัตร  ก็คิดว่าคงจะต้องปรับปรุงเรื่องหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและในอนาคต ต้องปรับให้ตำรวจมีการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในโลกยุคดิจิทัลให้ได้

    ควบคู่กับรีเสิรช์อะคาเดมี่
    นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำในปีนี้  รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆเช่น กำลังจะปรับให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจมาในทิศทางของ รีเสิร์ชอะคาเดมี่ เป็นโรงเรียนที่เน้นการวิจัยเชิงประยุกต์ แก้ไขปัญหาเรื่องงานตำรวจ พัฒนาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับตำรวจ อันนี้คือสิ่งที่จะต้องปรับควบคู่กันไปกับเรื่องของหลักสูตร

    ผบ.ปั๊ดให้ตั้งเป็นศูนย์อินโนเวเตอร์
    ตอนนี้กำลังตั้ง ศูนย์อินโนเวเตอร์ อินไซเบอร์ซิเคียวริตี้การด์ และดิจิทัลฯ เป็นนโยบายท่าน ผบ.ตร. ที่จะให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นศูนย์ฯที่ใช้พัฒนาคนเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัล เรื่องของการสร้างงานวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ จะใช้โรงเรียนเป็นแซนด์บ็อกซ์ในเรื่องของการทดลองวิจัย  คือทิศทางที่จะทำในปีนี้ ที่จะเปลี่ยนแปลง  
               
    เรียนจบทำไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้ 
    ก่อนนี้หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยทางด้านไอทียังเรียนน้อยเกินไป จะปรับให้เรียนทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เรื่องไอที เรื่องดิจิทัล เรื่องของสมาร์ทคอนแท็ค เรื่องของคริปโตเคอร์เรนซี่   ต้องเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด

     การผลิตนักเรียนนายร้อยตำรวจ อาจจะไม่เฉพาะงานสอบสวนอย่างเดียว  ต่อไปอาจจะไปทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ด้วย ผลิตออกไปแล้ว ไปทำงานไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยตรงทันที

     

    เริ่มต้นหลักสูตรรุ่น80
    เบื้องต้นหลักสูตรตัวนี้ เริ่มต้นที่รุ่น 80 รุ่น 79 ที่จะขึ้นเหล่า เม.ย.นี้ ไม่ทัน แต่ถามว่า รุ่น 4 ปีนี้ทำยังไง คือ 4 ปีที่อยู่ตอนนี้ จะปรับการเรียนการสอน เพราะหลักสูตรปรับไม่ได้  ต้องผ่านสภาการศึกษา ก็จะปรับการเรียนการสอน ให้มีการปฏิบัติมากขึ้น  
       
    เชิญตำรวจไซเบอร์สอนตรง
    เราจะใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจมากขึ้น  เช่น  จะพูดเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ หรือการสืบสวนทางด้านการรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านดิจิทัลฯ จะต้องใช้คนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง เช่น จากกองบัญชาการไซเบอร์  ให้เข้ามาพูดให้นักเรียนฟัง บทบาทของโรงเรียนก็จะเปลี่ยนไป  

    เห็นภาพและนำไปปฏิบัติจริง           
    เราไม่สามารถที่จะเอาอาจารย์ประจำมาพูด  ผมคิดว่าต้องเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก เพราะฉะนั้นโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะเห็นภาพในเรื่องของการปฏิบัติ แล้วนำไปปฏิบัติจริง อันนั้นคือสิ่งที่เราจะทำ รวมทั้งการตั้งศูนย์ไซเบอร์ กับดิจิทัลฯ

    มันจะเป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถจะเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับโลกในยุคดิจิทัลได้  สามารถใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้ นั่นคือสิ่งที่เราหวังไว้ 4 ปี มันจะเป็นวิชาที่อยู่ในชั้นปี

    หลักสูตรใหม่เน้นปฏิบัติให้มาก
    ต่อไป ในเรื่องหลักสูตรใหม่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจต้องเน้นเรื่องการปฏิบัติมาก เพราะถ้าเราจะก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เด็กจะต้องฝึกปฏิบัติจริงอย่างสม่ำเสมอ  ให้ครูอาจารย์ เป็นโค้ชชิ่งให้คำปรึกษา แต่เราต้องเดินในทิศทางที่ให้นักเรียนลงไปปฏิบัติจริง เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

    ทฤษฏีเรียนแค่ปี1
    แผนของผมคือ การเรียนทฤษฎีอาจจะปรับให้เร็วขึ้นในปีที่1 แต่พอปี 2-4 เขาจะต้องมีแนวทางที่จะต้องได้ไปปฏิบัติจริงๆในพื้นที่ ในโรงพัก ในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ไม่ต้องไปกำหนดเป็นเทอมการศึกษาแล้วไปปฏิบัติ

    คือเขาสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา อย่างเช่นเสาร์ อาทิตย์ ว่าง อาจจะไปทำงานที่โรงพัก ไปเรียนรู้การทำงานที่โรงพัก   ไปช่วยงานที่โรงพัก ไม่จำเป็นต้องปี 4 มันต้องเริ่มต้นให้เร็ว

    ปี2-4ลุยงานจริงเป็นคะแนนพิเศษ
    ปี 1 พอเรารู้พื้นฐาน เข้าใจงานต่างๆ พอปี 2-4 ต้องสามารถที่จะออกไปปฏิบัติ ไปช่วยงานโรงพักได้  ช่วยงานไซเบอร์ได้ หรืองานที่เขาสนใจแล้วเก็บเป็นคะแนนของเขาไปเรื่อยๆ คล้ายๆคะแนนเพิ่มพิเศษ เป็นลักษณะการบริหารเชิงโพสซิทีฟ   คือคุณขยันมาก คุณก็ได้คะแนน เก็บคะแนนไปเรื่อยๆ

    เริ่มตั้งแต่ปีนี้กับนรต.4ชั้นปี
    ไปฝึกงานโรงพัก ให้ไปด้วยตนเอง ไม่ใช่โรงเรียนส่งไป อยู่ที่เขาไปที่โรงพักปั๊บ  ผกก.โรงพักจะเซ็นรับรองว่านี่มาทำงานที่โรงพัก ช่วงเวลานี้ถึงเวลานี้จริง   ใช้ตัวนั้นเป็นคะแนนเก็บ คิดว่าจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีนี้ รุ่น 79  คือทั้ง 4 ปี จะใช้อันนี้เลย แล้วจะมาบวกเพิ่มเป็นคะแนนพิเศษให้  
               

    ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
    ฝึกงานที่โรงพักก็ยังอยู่ แต่อันนี้เปิดโอกาสให้ได้ไปเรียนรู้ก่อน  อยากเรียนรู้เรื่องอะไรให้ไปเลย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ต้องให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง แล้วให้เขาไปเรียนในสิ่งที่เขาสนใจ จะได้เรียนรู้ตัวเองได้เร็ว แล้วเขาจะได้ฝึก ได้ปฏิบัติได้จริง เพราะงานตำรวจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โนวเลจมันเปลี่ยนเร็วมากของตำรวจ  วันนี้ถูก วันพรุ่งนี้อาจจะผิดก็ได้

    สัมผัสโลกความเป็นจริงให้เร็ว
    วิธีการการสืบสวนในโลกยุคดิจิทัล วิธีการหนึ่งอาจจะใช้ได้กับวันนี้ แต่วันพรุ่งนี้อาจจะล้าสมัย  เราก็จะตอบยาก  ฉะนั้นสิ่งเดียวที่จะตอบได้ คือต้องให้เด็กออกไปทำงาน ไปสัมผัสให้มากขึ้น อยู่ในโลกความเป็นจริงให้เร็ว นั่นคือสิ่งที่เราวางโครงปีนี้ทำเลย

    แนะเด็กเข้าใจสังคม 
    ส่วนเรื่องการประพฤติปฏิบัติในแง่ของตำรวจ ที่ออกมาแล้วโดนร้องเรียน หรือทำไม่ถูกต้อง เรื่องนี้เป็นรากฐานสำคัญของงานตำรวจ เพราะตำรวจเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำคดี คนที่จะถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่จะพยายามไม่ให้ถูกดำเนินคดี ก็อาจจะเสนอ อามิสสินจ้าง มันก็จะต้องแก้ปัญหายังไง ความเห็นผม เด็กๆต้องเข้าใจมิติสังคมก่อน  มันจะมีคนที่ได้และก็เสียอยู่ตลอดเวลา

    เป็นเพลย์เยอร์ช่วยเหลือมูลนิธิ
    สมมติว่า ไปช่วยคนที่เป็นผู้ต้องหา ไปช่วยคนที่ไม่ถูกต้อง ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับสังคม อย่างนี้ต้องให้เข้าใจ  วิชาจริยธรรมพวกนี้ นักเรียนนายร้อยฯ เรียนเยอะอยู่แล้ว  แต่สิ่งที่จะผลักดันก็คือ อยากจะให้เขาทำด้วยจิตใจของเขาเอง เป็นหมือนเพลย์เยอร์  ต่อไปจะให้นักเรียนออกไปช่วยเหลือองค์กร มูลนิธิต่างๆ

    ให้เป็นส่วนหน่ึงของตรงนั้น       
    อย่างเช่น มูลนิธิคนตาบอด เด็กคนไหนอยากไปช่วยงานมูลนิธินี้ วันหยุดว่างๆเข้าไปช่วยมูลนิธิคนตาบอด เข้าไปช่วยเป็นส่วนหนึ่งของตรงนั้น เหมือนจิตอาสา หรืออย่างเช่น ช่วยเด็กเร่ร่อนใน กทม.  เข้าไปอยู่ในองค์กร ที่เขาช่วยทางด้านนี้ เอ็นจีโอต่างๆ เพื่อให้เขาได้เข้าไปช่วยคน นี่คือวิธีการที่เราทำ  
               
    สร้างความรู้สึกขึ้นมาเอง
    ตรงนอยากจะให้โฟกัส ให้เด็กเขาเลือกตัดสินใจเอง ให้มันเกิดจากการสร้างสิ่งที่เขาอยากทำขึ้นมาเอง เป็นการสร้างความรับผิดชอบ  สร้างความรู้สึกขึ้นมาเอง ไม่ใช่เราไปบอกให้ทำ ว่าคุณไปอยู่มูลนิธินั้นนะ ไปทำอันนี้นะ  จะไม่ทำแบบนั้น จะให้เขาเลือกเอง ถ้าเขาทำมาก เขาจะมีคะแนนกลับมา

    ให้เด็กรู้ทำดีแล้วมีความสุข
    คำถามว่า การทำแบบนี้จะเป็นการสร้างผลประโยชน์แลกเปลี่ยนไหม ก็ถ้าไม่มีเขาจะทำไหม ตรงนี้เป็นพื้นฐานของคน คนเราจะทำอะไรก็ต่อเมื่อมีรีวอร์ด  ทำให้เขารู้สึกก่อนว่ามันมีรีวอร์ด ถ้าไม่มีรีวอร์ด ไม่ทำ

    เหมือนกัน ถ้าคนทำผิดแล้วถูกลงโทษก็จะไม่มีคนทำผิด  คิดว่า อย่างนี้มันก็เป็นรีวอร์ดอันหนึ่งที่จะทำให้คนมีพฤติกรรมอย่างนั้น แต่อยากให้เด็กสร้างความรู้สึกของเขาว่า เขาทำแล้วมีรีวอร์ด  
               

    ควบคู่ไปกับการให้คะแนน
    รีวอร์ด  ไม่ใช่เรื่องคะแนนอย่างเดียว  มันคือเรื่องของการที่เขาไปช่วยแล้วเขารู้สึกดีขึ้น ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของคน ผมว่าตรงนี้สำคัญ เป็นรีวอร์ดที่ทำให้เขารู้สึกว่าทำแล้วคนอื่นมีความสุข เป็นรีวอร์ดที่เขาจะได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ

    แต่โรงเรียนต้องมีรีวอร์ดของเราให้กับเขาด้วย ไม่มีแล้วมันคอนทินิวยาก  ไม่มีตัวช่วยให้เขาเห็นว่า ทำไมโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญ  เขาเห็นความสำคัญ แต่ทำไมโรงเรียนไม่เห็นความสำคัญ  ตรงนี้ต้องไปด้วยกัน คือสิ่งที่เราจะวาง

    ปลูกฝังให้อยู่ในใจ
    ผมจะบริหารโรงเรียนในเชิงการคิดเชิงบวก คือต้องการสร้าง ปลูกฝังคน ให้อยู่ในพื้นฐานความคิดอยู่ในจิตใจเลย ต้องจากตรงนั้น ไม่ใช่ไปบอกเขาให้เขาทำ แต่ไม่ได้ปฏิบัติเลย อย่างนี้ไม่ได้  ฉะนั้นมันต้องกลับมาสู่การปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่การมาสอนในห้องเรียนอีกต่อไป  ต้องออกไปปฏิบัติ

    โอเค.คุณรู้ จริยธรรมตำรวจ ความอดทนอดกลั้น   แต่สิ่งที่ต้องทำ คือคุณต้องออกไปปฏิบัติ ไปช่วยเหลือคน ไปเห็นความยากไร้ของคน ไปเห็นคนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ เขาลำบากยังไง นี่เป็นสิ่งที่ผมต้องการเห็น รุ่นใหม่ 79 ที่จะเข้ามาเดือนหน้า ก็จะไปในทิศทางนี้  
               

    ปีหน้ารับ10ชาติอาเซียนเรียน
    ส่วนเรื่องโครงการนักเรียนต่างชาติ  เราก็ต้องการให้นักเรียนทั้ง 10 ประเทศอาเซียน มาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กลับไปเป็นตำรวจของประเทศเขา แต่เดิมมีแล้ว เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม 3 ประเทศ  แต่ตอนนี้ช่วงโควิดก็หยุดไป

    แต่รุ่นใหม่กำลังขออนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปีหน้ารับ 10 ชาติเลย ในอาเซียน ทำเป็นโครงการใหญ่  ไม่รู้ว่าเขาจะตอบรับกี่ประเทศ ต้องไปคุย

    ยกระดับรร.นรต.
    เป้าหมายคือ ต้องการยกระดับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นสถาบันหลักด้านวิชาชีพตำรวจในอาเซียน  เรามีความพร้อม ส่วนหนึ่งเพราะเรื่องออนไลน์ เรื่องของการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล ตอนนี้มันไม่มีพรมแดน การกระทำผิด มันอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลกนี้ มันเป็นส่วนสำคัญที่อยากจะให้สมาชิกในอาเซียนได้มาเรียน โดยเราเป็นโรงเรียนหลัก เป็นชั้นนำในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว

    อยากเห็นแลกเปลี่ยนทั่วโลก
    ส่วนเกาหลี รัสเซีย  ส่วนหนึ่งเรากับเขาจะแลกเปลี่ยนกัน เราอาจจะไปเรียนปริญญาโท หรือปริญญาเอก ที่รัสเซีย ที่เกาหลี  ตอนนี้อยู่ระหว่างพูดคุยกำลังจะทำ MOU อยากเห็นนักเรียนไทยไปเรียนที่เกาหลี ไปเรียนที่ประเทศต่างๆ จีน รัสเซีย อเมริกา ยุโรป แล้วเขาเองก็ส่งคนมาเรียนกับเราได้ ระดับปริญญาโทเราก็มีให้เรียน จะเรียนปริญญาตรีก็ได้ ถ้าเขาสนใจ ก็โอเพ่นเรื่องนี้  

    สอนรับมือเด็กวัยเดียวที่คิดต่าง           
    อีกอันหนึ่ง เรื่องการปลูกฝังนักเรียน กับเด็กข้างนอกในวัยเดียวกัน ค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะเรื่องสถาบัน ความจงรักภักดี ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องพื้นฐานของโรงเรียนเราอยู่แล้ว อันนี้เราให้ความสำคัญ ให้เขารับมือกับคนที่คิดต่างในวัยเดียวกันกับเขา หรือในการจะไปพูดคุยอย่างไร  
               
    รับฟังก่อนอย่าเพิ่งตัดสิน
    ผมคิดว่า หลักการคือ เราต้องยอมรับความแตกต่างให้ได้ก่อน  อย่าเพิ่งตัดสินว่าเขาผิดหรือถูก เรามีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเราต้องรับฟัง ในส่วนที่อธิบายได้ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ อันไหนที่ต้องทำความเข้าใจในหลายๆ มิติ ก็ต้องทำ

    แต่ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งก็คือ เราต้องเปิดโอเพ่น คือรับฟังก่อน  ต้องดูหลายอย่าง ทำผิดกฎหมายไหม ถูกต้องไหม  ต้องดูมิติหลายๆอย่าง เพราะมันเป็นมิติใหม่ของสังคม ตำรวจเอง ต้องทำความเข้าใจพอสมควร บางอย่างก็ตอบยากว่าผิดกฎหมายไหม  

    ปรับบทบาทสอดคล้องปัจจุบัน           
    ผมว่า โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นสถาบันหลักของประเทศ ในเรื่องการผลิตข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร บทบาทของเราต้องปรับให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน และในอนาคต นักเรียนนายร้อยตำรวจ ออกไป ต้องเปลี่ยนแปลงตรงนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น ให้ทันหรือแม้กระทั่งการก้าวนำด้วย ต้องมาที่ตัวรีเสิร์ชให้มากขึ้น เพราะว่าในส่วนที่เราขาดนั้น เพื่อทำความเข้าใจในมิติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนะ

    ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องคริปโตฯ  ต้องทำความเข้าใจในมิติตรงนั้นให้ได้ ออกไปต้องรู้เรื่องของสมาร์ทคอนแท็ค เรื่องของดีไฟน์ เรื่องของบล็อกเชน เราต้องอยู่เป็นเพลย์เยอร์ตรงนั้น  ต้องเข้าใจตรงนั้นเพราะนั่นคืออนาคต  

    เท่าทันและก้าวนำคดีโซเชียล        
    เหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้วที่มีอินเตอร์เน็ต วันนั้นตอบไม่ได้ว่า อินเตอร์เน็ตจะมาทิศทางไหนชัดเจน ตอนนี้เราก็จะตอบไม่ได้ ก็ต้องมาดูว่า จะต้องให้เด็กไปให้ทันพวกนี้ ต้องสามารถเข้าไปอยู่ในโลกของดิจิทัลได้ ให้เขาเรียนรู้ และก้าวนำ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีในอนาคต

    เรียนรู้และเข้าใจมิติสังคม
    ในปัจจุบัน คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องเสรีภาพ ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพการแสดงออก  นักเรียนนายร้อย ต้องทำความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงมิติทางสังคม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ต้องก้าวทันความเปลี่ยนแปลงพวกนี้

     เราเป็นผู้รักษาเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ต้องเรียนรู้ว่าสิ่งใหม่ๆ พฤติกรรมอะไร ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เราก็ไม่รู้ว่ามันผิดกฎหมายตัวไหน หรือมันผิดหรือไม่  เราก็ต้องทำความเข้าใจพวกนี้

    รีเสิร์ชคือการทำความเข้าใจ
    ผมถึงบอก รีเสิร์ช ต้องไปในงานของตำรวจ วิชาชีพตำรวจทุกเรื่อง ฉ้อโกงออนไลน์ มิติทางสังคม การประท้วง ทำความเข้าใจสิ่งพวกนี้ การรีเสิร์ชก็คือการเข้าไปทำความเข้าใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วจะเปลี่ยนแปลง กำหนดนโยบายยังไง หรือวิธีการปฏิบัติ ทำยังไง ต้องใช้รีเสิร์ชนำทั้งหมด 

    ถ้าเราไม่มีข้อมูล การตัดสินใจมันจะอยู่ที่ประสบการณ์อย่างเดียว มันไม่ได้โนวเลจ หรือองค์ความรู้ต่างๆ อาจจะยังไม่กระชับพอที่จะมาใช้ตัดสินใจ

    บางทีในระยะยาว ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้ อย่างที่บอกว่า เด็กๆ ที่เขามีความเห็นต่าง พวกนี้เราต้องรับฟัง ต้องเปิดโอกาสโอเพ่นวายต้องเป็นเหมือนพ่อแม่เขา ต้องรับฟังแล้วเราอธิบาย  
            
    ตำรวจต้องรับฟังให้มาก
    ตำรวจเราให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้  สังเกตไหม  ตำรวจจะค่อนข้างไม่ค่อยปิดกั้นนะ ลักษณะบุคลิกตำรวจจะรับฟัง  เข้าใจความคิดเขา เราสามารถจะเอามาอะแดปงานเราได้ แต่ถ้าเราไม่ฟังเขาเลย งานเราจะไปไม่ถูก ต้องรับฟังเขาให้มากที่สุด แล้วเอามากำหนดนโยบายให้ถูกต้อง   ทำยังไง ให้สังคมเดินในทิศทางที่ถูกต้อง จะใช้วิธีการเดิมเมื่อ 20 ปีที่แล้วไม่ได้ ต้องเปลี่ยนมาให้ถูกต้อง  เรียนรู้ให้ทันและก้าวนำให้ได้

    ทุกวันนี้ มันเร็วมาก  กลายเป็นว่า ใครๆ ก็มาฉ้อโกงกันในออนไลน์ หลอกขายของกัน  เราต้องยอมรับอย่างธนาคารอย่างนี้ อยู่ดีๆ ปิดสาขา ตูม มันเร็วมาก  คิดว่าตรงนี้ ตำรวจจะต้องปรับให้ได้  

    ทั้งหมดนี้คือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในรั้วสามพราน ยุค “ครูหวาน ครูใหญ่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ” สถาบันผลิตนายตำรวจสัญญาบัตรให้ออกมาปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์รับใช้ประชาชน ในยุคเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี่ที่รวดเร็ว

    เพื่อให้เท่าทันและก้าวนำอย่างมีคุณธรรม สมเป็น “สุภาพบุรุษสามพราน”อย่างแท้จริง

    กากีกลาย19/3/65

     

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments