Wednesday, December 18, 2024
More
    Homeข่าวทั่วไป“รมว.ยุติธรรม“ร่วมกับกทม. แก้ปัญหาเด็ก-เยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดในพื้นที่ลาดกระบัง

    “รมว.ยุติธรรม“ร่วมกับกทม. แก้ปัญหาเด็ก-เยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดในพื้นที่ลาดกระบัง

    พันตำรวจเอก ทวี สอดส่องรมว.ยุติธรรม ลงพื้นที่ลาดกระบัง ตรวจเยี่ยมติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บูรณาการกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับกรุงเทพมหานคร แก้ปัญหาเด็ก-เยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด

    วันที่ 13 ธันวาคม 2567  ชุมชนโรงเรียนวัดปากบึง เคหะร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ของกรุงเทพมหานคร

    พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะ เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสารเสพติด และการให้ความช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ออกจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความช่วยเหลือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งให้ทุนประกอบอาชีพแก่ครอบครัวที่ประสบปัญหาด้านรายได้

    โรงเรียนวัดปากบึง สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นต้นแบบการดำเนินงาน ZERO DROP OUT ด้วย  มี ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นำโดย รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, แพทย์หญิงภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย, นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด กรุงเทพมหานคร หรือ ปปส.กทม. , นายธราพงษ์ เพชรคง ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง และ นายแสวง จันทพันธ์ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง ฯลฯ ร่วมให้การต้อนรับ

    พันตำรวจเอก ทวี กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ผลิตยาเสพติดแต่เป็นประเทศที่เป็นทางผ่านลำเลียงยาเสพติด สำหรับยาเสพติดนั้นเราได้ตรวจดูทั้งส่วนผสม จนถึงการบรรจุหีบห่อตอนนี้ยังยืนยันว่าไม่พบโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดผลิตจากต่างประเทศ ที่เราได้รับผลกระทบส่วนใหญ่นั้นมาจากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

    ดังนั้นยาเสพติดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้าชายแดนผ่านไปประเทศที่สาม ซึ่งในที่นี้รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าด้วย ล่าสุดเรามีปริมาณการจับกุมยาเสพติดเยอะขึ้น โดยในปี 2567 มีการจับกุมยาเสพติดได้รวมกว่าหนึ่งพันล้านเม็ด

    ที่น่าห่วงใย 2 เรื่อง แบ่งเป็น เรื่องความต้องการขาย หรือซัพพลาย ที่พวกเราช่วยกันสกัดกั้น และความต้องการซื้อ หรือดีมานด์ จะฝากให้พวกเราช่วยกันทำอย่างไรให้คนปฏิเสธยาเสพติด

    “การแก้ปัญหายาเสพติดในประเทศ ส่วนแรก คือพื้นที่เขตลาดกระบังเป็นพื้นที่พักยาเสพติด ซึ่งรัฐบาลเรากำลังมีนโยบายที่สำคัญ คือ เราต้องปราบปรามนักค้าและแหล่งพักยา ยาเสพติดเข้ามา 2 ภาค

    แบ่งเป็นเข้าทางภาคเหนือ ประมาณร้อยละ 70 และภาคอีสาน ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งกรุงเทพมหานคร จะเป็นแหล่งพักยาแล้วยังเป็นแหล่งเสพยาเสพติดด้วย”

    “เราต้องช่วยกันป้องกันยาเสพติด ยาเสพติดนั้นไม่กลัวทหาร ยาเสพติดนั้นไม่กลัวตำรวจ ยาเสพติดนั้นไม่กลัวกฏหมาย แต่ยาเสพติดกลัวแม่ ยาเสพติดกลัวความรักที่แม่รักลูก การแก้ปัญหานี้อยู่ที่ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก เราต้องทำให้ชัยชนะอยู่ที่ครอบครัวและอยู่ที่ชุมชนให้ได้”

    “วันนี้คนที่ก้าวพลาดไปติดยาเสพติด เราจะใช้การฟื้นฟูสภาพทางสังคม ต้องไปบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพทางสังคม เราต้องทำให้เขามีการศึกษา เราต้องทำให้เขามีอาชีพ ต้องทำให้เขามีที่อยู่อาศัย ฯลฯ ผมหวังผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร จะร่วมกันทำให้ได้” พันตำรวจเอก ทวี กล่าว

    ทางด้านรศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า เรื่องยาเสพติดโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง กทม. ทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สำหรับในสถานศึกษาในช่วงหลังมีข้อกังวลในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมที่จะนำไปสู่สิ่งเสพติดอื่น ๆ ต่อในอนาคตได้

    ตัวเลขในการคัดกรองในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของกรุงเทพมหานคร โดยเฉลี่ยมีกลุ่มเสี่ยงประมาณ 4% และเราไม่ต้องการให้นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษาตามนโยบาย ZERO DROPOUT ของรัฐบาล

    ดังนั้นการดำเนินงานทั้งหมดในโรงเรียนจึงมุ่งหวังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและนโยบายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำให้งานด้านนี้เป็นไปด้วยดีมากขึ้น

    ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร มีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในโรงเรียน ชุมชนและสถานประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในการป้องกันในเด็กและเยาวชน ซึ่งให้ความคุ้มครองเด็กในการสอดส่องดูแล แก้ไขพฤติกรรม และการช่วยเหลือด้านการศึกษา เพื่อป้องกันนักเรียนออกจากระบบการศึกษา

    สำนักอนามัยดำเนินการร่วมกับโรงเรียนวัดปากบึง สำนักงานเขตลาดกระบัง ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้าลาดกระบัง ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ 1600

    ติดตามพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความเสี่ยง และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติดและสารเสพติด รวมทั้งกลุ่มเปราะบางในด้านอื่น ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินภูมิคุ้มกันยาและสารเสพติด ตรวจวัดระดับนิโคตินและตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดโดยความยินยอมของผู้ปกครอง และให้ความดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อเข้ารับการบำบัด

    ติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพ รวมทั้งแก้ไขปัญหาพื้นที่จุดเสี่ยง แหล่งมั่วสุมบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิต

    มีรายงานเพิ่มเติมว่า รมว.ยุติธรรม ได้มอบนโยบายในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจังและมีความต่อเนื่อง เกิดผลการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน

    หลังจากนั้นเวลาประมาณ 14.30 น.รมว.ยุติธรรม และผู้บริหารกรุงเทพมหานครลงพื้นที่ ชุมชนเคหะร่มเกล้าโซน 1 เขตลาดกระบัง เพื่อเยี่ยมบ้านนักเรียนที่อยู่ในการดูแลช่วยเหลือ ตรวจเยี่ยมชุมชนเคหะร่มเกล้าโซน 1 รับฟังปัญหาที่ต้องการให้ช่วยเหลือ

    โดยตัวแทนชุมชน แจ้งปัญหาสำคัญคือ 1.ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าที่แพร่ระบาดไปในนักเรียน โรงเรียน เยาวชนที่ทวีความรุนแรง 2.ปัญหากระท่อมที่นำไปต้มน้ำกระท่อมเกิดเสพติดรุนแรง 3.ปัญหากัญชาที่ยังไม่มีมาตรการควบคุมพบผู้ต้องบำบัดเสพติดกันชาจำนวนมาก 4.ต้องการให้ดูแลกลุ่มเปาะบาง คนไร้บ้าน เด็กกำพร้าที่ยังมีอยู่ในชุมชน 5.ปัญหายุงลายที่เกิดจากน้ำขัง

    รมว.ยุติธรรมได้ขอให้ท่านรองผู้ว่า กทม อำนวยการแก้ปัญหา และมอบสำนักงาน ปปส ผอ.เขตลาดกระบัง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 พร้อมตำรวจในพื้นที่ หน่วยการกระทรวงยุติธรรม ผู้นำชุมชน และที่ปรึกษาชุมชนช่วยการกำหนดยุทธศาสตร์ การป้องกันและแนวทางการแก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน ร่วมถึงปัญหากระท่อมและกัญชาที่ให้สำนักงาน ปปส ผลักดันการแก้กฏหมายและมาตรากาคุ้มเข้มโดยด่วน

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments