Friday, November 22, 2024
More
    Homeจู้หูกกรู้กฎความยุติธรรมทางการเงิน

    กฎความยุติธรรมทางการเงิน

     

    ผ่านมาจะครบเดือนที่ตลาดซื้อขายนักเตะเปิด แต่หลายๆทีมไม่สามารถซื้อนักเตะได้เพราะอะไร!!!

    วันนี้จู้กหู้กกู้ กราบสวัสดีและขอพาทุกคนรู้จักกับ Financial Fair Play หรือFFP(กฎความยุติธรรมทางการเงิน)

    ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สโมสรที่เข้าแข่งขันในรายการของยูฟ่าได้ปฏิบัติตาม ให้เกิดความยุติธรรมต่อคู่แข่ง โดยเฉพาะในรายการแชมป์เปี้ยนส์ลีก และยูโร ป้า ลีก

    กฎ FFP เริ่มใช้เมื่อเดือนกันยายน 2009 ยูฟ่าได้ประกาศว่าเขามีเป้าหมาย ดังนี้

    – เพื่อให้การใช้เงินของสโมสรฟุตบอลมีระเบียบวินัยและสมเหตุสมผลมากขึ้น

    – เพื่อลดความกดดันในเรื่องของเงินเดือนและค่าใช้จ่ายในการย้ายทีม

    – กำจัดผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ

    – เพื่อกระตุ้นให้สโมสรได้แข่งขันด้วยรายได้ของตัวเอง

    – เพื่อกระตุ้นการลงทุนระยะยาวในระดับทีมเยาวชนและโครงสร้างอื่นๆ

    – เพื่อส่งเสริมศักยภาพในระยะยาวของสโมสรฟุตบอลในยุโรป

    – เพื่อให้มั่นใจว่าสโมสรจะชำระหนี้ได้ตามเวลาที่กำหนด

    กฎ FFP ถือว่าเป็นภาระผูกพันสำหรับสโมสรในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลของสโมสร

    รวมถึงรายได้ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่อย่างค่าเข้าสนาม, ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด, สปอนเซอร์, ค่าโฆษณาต่างๆ และกำไรที่ได้จากการซื้อขายนักเตะ

    นอกจากนี้ยังรวมค่าใช้จ่ายในด้านต้นทุนของนักเตะที่ย้ายเข้ามา ทั้งเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆด้วย

    แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมพัฒนานักเตะรุ่นเยาวชน กิจกรรมพัฒนาชุมชน และพัฒนาโครงสร้างอื่นๆ

    เช่น การปรับปรุงสนามแข่งขันและสนามซ้อม สโมสรสามารถใช้จ่ายในเรื่องได้แบบไม่จำกัด และไม่มีความเสี่ยงต่อการผิดกฎ FFP

    การกำหนดระยะเวลาของ FFP ที่จะมีผลต่อสโมสร โดยเริ่มต้นในช่วงฤดูร้อนปี 2011 สโมสรต้องทำตามที่กฎข้อบังคับกำหนดในช่วงที่บังคับใช้กฎนี้

    ฤดูกาลแรกที่สโมสรฟุตบอลจะมีโอกาสไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการยุโรป จากกฎ FFP คือ ในฤดูกาล 2013/14

    ในช่วงฤดูกาล 2013/14 ยูฟ่าจะประเมินบัญชีของสโมสรในช่วงสองฤดูกาลก่อนหน้า

    สโมสรที่ผ่านเข้าแข่งขันได้นั้นต้องมีจำนวนการขาดทุนของฤดูกาล 2011/12 และ 2012/13 รวมกันไม่เกิน 45 ล้านยูโร

    ฤดูกาล 2014/15 จำนวนการขาดทุน 45 ล้านยูโร ยังคงเป็นจำนวนที่บังคับไม่ให้สโมสรมียอดขาดทุนเกิน

    แต่ครั้งนี้ใช้ระยะเวลาการคำนวณ 3 ฤดูกาล คือ 2011/12, 2012/13 และ 2013/14

    สำหรับฤดูกาล 2015/16 จำนวนที่สามารถขาดทุนได้จะลดลงเหลือเพียง 30 ล้านยูโรเท่านั้น

    ช่วงเวลาที่นำมาคำนวณ คือสามฤดูกาลก่อนหน้าเช่นเคย คือ 2012/13, 2013/14 และ 2014/15

    ในการขาดทุนเป็นจำนวนเงิน 30 ล้านยูโรนี้ได้ถูกใช้จนถึงปี 2018 หลังจากนั้นจำนวนที่ขาดทุนได้ยังไม่ได้ถูกกำหนดในตอนนี้ แต่จะลดลงน้อยกว่า 30 ล้านยูโรแน่นอน

    นั่นอาจจะเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรจะต้องจัดการกับหนี้ หรือจำนวนเงินขาดทุนที่ยังเหลือ เพื่อให้สโมสรมีสภาวะที่ตรงตามเงื่อนไขของ FFP

    แต่ถ้าหากสโมสรมีผลกำไรในช่วงที่นำมาคำนวณ ก็จะช่วยในการสรุปผลครั้งล่าสุดด้วย กำไรที่ทำได้ในอดีตจะช่วยให้ทีมอยู่ในสถานะที่ตรงตามกฎ FFP มากยิ่งขึ้น

    ยังคงมีข้อมูลอื่นๆ สำหรับกำหนดขาดทุน 45 หรือ 30 ล้านยูโรอยู่อีก โดยจำนวนดังกล่าวคิดจากการลงทุนในช่วงที่ตรวจสอบด้วย

    ตัวอย่างเช่น ฤดูกาล 2013/14 เจ้าของสโมสรได้ลงทุนไปแล้วสูงสุด 45 ล้านยูโรในช่วงสองฤดูกาลที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มทุนของสโมสร

    อย่างไรก็ตาม หากการลงทุนนั้นเกี่ยวข้องกับรูปแบบของการกู้ยืม การขาดทุนก็จะเหลือเพียง 5 ล้านยูโรเท่านั้น และจะมีผลต่อเนื่องด้วยหากยังคงมีรูปแบบการกู้ยืมอยู่

    ในช่วงแรกของการดำเนินการ ได้มีข้อกำหนดสำหรับสโมสรที่ไม่ได้ถูกลงโทษจากกรณีที่ประสบสภาวะขาดทุน จากการที่มีผลประกอบการดีในปีนั้นๆ

    และขาดทุนจากการเซ็นสัญญากับนักเตะก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2010 โดยข้อกำหนดนี้จะใช้ตรวจสอบเพียง 2 ช่วง คือของฤดูกาล 2013/14 และ 2014/15

    กฎนี้ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้มีจำนวนเงินไหลเข้าสโมสรมากขึ้นผิดปกติจากกรณีที่เกี่ยวข้อง

    ยกตัวอย่างเช่น ยูฟ่าจะไม่อนุญาตให้มีจำนวนเงินส่วนเกินที่มากกว่า “มูลค่าที่ยุติธรรม” สำหรับการตกลงเป็นผู้สนับสนุน เพื่อนำมาคำนวณใน FFP หากเป็นการตกลงระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสโมสร

    อีกตัวอย่างคือที่เป็นมูลค่ายุติธรรม ที่นำมาคำนวณคือ ยอดจำหน่ายบัตรเข้าใช้บริการขององค์กร และการใช้บ็อกพิเศษโดยสโมสร

    นอกจากนี้สโมสรต้องไม่มีจำนวนหนี้ที่ค้างจ่ายให้แก่สโมสรฟุตบอล, พนักงาน หรือสรรพากร

    โดยคณะกรรมการควบคุมด้านการเงินได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบและทำให้มั่นใจว่าสโมสรทุกแห่งจะมีสถานะที่ตรงตามที่ FFP กำหนด

    ยูฟ่าบอกว่าการลงโทษอื่นๆ ไม่ใช่การไม่ให้เข้าแข่งขัน แต่ต้องพิจารณาเป็นไปตามความเหมาะสมสำหรับสโมสรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดของ FFP แต่การตัดสิทธิ์ไม่ให้แข่งขันนั้นเป็นไปได้แน่นอน

    เครดิต : UEFA

    มาถึงตรงนี้แล้วเพื่อนๆอ่านจบหรือกระโดดข้ามมา

    อะไรทีเป็นกฎก็จะยาวแบบนี้ล่ะโปรดเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านล่ะกัน 55+

    ทนๆอ่านกันหน่อย ถ้าให้ดีลองหันไปทางทีวีสิ แล้วคิดตามจู้กหู้กกู้ กูทนฟังมา 5 ปียังได้ แค่นี้สบายมากกก

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments