Tuesday, December 10, 2024
More
    Homeบทความทั่วไปมนุษย์รู้จักการโกหกตั้งแต่ยังพูดไม่เป็นเลยหรือนี่

    มนุษย์รู้จักการโกหกตั้งแต่ยังพูดไม่เป็นเลยหรือนี่

    การโกหก เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ

    บีบีซีรายการ CrowdScience นำพฤติกรรมของมนุษย์ด้านหนึ่งที่เกิดมาคู่กับโลกมนุษย์มานำเสนออย่างน่าสนใจ

    บางคนว่าสังคมจะดีน่าอยู่ยิ่งขึ้น ถ้ามนุษย์เราล้วนแต่พูดความจริงไม่โกหกพกลม

    ไม่จริงเลย!

    จากการค้นคว้าวิจัยถึงเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับการโกหก ระบุว่าพฤติกรรมการโกหกของมนุษย์เริ่มเมื่อใด บางคนอายุเพียง 2 ขวบก็เริ่มจะโกหกเป็นแล้ว

    ศาสตราจารย์ คัง ลี จากคณะจิตวิทยาประยุกต์และการพัฒนามนุษย์ ของมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การโกหกของเด็กเล็ก บอกว่าจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เผยว่า เด็ก ๆ เริ่มจะโกหกเมื่ออายุราว 2 ขวบครึ่ง

    มันไม่ใช่เด็กเล็กจะเริ่มโกหกเมื่อเริ่มหัดพูดเท่านั้น แม้ยังแทบจะไม่นำคำพูดมารวมกันเป็นประโยค เด็กเล็กก็เริ่มจะโกหกเป็นแล้ว

    แล้วมันหมายความว่าอะไร อายุ 2 ขวบครึ่ง พวกเด็กก็สามารถโกหกเป็น และสิ่งที่ต้องการคือ เด็กจะต้องเข้าใจว่าผู้คนแต่ละคนก็มีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดคือความสามารถที่จะยับยั้งปกปิดความจริง แล้วเปลี่ยนไปหาความจริงอีกด้านหนึ่ง

    ความสามารถในด้านนี้เป็นทักษะที่จำเป็นต้องมีเพื่อพัฒนาตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในสังคม

    ดังนั้นการโกหก เป็นสัญญาณที่ดีอย่างหนึ่ง ที่บอกว่า เด็กๆ ได้พัฒนามาถึงหลักที่สำคัญในพัฒนาการของมนุษย์แล้ว

    เราจึงควรจะยินดีฉลองให้กับความสำเร็จของการโกหกเป็นครั้งแรกของเด็กๆ มากกว่าการตำหนิติเตียน

    ศ.คัง ลี บอกเลยว่า แน่นอนนี่คือโมเมนต์ที่น่าภาคภูมิใจกับลูก ๆของคุณเลยทีเดียวแหละ

    “ผมเคยพาลูกไปที่ห้องแล็บทดลอง แล้วพอพบว่าเด็กโกหกเท่านั้นผมร้อง อา! ลูกผมโกหกเป็นแล้ว เขามีพัฒนาการที่น่าทึ่งจริงๆ”

    แล้วพัฒนาการของการโกหกของเด็ก 2 ขวบ มีความแตกต่างจากเด็ก 7 ขวบหรือมีทักษะพื้นฐานที่จะติดตัวไปตลอดชีวิตหรือไม่นั้น เด็กวัย 2 ขวบครึ่งมีเพียง 75% ที่จะโกหก แต่พออายุ 4 ขวบขึ้นไปจะมี 80%ที่จะโกหก

    จนเมื่ออายุ 7 ขวบ เด็กเกือบทั้งหมดจะโกหกเพื่อปกปิดการทำผิด นี่เป็นไปกันทั่วโลกเลย

    ส่วนผู้ใหญ่จะโกหกมากเท่ากับเด็ก 7 ขวบหรือเปล่า หรือจะถูกจับได้ว่าละเมิดจริยธรรมนั้น คัง ลี บอกว่า เมื่อถึงจุดสูงสุดอายุ7 ขวบย่าง 8 ขวบ  เราจะเริ่มลดการโกหกลง ช่วงอายุ 12 ขวบ จะเหลือเพียง 60% และลดลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุ 16 ปี

    ดังนั้นเบื้องต้นถ้ามองดูช่วงวัยรุ่น จะเริ่มมีความซื่อสัตย์พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่เราเคยคิดกัน แต่อะไรที่เปลี่ยนไประหว่างช่วงวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่

    ทำไมมนุษย์เรากลับมา “โกหก”กันมากขึ้นอีกครั้ง

    นั่นเป็นเพราะมาถึงวิถีทางหลากหลายที่เราจะเล่าเรื่องโกหกเราเรียกว่า ใบอนุญาตทางจริยธรรม

    เรียกว่า การโกหก เป็นพัฒนาการด้านสุขภาพอย่างหนึ่ง เราหยิบยกมาสองเรื่องแล้วฝึกฝนอย่างอิสระจนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น การโกหกเริ่มจะพัวพันกับมโนธรรม เพื่อที่จะตรวจสอบ่าเราเริ่มโกหก เราก็จะบอกว่าเป็นการโกหกที่บริสุทธิ์หรือ White Lies

    ศ.คัง ลี ยกตัวอย่างการโกหกเป็นแถบสายสีรุ้งเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของการโกหก

    White Lies เราจะบอกเล่าเรื่องโกหกอย่างสุภาพ เพื่อซ่อนความรู้สึกบางอย่าง

    Grey Lies การโกหก เพื่อปกปิดความผิดของเรา

    Blue Lies คือการโกหก ที่เราจะบอกกล่าวในเรื่องที่น่าสนใจอย่างเป็นหมวดหมู่หรือรวบรวมไว้

    Purple Lies คือการโกหก อย่างถ่อมตนและเรียบง่าย

    Red Lies คือการโกหก ที่เต็มไปด้วยความเคียดแค้นพยาบาท

    เราแบ่งการโกหกเป็นแถบสีรุ้ง แต่ถึงอย่างไร โกหก ก็คือโกหก อยู่นั่นแหละ มันเป็นวิถีหลอกลวงผู้คน

    เอียน เลสลีย์ นักเขียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้เขียนเรื่อง เกิดมาโกหก: ทำไมเราไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยปราศจากการหลอกลวง

    เขากล่าวว่า

    การโกหกดำรงอยู่ในสังคมของมนุษย์ มาเนิ่นนาน มนุษย์ชอบที่จะคิด แทบทุกคนล้วนโกหกทั้งนั้น จากที่ศึกษารวบรวมแสดงให้เห็นว่าผู้คนส่วนมากมักจะโกหกสองหรือสามเรื่องในแบบบาปบริสุทธิ์หรือ White Lies ในกระแสประจำวันเราจะคุยกันเหมือนว่ามันเป็นความผิดแปลก หรือพบว่ามันน่าสนใจนะ

    ยิ่งถ้าไปเจอคนที่เพิ่งรู้จักกัน เราจะพูดโกหกถึง 3 เรื่องภายในเวลาเพียง 10 นาที

    เอียน ย้อนไปถึงยุคหิน มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนใหญ่กว่าสัตว์สองเท้าอื่นๆ มนุษย์แยกแยะได้ว่าใครคือมิตร ใครคือศัตรูเกิดอะไรขึ้น และอยู่ร่วมกันอย่างชิงไหวชิงพริบ รู้จักสืบสอบว่าใครหลอกลวงปลิ้นปล้อน และเมื่อคิดจะโกหกก็อย่าให้ใครรู้ระแคะระคาย

    เมื่อพวกเขาสำรวจดูพฤติกรรมของพวกลิง ก็เห็นการใช้อุบายเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ พวกลิงรุ่นเยาว์จะถูกจับได้ว่าทำบางสิ่งบางอย่างที่พวกมันไม่เคยทำ มองหาอาหารที่พวกมันไม่มี แล้วกระโจนขึ้นไปตามหินผาสูงแล้วแสร้งกู่ร้องเสียงดังบ่งบอกว่าเห็นเหล่าศัตรูกำลังมุ่งหน้ามาทางพวกมัน จนพวกลิงโตกว่าวิ่งหนีตามขึ้นไป พอถึงจุดนั้นก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องจริงสักน้อย

    ในตอนนั้นพวกลิงโตๆ ก็ลืมไปแล้วว่ามันวิ่งขึ้นผาหินของภูเขาทำไม  

    เห็นได้ว่าลิงก็ประสบความสำเร็จในการปรับตัว เห็นเหมือนว่าเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ อันหนึ่งของพฤติกรรมโกหก ฉ้อฉลเล่นไม่ซื่อ เมื่อคุณลองมองดูฝูงลิง

    ซึ่งสมองส่วนหน้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการโกหก แน่นอนเป็นสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เราจึงมักโกหกเป็นส่วนใหญ่ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในดีเอ็นเอของมนุษย์เรา ในการอยู่ร่วมสังคมอย่างชาญฉลาด ที่จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองทันทีอย่างหนึ่งอย่างน่าอัศจรรย์ที่เรากระทำอยู่ แต่ก็ไม่สามารถแยกแยะได้

    เหมือนกับนิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะ นั่นเอง ที่มันน่าสนใจตรงที่เราล้วนชอบโกหก แต่ก็ยังมีคุณธรรมกำกับสั่งสอนในวัยเด็ก ที่ผู้ใหญ่มักจะสั่งสอนเด็ก ๆ เสมอว่า “อย่าโกหกนะ”

    นี่คือบางเสี้ยวบางตอนของนักวิชาการศึกษา พฤติกรรมโกหกของมนุษย์อย่างเราๆท่านๆ

    จดจารไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเสริมทักษะ จะได้ไม่ให้ใครจับโกหกได้ง่าย ๆ

    ดอนรัญจวน26/3/2567

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments