Thursday, November 21, 2024
More
    Homeปั้นลูก(ตร.)เป็นนักหวดกติกาใหม่เสิร์ฟสะกิดเน็ตได้

    กติกาใหม่เสิร์ฟสะกิดเน็ตได้

    ปี2018 ไอทีเอฟปรับเปลี่ยนกติกาในการเล่นเล็กน้อย แต่ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับนักเทนนิสก็คือเรื่องของการเสิร์ฟครับ

    ตามกติกาการเล่นเทนนิสสามารถเสิร์ฟได้สองครั้ง หากลูกแรกไม่ลงหรือเสียก็ให้เสิร์ฟลูกที่สอง ถ้าเสิร์ฟเสียสองครั้งก็จะเสียแต้มนั้นไปเลย เดิมถ้าเสิร์ฟสะกิดเน็ตลูกไปลงภายในเส้นกรรมการผู้ชี้ขาดจะขานเล็ต ฝ่ายผู้เสิร์ฟต้องนำลูกมาเสิร์ฟใหม่ แต่ถ้าเสิร์ฟโดนเน็ตแล้วลูกออกก็จะเสีย ต้องเสิร์ฟลูกที่สอง

    กติกาใหม่ที่เพิ่มมาก็คือ ถ้าเสิร์ฟสะกิดเน็ตแล้วลงจะถือว่าเป็นลูกดี กฎใหม่นี้สมาคมเทนนิสของเราเพิ่งนำมาใช้ครั้งแรกในการจัดแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาเยาวชนทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 14 และ 16 ปี เพิ่งรูดม่านได้ตัวแทนทีมชาติไปเรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางความมึนงงของทุกฝายตั้งแต่นักกีฬา ผู้ปกครอง หรือแม้แต่กรรมการผู้ตัดสิน รวมไปถึงกองเชียร์ที่ส่วนใหญ่ถ้าไม่มีลูกเล่นเทนนิสอยู่บ้างก็จะไม่รู้เลย

    ผมเองมีโอกาสนั่งดูการแข่งขันในครั้งนี้ตอนแรกก็ยังงงๆอยู่บ้าง ทั้งๆที่รู้มาก่อนว่ามีการนำกติกานี้มาใช้ แต่พอนักกีฬาเสิร์ฟสะกิดเน็ตพลิกลงทีไร ก็เกิดอาการแปลกๆทุกที อาจเป็นเพราะเรายังไม่คุ้นกับของใหม่

    เท่าที่นั่งดูอยู่ 2-3 วัน นักกีฬาส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยชินกันสักเท่าไหร่ ส่วนกรรมการบางท่านก็มีหลงๆลืมๆอยู่บ้าง ลูกสะกิดเน็ตแล้วลงขานเล็ตก็มี เล่นเอาฮือกันทั้งสนาม

    พูดถึงกติกาใหม่มีผู้ปกครองหลายคนถกเถียงกันถึงข้อดีและข้อเสีย ผมเองก็ไม่รู้เจตนาของไอทีเอฟ แต่ก็พอจะคาดเดาได้ว่าคงอยากให้กีฬาเทนนิสมันลื่นไหลเหมือนกีฬาอื่นๆที่มีตาข่ายกั้น ที่ปรับเปลี่ยนการเสิร์ฟพลิกเน็ตมาใช้แล้ว เช่นวอลเล่ย์บอล แบดมินตัน หรือเซปักตระกร้อ ใครเสิร์ฟพลิกเน็ตลงถือเป็นลูกดี

    แต่การนำเทนนิสไปใช้เหมือนกีฬาอื่นๆผมมองว่ามันค่อนต่างกันมาก โดยเฉพาะแบดมินตัน ทั้งสปีดความเร็วลูกเคลื่อนไหวช้ากว่าเทนนิสมากครับ และผู้เล่นสามารถเข้ามารับลูกเสิร์ฟในคอร์ตได้ จริงอยู่แม้เทนนิสจะไม่ห้ามให้ผู้เล่นเข้ามารับลูกเสิร์ฟในคอร์ต แต่ด้วยความเร็วลูกระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประกอบกับน้ำหนักบอลที่มากกว่าเป็นเรื่องยากมากๆครับที่จะทำแบบนั้นได้

    โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ เคยลองเทคนิครับลูกเสิร์ฟสองในคอร์ตลักษณะนี้มาแล้ว แต่ก็ทำได้แค่บล็อกแล้วตามวอลเวย์หน้าเน็ต และทำได้ระยะหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่จะเสียมากกว่าได้ สุดท้ายก็ต้องหันมาปักหลักรับลูกเสิร์ฟท้ายคอร์ต

    ปัจจุบันรูปแบบการเล่นเทนนิสแตกต่างจากยุดก่อนมากครับ วิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาสร้างนักกีฬาให้มีความแข็งแกร่งเป็นเพาเวอร์เกมส์เล่นกันด้วยความดุดัน

    นักกีฬาที่มีรูปร่างจะไม่สูงมากนัก แต่ความแรงลูกเสิร์ฟก็เฉียด 200 กิโลเมตรครับ ส่วนพวกที่ตัวใหญ่สูงเกิน
    6 ฟุตขึ้นไปไม่ต้องพูดถึง เอาแค่ลูกวิ่งผ่านเน็ตก็แทบจะมองไม่ทันหรือรับไม่ได้แล้วครับ ย่ิงลูกไปสะกิดเน็ตก็ทำให้เสียจังหวะแน่นอนหรือสะกิดขอบตาข่ายแล้วพลิกลงหน้าเน็ตก็หมดสิทธิ์วิ่งมารับลูกได้ทัน เพราะผู้รับยืนอยู่ห่างจากท้ายคอร์ต ยกเว้นลูกสะกิดตั้งกลางคอร์ต แต่ด้วยความเร็วและแรงขอบลูกเสิร์ฟดูแล้วโอกาสน้อยมาก

    ดีที่กติกาใหม่นี้ยังไม่ได้นำมาใช้ในระดับอาชีพในช่วงแรกๆ แค่นำร่องใช้ในระดับเยาวชน เช่ือว่าอีกไม่นานไอทีเอฟคงได้ข้อสรุปว่าจะนำมาใช้ทั้งระบบหรือไม่ อาจต้องรอเวลาในการประเมินข้อดีข้อเสีย

    แต่ที่แน่ๆตอนนี้ลูกชายผมที่อยู่ช่วงรอยต่อระหว่างจูเนียร์กับการเล่นอาชีพก็เลยไม่รู้จะซ้อมแบบไหน เพราะกติกาที่ใช้แข่งขันไม่เหมือนกัน จะเอาเล่นเสิร์ฟแบบใหม่หรือแบบเดิมดี บอกตรงๆว่าสับสนครับ

    —————————
    เดอะวินเนอร์

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments