งานประกาศความสำเร็จ และพิธีมอบรางวัลสถานีชนะเลิศตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 – 18.30 น. ณ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินีพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. เป็นประธานในงานประกาศความสำเร็จ และพิธีมอบรางวัลสถานีชนะเลิศตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
พร้อมกับ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผบ.ตร., พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผบ.ตร, พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผบ.ตร., พลเอก ธิติชัย เทียนทอง รองเสนาธิการทหารสูงสุด , ดร.วิภารัตน์ ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาชน
ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
จึงมีนโยบายในการใช้นวัตกรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สอดรับกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้ง เพื่อยกระดับการให้บริการตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปฏิรูประบบการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวที่คำนึงถึงพันธกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในด้านการรักษากฎหมายการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน4.0 (Smart Safety Zone)
มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และระบบราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชน
พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มอบหมาย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผบ.ตร. ขับเคลื่อนโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2564 ในพื้นที่ 15 สถานีตำรวจนำร่องทั่วประเทศ
มีการวัดผลที่เป็นสากลผ่านตัวชี้วัดตำรวจโลก (WISPI : World Internal Security & Police Index) ผลจากการดำเนินโครงการในระยะแรกมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ อีกทั้งประชาชนได้สะท้อนความต้องการให้ดำเนินโครงการต่อ ได้ขยายพื้นที่สู่ 100 สถานีตำรวจทั่วประเทศในระยะที่ 2 เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงปัจจุบัน
ผลการประเมินของสถานีตำรวจทั้ง 100 สถานี ออกมาเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่ลดลง ความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสูงขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในงานป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับรางวัลระดับโลกประเภทการป้องกันอาชญากรรม ด้านการปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม จากเวทีประชุมสุดยอดตำรวจโลก หรือ World Police Summit ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต เมื่อเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากประชาชนได้ถูกนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรงกับสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. สำรวจกล้อง CCTV ในพื้นที่ ปรับมุมกล้อง และบูรณาการการใช้งานกล้องร่วมกันพร้อมติดตั้งเพิ่มเติม
2. นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม เช่น มีการติดตั้งกล้อง AI ตรวจจับใบหน้า และกล้อง AI ตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์เป็นต้น
3. ติดตั้งเสาสัญญาณ SOS เพื่อประชาชนสามารถแจ้งเหตุด่วนได้ทันที
4. จัดทำห้องปฏิบัติการ CCOC โดยเชื่อมสัญญาณจากกล้องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานราชการ และเอกชนมายังห้องปฏิบัติการและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เพื่อคอยควบคุมสั่งการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5. ใช้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร เช่น POLICE 4.0 , POLICE I LERT U , Line OA , แจ้งความออนไลน์ รวมถึงการสร้าง Cyber Village เป็นต้น
6. ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่เสี่ยงให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
7. สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายประชาชนในการช่วยป้องกันอาชญากรรม
8. ประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโครงการ สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ช่วงระยะที่สองใน 100 สถานีนำร่อง ได้ดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนของทุกภาคส่วนที่ช่วยกันสร้างมิติใหม่แห่งความปลอดภัย “เปลี่ยนพื้นที่สายเปลี่ยวให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย” เพื่อสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ ปลอดภัย ในชุมชน
ในระยะที่สาม พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มีนโยบายให้ขยายโครงการเข้าสู่ 1,484 สถานีตำรวจครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในลำดับต่อไป
สถานีตำรวจที่ผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม และภาคีครือข่ายประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการอย่างดีเยี่ยม รวมทั้งสิ้น 14 รางวัล
1. รางวัลกองบัญชาการทรงคุณค่า ได้แก่ ตำรวจภูธรภาค 8 ผู้รับรางวัล โดย พลตำรวจตรี ศักดิ์ศิรา เผือกอ่ำ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8
2.รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุโขทัย ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ไพบูลย์ กาศอุดม ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุโขทัย
3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เบตง ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก เอกชัย พราหมณกุล ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เบตง
4. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี ผู้รับรางวัลโดย พันตำรวจเอก จามร อันดี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี
รางวัลชมเชย 7 สถานี ได้แก่ …
1. สถานีตำรวจภูธร เมืองเชียงใหม่
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ภูวนาถ ดวงดี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่
2. สถานีตำรวจฎธร เมืองสมุทรสาคร
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ยงลิต ศุภผล รักษาการผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรสาคร
3. สถานีตำรวจภูธร กระสัง
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรกระสัง
4. สถานีตำรวจภูธร เขาหลัก
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก จิระวัฒน์ สาระรัมย์. ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เขาหลัก
5. สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก วรพล พลมณี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่
6. สถานีตำรวจภูธร เมืองชลบุรี
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก นิทัศน์ แหวนประดับผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองชลบุรี
7. สถานีตำรวจภูธร เมืองสุราษฎร์ธานี
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก นิพล ชาตรี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุราษฎร์ธานี
รางวัลสำหรับภาคีเครือข่ายประชาชนดีเยี่ยม 3 รางวัล ได้แก่
12. ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี
ผู้รับรางวัล โดยนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
13. ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรปราการ
ผู้รับรางวัล โดย คุณนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
14. ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่
ผู้รับรางวัล โดยคุณทินกร เล้าตระกูล ที่ปรึกษาและคณะทำงานจากภาคธุรกิจ