Thursday, April 25, 2024
More
    Homeปั้นลูก(ตร.)เป็นนักหวดล่าเหรียญ“เอเซีย สกูลเกมส์”

    ล่าเหรียญ“เอเซีย สกูลเกมส์”

    ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2560 นักเทนนิสไทยมีคิวไปร่วมชิงชัยมหกรรมกีฬาต่างๆ ตรงกันถึง 3 รุ่น เร่ิมจากทีมชาติชุดใหญ่ไปแข่งกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 29 ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียและสร้างผลงานสุดยอดคว้ามาได้ถึง 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดงเป็นการประกาศศักดาครองเจ้านักหวดของอาเซีียนอีกสมัย ส่วนทีมชาติชุดกลางหรืออาจเรียกว่าชุดรองไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 27 ที่ประเทศไต้หวัน และทำผลงานยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน

    ขณะที่ทีมชาติจูเนียร์ชุดตัวแทนนักเรียนไทยไปแข่งรายการชิงแชมป์เทนนิสนักเรียนเอเชีย หรือเอเชียสกุลเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย ในทีมชาติชุดนี้ลูกชายผมก็เป็น 1 ในทีมและดูเหมือนปีนี้มีโปรแกรมรับใช้ทีมชาติค่อนข้างบ่อย เพราะเม่ือเดือนก่อนก็เพ่ิงไปแข่งกีฬานักเรียนอาเซียนครั้งที่ 9 ที่ประเทศสิงคโปร์ ยอมรับการเป็นตัวแทนทีมชาติอาจต่างจากไปแข่งไอทีเอฟอยู่บ้าง เพราะการเล่นทีมชาติมันมีความกดดันแฝงอยู่ เล่นดีเล่นชนะก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าแพ้ทีมตกอยู่ในสถานการณ์ตรึงเครียดทันที

    การแข่งขันนักเรียนเอเชียครั้งนี้ถ้ามองถึงชาติสมาชิกที่ร่วมชิงชัยดูเหมือนไม่หนักหนาสาหัสมากนัก เพราะมีเพียงทีมชาติจีนและอินเดียที่เข้าร่วม ที่เหลือเป็นชาติในอาเซียน ส่วนประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน ซึ่งเป็นทีมชั้นแนวหนาของเอเชียไม่มาร่วม ด้วยเหตุผลอะไรผมไม่ทราบ แต่เท่าที่วิเคราะห์และคาดเดาได้อาจเป็นเพราะติดขัดด้วยกฎระเบียบ เพราะกีฬานักเรียนช่ือมันบ่งบอกชัดเจนว่านักกีฬาที่เข้าร่วมต้องเรียนอยู่ในระบบโรงเรียน

    นักกีฬาเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้เล่นกันแบบจริงๆ จังๆ ครับ แทบจะเอาเวลาอยู่ในคอร์ตฝึกซ้อมกันชนิดเอาเป็นเอาตาย เพ่ือมุ่งมั่นเป็นนักเทนนิสอาชีพ ส่วนยักษ์ใหญ่อย่างจีนถึงแม้จะส่งนักกีฬามาร่วมแข่งขันแต่ก็เป็นระดับรองลงมา ส่วนมือต้นๆของประเทศน่าจะออกจากระบบการเรียน เลยมาแข่งไม่ได้ ที่สำคัญประเทศของเขาสนับสนุนและให้โอกาสนักกีฬาเต็มที่ครับ ไม่ต้องมาพะวงทัั้งเล่นทั้งเรียน สุดท้ายเอาดีไม่ได้สักอย่าง

    ผิดกับบ้านเราสนับสนุนกันแต่เชิงนโยบาย เวลาแถลงข่าวก็รับปากจะให้โน่นให้นี่ ประกาศให้เงินอัดฉีดให้นักกีฬาที่คว้าเหรียญ แต่ในทางปฏิบัติไม่เคยให้ความสำคัญกับงบประมาณการฝึกซ้อม หรือการเก็บตัวนักกีฬาไปหาประสบการณ์ในต่างแดน แทบทุกสมาคมกีฬาต้องด้ินรนกันเอง สมาคมไหนมีความสามารถในการหาเงินมาซับพอร์ตให้นักกีฬาได้เยอะก็สบายหน่อย แต่สมาคมไหนขาดสภาพคล่องนักกีฬาจะประสบความสำเร็จยาก

    ในขณะที่นโยบายการศึกษาก็ไม่รองรับนักกีฬาที่ทุ่มเทในการฝึกซ้อมแบบจริงๆ การเล่นกีฬาอาชีพมันต้องซ้อมถึงครับ ถ้ารูปแบบการศึกษายังเน้นให้เด็กต้องไปเรียนในห้องเรียนทั้งเช้าและบ่าย และใช้เวลาหลังเลิกเรียนไปซ้อมไม่มีทางสู้เขาได้แน่นอน จริงอยู่แม้จะมีบางสถาบันให้โอกาสนักกีฬาแต่ก็มีส่วนน้อย ในเม่ือนโยบายการศึกษาไม่สนับสนุนเด่นชัด โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำก็ทำได้เพียงแค่ให้สถานที่เรียน แต่ถ้าไม่มีเวลาเรียนก็ไม่จบ

    เหตุนี้เองทำให้นักกีฬาหลายคนเม่ือถึงจุดเปลี่ยนจำต้องท้ิงกีฬาหันไปเรียน ส่งผลให้สมาคมมีตัวเลือกน้อย พอถึงแมตช์แข่งขันไม่มีทางสู้ชาติอ่ืนที่เขาสนับสนุนกันตั้งแต่เยาวชนรุ่นเล็กๆ ส่งไม้บ่มเพาะกันต่อเป็นทอดๆเติบโตอย่างมั่นคงจนก้าวไปเป็นตัวแทนทีมชาติ หรือเป็นนักกีฬาอาชีพที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

    วกกลับมาที่กีฬาเทนนิสนักเรียนเอเชียครับ ทีมไทยเป็นชาติที่ส่งนักหวดลูกสักหลาดฟูลทีมที่สุด เพราะทุกคนเล่นและเรียนอยู่ในระบบโรงเรียน ทำให้ทีมไทยที่มีแร้งก้ิงไอทีเอฟสูงสุดถูกจัดวางเป็นทีมวาง 1 ทั้งชายและหญิง แต่ก็ใช่ว่าชาติอ่ืนจะหมูนะครับ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย แม้จะไม่มีนักหวดอันดับต้นๆของประเทศ แต่นักกีฬาที่มาแข่งฝีมือดีทุกคน ขณะที่ทีมชาติอาเซียนก็เป็นคู่ปรับของเรามาตลอด ไม่มีใครยอมใครแน่นอน ส่วนรายละเอียดการแข่งขันจะเป็นอย่างไรขอยกไปตอนหน้านะครับ
    ————————————-
    เดอร์วินเนอร์

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments