Saturday, September 7, 2024
More
    HomePolice Healthy Talkedหกล้มในผู้สูงอายุ… ป้องกันอย่างไร…จะได้ไม่พิการ

    หกล้มในผู้สูงอายุ… ป้องกันอย่างไร…จะได้ไม่พิการ

                                 

    หกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันอย่างไรจะได้ไม่พิการ

    พญ. พรศจี ทองชมภูนุช นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู  

    พญ. สุภาวดี เจียรกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ อายุรศาสตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสูงอายุ คลินิกสูงอายุคุณภาพ สถาบันประสาทวิทยา

    ตามที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล         และปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged society) ปี พ.ศ. 2564 และกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ (Super aged society) ในอนาคต ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือเตรียมความพร้อมในการดูแล รวมถึงป้องกันความเสี่ยงภาวะทุพพลภาพ (ความพิการ) ในผู้สูงอายุ

    เมื่อคนเราอายุมากขึ้นย่อมมีความเสื่อมของระบบต่าง ในร่างกายตามมา ส่งผลให้การควบคุมการทำงานต่าง ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป สิ่งหนึ่งที่มักพบในผู้สูงอายุคืการเดินที่ไม่มั่นคง เกิดจากการทรงตัวที่บกพร่อง จนนำไปสู่การหกล้มได้

    ส่งผลกระทบหากรุนแรงอาจเกิดกระดูกหักในผู้ที่มีกระดูกพรุน บางรายเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้มีเลือดออกในสมองได้

    การหกล้มส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งไม่ยอมเดินซึ่งอาจเกิดจากอาการปวดหรือกลัวการหกล้ม ทำให้จำกัดการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ นำสู่ภาวะถดถอยของสมรรถภาพร่างกาย เกิดภาวะทุพพลภาพ และติดเตียงตามมในที่สุด  

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม แบ่งได้เป็น 2 ประการคือ ปัจจัยภายในได้แก่ เพศหญิง อายุที่เพิ่มขึ้น การมองเห็นบกพร่อง เช่น ต้อกระจก ต้อหิน การทรงตัวและการเดินบกพร่อง การใช้ยาหลายชนิด(Polypharmacy) ละผลข้างเคียงของยาบางชนิดซึ่งอาจทำให้มีอาการง่วง มึนงง เวียนศีรษะ เสี่ยงต่อการหกล้มได้ (ทั้งนี้การใช้ยาและปรับเปลี่ยนยาควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์) โรคประจำตัว เช่น โรคสมองและระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกและกล้ามเนื้อเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม

    ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นเปียกหรือลื่น พื้นต่างระดับ การวางของระเกะระกะบนพื้น เป็นต้น

    แนวทางการป้องกันการหกล้ม บุคลากรทางการแพทย์ควรค้นหาผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม โดยประเมินความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม ได้แก่ ซักประวัติการหกล้ม ทบทวนการใช้ยาของผู้สูงอายุ ตรวจร่างกายประเมินระบบประสาทสมอง กระดูกและกล้ามเนื้อ ท่าทางการเดิน การทรงตัว สายตาและการมองเห็น ประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้านให้คำแนะนำการป้องกันการหกล้ม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ

    แนะนำการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (Gait aids) ที่เหมาะสมในรายที่มีความจำเป็นต้องใช้ การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น ยืนด้านหลังเก้าอี้ มือเกาะพนักเก้าอี้ไว้ เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหลัง เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ ออกเสียงนับ 1 ถึง 10 เป็น 1ครั้ง แล้วพักและทำแบบเดียวกันนี้กับขาอีกข้าง 10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต เป็นต้น

    การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการทรงตัว เช่น ยืนด้านหลังเก้าอี้ มือจับพนักเก้าอี้ไว้  ย่ำเท้าอยู่กับที่ไปมาโดยยกขา งอเข่าและงอสะโพกสลับไปมา 2 ข้าง ทำ 20 ครั้ง/เซต  วันละ 2 เซต เป็นต้น การรำมวยจีน ไทเก็ก

    การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้บ่อยคือพื้นลื่น ห้องน้ำควรมีราวจับที่ผนัง และใช้แผ่นยางกันลื่นหรือพื้นกระเบื้องนิดไม่ลื่น  มีแสงสว่างเพียงพอตามทางเดินบริเวณบ้าน ไม่วางสิ่งของเกะกะบนพื้นเพราะอาจสะดุดล้มได้ จัดวางของใช้ในที่ที่สะดวกต่อการใช้งานและในระดับความสูงที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ต้องเอื้อมหรือปีนซึ่งเสี่ยงต่อการหกล้มได้ เป็นต้

    ทั้งนี้ การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุทั้งที่ปกติและมีโรคจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยหลีกเลี่ยงลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายดังกล่าว  จะป้องกันภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุได้

    สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ มีให้บริการ  คลินิกสูงอายุคุณภาพ ในวันพุธ สัปดาห์ ที่ 2 และ 4 ของเดือน  โดย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัด กับทีมสหวิชาชีพเชี่ยวชาญ ได้แก่ อายุรแพทย์ จิตประสาทแพทย์ จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักจิตวิทยา พยาบาลส่งเสริม นักสังคมสงเคราะห์ ห้องปฏิบัติการ ดูแลร่วมกัน พร้อมให้ความรู้กับผู้ดูแล เพื่อให้ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชีวีมีสุข

    เอกสารอ้างอิง  

    พญ. พรพิมล มาศกุลพรรณ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา. ภาพประกอบแผ่นพับเรื่อง การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ.
    รศ.พญ.ปิยะภัทร เดชพระธรรม.ภาวะหกล้ม.ใน: ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย,สมฤดี เนียนหอม,สมจินต์ โฉมวัฒนะชัย, นิติกุล ทองน่วม.แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:บริษัท อิส ออกัส จำกัด; 2560. หน้า11-38.
    วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. กลุ่มอาการสูงอายุ:การเดินไม่มั่นคง. ใน: วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การฟื้นฟูผู้สูงอายุในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช; 2561. หน้า 121- 147.
    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments