Wednesday, December 11, 2024
More
    Homeปั้นลูก(ตร.)เป็นนักหวดเป็นผู้ช่วยวิทยากร สาธิตทำฟิตเนส

    เป็นผู้ช่วยวิทยากร สาธิตทำฟิตเนส

    ในยุคปัจจุบันไม่ว่าเล่นกีฬาชนิดใด หากมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศเพื่ออาชีพแล้ว ส่ิงสำคัญที่ไม่ย่ิงหย่อนไปกว่าการฝึกซ้อมด้านพื้นฐาน เทคนิค และแทคติกก็คือการทำร่างกายหรือฟิตเนสครับ

     

    ลูกชายผมก็ทำมาตั้งแต่อายุน้อยๆ และได้อาจารย์เอกวิทย์ แสวงผล โค้ชสมาคมกรีฑาฯ วิทยากร และผู้เชี่ยวชาญอันดับต้นๆของเมืองไทยเป็นคนดูแล ทำให้มีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดี 

    จากเด็กตัวน้อยรูปร่างผอมเพรียง เวลามีแมตช์แข่งขัน ลงเล่นแค่ไม่กี่รอบก็มีอาการบาดเจ็บรบกวนตลอด ผ่านไป 3-4 ปีร่างกายแข็งแกร่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

     

    แต่มันต้องแลกด้วยความวิริยะอดทนครับ เพราะการทำร่างกายค่อนข้างหนักเอาการ บางทีอาจเหนื่อยกว่าซ้อมเทนนิสด้วยซ้ำ ต้องใช้เวลาบ่มเพาะกันนานหลายปีกว่าจะออกดอกออกผล 

     

      ครั้งหนึ่งอาจารย์ไปเป็นวิทยากรบรรยายที่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหิ้วลูก ชายผมไปเป็นผู้ช่วยในการสาธิตแบบฝึกต่างๆให้กับผู้เข้าอบรมทั้งอาจารย์ โค้ช เทรนเนอร์ และนิสิต

     

    พูดถึงจุฬาฯเป็นสถาบันที่ความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามาตลอด และยังเปิดอบรบให้ความรู้แก่โค้ชและเทรนเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ 

     

    ผมเองก็มีโอกาสไปนั่งฟังจนจบ ระหว่างบรรยายอาจารย์ย้ำเสมอๆว่า การสร้างนักกีฬาแต่ละคนไปสู่อาชีพ ต้องใช้เวลา ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ ไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่โค้ชหรือเทรนเนอร์บ้านเราไม่ค่อยให้ความสำคัญ ในเรื่องนี้มากนัก บางคนยังขาดความเข้าใจในการทำนักกีฬา บางครั้งทำผิดขั้นตอน ไม่มีความรู้มากพอ ทำแบบฝึกไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการพั​ฒนากล้ามเน้ือส่วนต่างๆ

     

      ยกตัวอย่างโค้ชจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมนักเทนนิส ไม่ว่าจะเป็นการตีลูกสั้น ลูกยาว หรือการพัฒนาลูกเสิร์ฟ แต่ไม่ได้เตรียมพร้อมกล้ามเน้ือส่วนนั้นรองรับ ทำให้นักกีฬาทำแบบฝึกได้ไม่ดีหรือบางครั้งต้องการฝึกนักกีฬามีความคล่องตัวเคลื่อนที่ได้เร็ว แต่ไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าต้องทำแบบฝึกอย่างไรเพื่อพัฒนากล้ามเน้ือส่วนเกี่ยวข้อง บางทีนอกจากใช้แบบฝึกไม่ถูกต้องแล้วยังให้นักกีฬาทำซ้ำไปซ้ำมาจนเกิดการอ่อนล้า

     

    บางครั้งความผิดพลาดของการฝึกอาจส่งผลต่อนักเทนนิสได้ เช่นให้ยกเวตจนกล้ามใหญ่เป็นมัด แต่ตีแรงสู้คนกล้ามเล็กไม่ได้ ตรงนี้เป็นศาสตร์เฉพาะที่โค้ชหรือเทรนเนอร์ต้องรู้ครับจะได้นำไปใช้กับนักกีฬาอย่างถูกต้อง

    ผมนั่งฟังก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เพราะไม่มีความรู้พื่นฐานในด้านนี้มาก่อน เลยไม่สามารถเจาะลึกรายละเอียดได้ เอาแค่ครูพักลักจำมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น  

     

    อีกอย่างที่อยากพูดถึงก็คือตั้งแต่ผมพาลูกชายไปทำร่างกายกับอาจารย์ได้เห็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นเทรนเนอร์ที่ดีไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาเครื่องไม้เครื่องมือที่มีราคาแพงเสมอไป แต่สามารถหาได้จากวัสดุเหลือใช้ที่แทบไม่เหลือค่าใดๆเช่นยางรถจักรยานหรือท่อพีวีซีนำมาดัดแปลงใช้ทำแบบฝึกได้หลายอย่าง 

     

    นับเป็นนิมิตที่ดีที่วันนี้สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำหลายแห่งบ้านเราผลิตนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและจัดอบรมเพื่อศักยภาพโค้ชและเทรนเนอร์ เพื่อมารองรับการขยายตัวของกีฬาอาชีพที่มีการแข่งขันกันสูงทั่วทุกมุมโลก 

    ————————————

    เดอะวินเนอร์ 

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments