Thursday, January 2, 2025
More
    Homeปั้นลูก(ตร.)เป็นนักหวดรอยต่อจูเนียร์ก้าวสู่อาชีพ

    รอยต่อจูเนียร์ก้าวสู่อาชีพ

         

    ช่วงปลายเดือนธันธาคมของทุกปี โปรแกรมการแข่งขันเทนนิส ทั้งในส่วนของรายการจูเนียร์และแมนต์อาชีพโปรเซอร์กิตจะหยุดพักเพื่อให้นักกีฬาได้เตรียมพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ หลังแต่ละคนตระเวนแข่งกันมาทั้งฤดูกาล เฉลี่ยแล้วก็ตกปีละไม่ต่ำกว่า 20-30 ทัวร์นาเมนต์จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ใครจะวางแผนแข่งกันอย่างไร หากต้องการเก็บคะแนนสะสมโลกเยอะๆ อาจต้องลงแข่งมากหน่อย 

     

      ส่วนลูกชายผมปี 2017-2018 มีอายุย่างเข้า 18 ปีเป็นช่วงของรอยต่อระหว่างจูเนียร์กับอาชีพ ตั้งใจว่าปี 2018 จะลดโปรแกรมแข่งจูเนียร์น้อย เลือกเล่นแมตช์เฉพาะใหญ่เท่านั้น ส่วนที่เหลือต้องไปหาประสบการณ์ในทัวร์อาชีพให้มากขึ้น แต่ก็คงกับไม่ถึงกับตะลุยแข่ง เพราะยังมีห้วงเวลาสำคัญอีกอย่างที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือเรื่องการเรียนครับ เพราะปีนี้ลูกกำลังจะจบม.6 พอดี 

     

    อย่างที่ผมเกร่ินไว้ตั้งแต่แรกๆว่าการเรียนกับการเล่นกีฬาในระบบการศึกษาของบ้านเรามันสวนทางกันเกือบจะเป็นเส้นขนาน ถึงแม้จะมีหลายสถาบันที่ให้โอกาสนักเรียนกลุ่มนี้ท่ีทุ่มเทเล่นกีฬาอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ แต่ส่วนใหญ่โรงเรียนที่มีช่ือเสียงแทบไม่สนใจ จริงอยู่ตอนรับสมัครมีโควต้าให้นักกีฬา ไม่ต้องไปสอบแข่งกับเด็กคนอื่น 

     

    แต่พอเข้าไปแล้ว เด็กที่เล่นกีฬาต้องไปแข่งขันกับเด็กเรียน ทำให้มีเวลาซ้อมน้อยหรือแทบไม่มีเวลา สุดท้ายก็จะถูกระบบการศึกษาละลายความฝันของตัวเอง หันกลับไปเรียน แต่เอาเข้าจริงก็ไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับคนอื่นๆได้ กลายเป็นกลุ่มรั้งท้ายที่ถูกมองข้าม นักกีฬาคนไหนที่ตัดสินใจเล่นกีฬาเพื่อกรุยทางเรียน พอได้โอกาสเข้าไปอยู่ในรั้วโรงเรียนที่มีช่ือเสียงก็จะทิ้งกีฬาไปมุ่งมั่นกับการเรียน 

     

    เป้าหมายของเด็กกลุ่มนี้ตลอดทั้งปีแทบจะไม่ตระเวนแข่งขันรายการต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะกีฬาเลย แต่จะเอาเวลาไปทุ่มกับการเรียนพิเศษ ลงเล่นเฉพาะแมตช์เช่ือมความสามัคคีระหว่างโรงเรียนเท่านั้น ต่างกับเด็กที่มุ่งเล่นกีฬาเพื่ออาชีพ นอกจากเรื่องเรียนแล้วพวกเขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก

     

    คงไม่มีนักกีฬาคนไหนหรอกครับที่ซ้อมแค่หลังเลิกเรียนแล้วประสบความสำเร็จในกีฬาอาชีพ ยกเว้นเป็นกีฬาสมัครเล่น ส่วนลูกชายผมเล่นกีฬาอาชีพ ทำให้ไม่สามารถเลือกสถาบันการศึกษาที่เน้นหนักไปทางวิชาการได้ ต้องขอบ คุณโรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรีอีกครั้งที่เปิดโอกาสให้ลูกชายมีเวลาอยู่กับเทนนิสมากขึ้น ได้ซ้อมได้แข่งเต็มที่ โรงเรียนช่วยเหลือเป็นอย่างดี 

     

    เมื่อโรงเรียนสนับสนุนทำให้ไม่ต้องกังวลกับการเรียนมากนัก แต่ก็ใช่ว่าจะลูกทิ้งการเรียนไปเลย มีเวลาว่างก็จะไปเรียนเสริมเน้นติวภาษาซึ่งถือเป็นส่ิงจำเป็นในโลกอนาคต ตอนนี้ก็เหลือแค่เทอมสุดท้ายของม.6 เสร็จแล้วก็ต้องมาว่ากันต่อในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแต่ละแห่งในบ้านเราก็มีระบบการเรียนการสอนแทบไม่ต่างจากโรงเรียนมัธยมเลย 

     

    สรุปคือต้องเข้าเรียนครับ หากมัวแต่ซ้อมและแข่ง มีหวังคงจบไม่ทันเพื่อนแน่นอน แต่ในเมื่อเราเลือกเดินไปสู่เส้นทางนี้แล้ว ก็ต้องทำให้มันสำเร็จเต็มศักยภาพของตัวเอง แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ เพราะนอกจากลูกจะอยู่ในช่วงรอยต่อจูเนียร์ก้าวสู่อาชีพแล้วยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเรียนจากมัธยมเข้ารั้วมหาวิทยาลัยที่ต้องตัดสินใจครั้งใหญ่กันอีกครั้ง

     

    ———————- เดอะวินเนอร์    

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments