Saturday, July 27, 2024
More
    Homeปั้นลูก(ตร.)เป็นนักหวดยึดกล้ามเน้ือป้องกันบาดเจ็บ

    ยึดกล้ามเน้ือป้องกันบาดเจ็บ

    พูดถึงอาการบาดเจ็บกับนักกีฬาเป็นของคู่กันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเน้ือมากก็มีอาการบาดเจ็บได้ง่าย

    แน่นอนว่าเทนนิสเสี่ยงกับการบาดเจ็บได้ตลอดเวลา ลูกชายผมก็เคยเจ็บมาหลายครั้ง และครั้งรุนแรงที่สุดต้องย้อนไปตอนอายุ 10 ขวบโน่น เป็นอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายข้างซ้าย หนักขนาดต้องหยุดพักฝึกซ้อมหยุดแข่งไปถึง 4 เดือนเต็มๆ

    ตอนนั้นจำได้ว่าเป็นการแข่งขันรอบรองชนะเลิศที่สนามไนติงเกล รามอินทรา เอ่ยถึงสนามไนติงเกล ก็อดที่จะนึกถึงอดีตไม่ได้ เพราะเป็นสนามเก่าแก่ เป็นเวทีปั้นนักหวดเยาวชนไทยมาแล้วหลายรุ่น

    ตอนเด็กๆลูกชายผมก็ลงแข่งสนามแห่งนี้เสียส่วนใหญ่ ทั้งๆที่ตอนนั้นสภาพสนามค่อนข้างแย่ ไม่ค่อยได้รับการดูแลสักเท่าไหร่ พื้นสนามบางคอร์ตแตกร้าว บางจังหวะลูกตกกระดอนเปลี่ยนวิถีเอาดื้อๆ ทำเอานักกีฬาจั่วลมก็มี

    คู่แข่งของลูกชายวันนั้นเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน เล่นสไตล์เหนียวแน่น ถนัดงัดลูกโด่งทิ้งบอมบ์กลางอากาศเป็นหลัก

    จังหวะของการบาดเจ็บเป็นชอตที่ลูกลอยสูง ลูกผมถอยหลังไปตีจนเกิดการกระชากของเอ็นร้อยหวายถึงกับเดินกะเผลกๆ

    แต่ด้วยสปริตนักสู้ของลูกชายที่ไม่ยอมแพ้ ยังฝืนเล่นต่อจนจบและแพ้ไปแบบสะบักสะบอมต้องประคองปีกออกมาเลย

    และด้วยความที่ผมยังอ่อนประสบการณ์ไม่รู้เรื่องการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ประกอบกับขณะนั้นฝ่ายจัด การแข่งขันก็ไม่มีเทรนเนอร์ประจำทัวร์นาเมนต์ กลับถึงบ้านปรากฏว่าเท้าบวมเป่ง

    สุดท้ายต้องไปพึ่งหมอและคลินิกกายภาพรักษาอยู่นานกว่าจะหายกลับมาจับแร็กเก็ตลงสนามได้ หายเจ็บกว่าจะฝึกซ้อมออกแข่งได้อีกครั้งก็ต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายพอสมควร

    ยอมรับว่าเหนื่อยครับ เพราะตอนนั้นผมทำงานอยู่กรุงเทพฯ ส่วนลูกชายอยู่กับแม่ที่ จ.เพชรบุรี แฟนผมเป็นตำรวจบ้านนอกขับรถเข้าเมืองหลวงไม่ได้ ต้องอาศัยช่วงเสาร์อาทิตย์ขึ้นมารักษาที่กรุงเทพฯ ถ้าผมหรือลูกชายไม่อด ทนมากพอคงเลิกเล่นไปแล้ว

    ส่วนคู่แข่งลูกชายในวันนั้น หลังจากลูกผมหายเจ็บกลับมาเล่นก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย เพราะครอบครัวเขาตัด สินใจส่งลูกชายโกอินเตอร์ไปเรียนและฝึกเทนนิสที่ IMG Academy Bollettieri Temmis รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา สถาบันแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตปั้นนักหวดชั้นนำของโลกมานับไม่ถ้วน

    หลังจากมีประสบการณ์เจ็บเอ็นร้อยหวายครั้งนั้น นักกายภาพแนะนำวิธีการยึดเหยียดกล้ามเน้ือที่ถูกต้องให้ลูกชายมาเป็นการบ้าน ขณะที่โค้ชหรือเทรนเนอร์บ้านเรามีน้อยครับที่จะใส่ใจเรื่องนี้

    แทบทุกค่ายไม่มีรูปแบบการฝึกฝนให้นักกีฬา จุดนี้ถือว่าค่อนข้างแตกต่างกับต่างประเทศมากครับ แต่จะไปโทษโค้ชเสียทีเดียวคงไม่ได้ นักกีฬาก็ต้องมีวินัยในตัวเอง แม้แต่ลูกผมก็ยังต้องคอยเตือนคอยกำชับกันอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะการยึดเอ็นร้อยหวาย

    จากการวิเคราะห์จากนักกายภาพและอาจารย์ที่ทำฟิตเนสบอกว่าลูกชายผมเป็นคนมีเอ็นร้อยหวายสั้นตั้งแต่เกิด สังเกตเวลาเดินส้นเท้าจะไม่สัมผัสพื้น และเป็นคนเส้นเอ็นตึงครับ

    ดังนั้นส่ิงสำคัญที่สุดต้องยึดกล้ามเน้ือส่วนนี้ให้มากกว่าปกติ ทั้งยืดก่อนและหลังซ้อมเพื่อป้องกันการอักเสบ ทุกวันนี้จึงต้องเน้นยืดเอ็นร้อยหวานเป็นพิเศษ ปัจจุบันเลยทำให้ไม่มีอาการบาดเจ็บมารบกวนอีก

    แต่ก็ใช่ว่าร่างกายส่วนอื่นจะไม่เจ็บนะครับ เพราะตลอดเวลาของการฝึกซ้อมและแข่งขัน อาการบาดเจ็บกับนักกีฬาเกิดขึ้นได้เสมอๆ เพียงแต่หากมีการยืดเหยียดกล้ามเน้ือส่วนต่างๆมากพอ มีวินัยในการดูแลตัวเองที่ดี โอกาสเกิดก็น้อยลง

    ดูตัวอย่างนักเทนนิสระดับโลกบางคนเจ็บต้องหยุดพักไปผ่าตัด กว่าจะหายต้องใช้เวลานานเดือนๆ และต้องเคาะสนิมกันนาน กว่าจะหาฟอร์มเก่งของตัวเองเจอเล่นเอาเหนื่อยไปเหมือนกัน

    หรือบางคนอาจกลับมาไม่ได้ สุดท้ายต้องรีไทร์ตัวเองก่อนเวลาอันควร

    ———————– เดอะวินเนอร์

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments