Sunday, April 28, 2024
More
    Homeท่องปทุมวันผบช.ก.บินถกตำรวจเกาหลีใต้ร่วมแก้ปัญหาเชิงรุก “ผีน้อยลามเป็นค้ามนุษย์

    ผบช.ก.บินถกตำรวจเกาหลีใต้ร่วมแก้ปัญหาเชิงรุก “ผีน้อยลามเป็นค้ามนุษย์

    ระหว่างวันที่22-27..66 พล...จิรภพ ภูริเดช ผบช.. นำคณะนายตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์(บก.ปคม.)นำโดยพล...ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปคม. ...มารุต กาญจนขันธกุล ...สุรพงษ์ ชาติสุทธิ์ รองผบก.ปคม.

    ...ทนงศักดิ์ ปันไชย ผกก.1 บก.ปคม....รัชภูมิ กุสุมาลย์ผกก.4บก.ปคม. ...กึกก้อง ดิศวัฒน์ ผกก.5.บก.ปคม. ...ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์ รองผกก.1.บก.. ...  จักรี กันธิยะ รองผกก.1.บก.....ธัช โพธิ์สุวรรณ รองผกก.1. บก.ทล. พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคม.กองปราบฯและสื่อมวลชนประจำบช..เดินทางไปที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

    เข้าพบ  ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโซล เจ้าหน้าที่ตัวแทนคนไทยของศูนย์ช่วยเหลือแรงงานต่างชาติ แลอาสาสมัครช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้

    เพื่อประสานความร่วมมือและสอบถามข้อมูลแรงงานประเทศเกาหลีใต้ โดยเฉพาะผีน้อยที่มาขายบริการทางเพศ  เกรงว่าอาจตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ

    นอกจากนี้ยังเข้าพบอัยการและตำรวจเกาหลีใต้เพื่อหารือแนวทางป้องกันเรื่องการค้ามนุษย์รวมทั้งสถานการณ์ยาเสพติด

    หลังเดินทางกลับประเทศไทย พล...จิรภพ เล่าให้ฟังเป็นข้อๆถึงเหตุที่ต้องไปประสานงานกับ จนท. เกาหลีใต้ เริ่มจากข้อแรก ปัญหาปัจจุบันคืออะไร ที่ตำรวจไทยกังวล

    หลักๆ ที่ไปคือ ปัญหาเรื่องแรงงานไทยที่ไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ใต้โดยผิดกฎหมาย หรือที่เรามักเรียกกันว่า “ผีน้อยหรือคนผี”และปัญหาการค้ามนุษย์ข้ามชาติ

    ทั้งสองปัญหานี้มีความทับซ้อนกันกันอยู่พอสมควรและเป็นปัญหาที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางให้ความสำคัญมาโดยตลอด

    แรงงานไทยมีมากเกือบ2แสน

    ข้อมูลที่น่าสนใจจากการไปประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนของสถานทูตไทยในประเทศเกาหลีใต้ และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประ เทศ เกาหลีใต้พบว่าแต่เดิมมีคนไทยทำงาน (ส่วนใหญ่ใช้แรงงาน) อยู่ประมาณ 1.7 แสนคน


    ถูกกฏหมายแค่4หมื่น

    หลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนกว่า 2 แสนคน  มีแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียง 4 หมื่นคน และผิดกฎหมายกว่า 1.6 แสนคน หรือกว่าร้อยละ 75 คาดการณ์แล้วจะมีแรงงานไทยไหลทะลักเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

    ละเลยปัญหาและความเป็นอยู่

    ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้ยินข่าวอยู่เรื่อยๆ ว่า ตม.เกาหลีใต้จับกุมแรงงานเถื่อนคนไทยส่งกลับหรือไม่ให้คนไทยเข้าประเทศเกาหลีใต้ แต่หลายครั้งที่เราละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ สภาพการทำงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้มากพอ

    ยกตัวอย่างเช่น การถูกกดขี่จากนายจ้างชาวเกาหลีใต้ใต้ การทำงานหนักในภาคอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดี หรือแม้แต่การถูกบังคับให้ใช้แรงงาน หรือเข้าไปพัวพันกับการค้าประเวณี

    อาจนำไปสู่ปัญหาค้ามนุษย์

    ปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์หรือปัญหาอื่นที่มีความรุนแรงได้ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทางภาครัฐ สำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการป้องกันแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหา

     :การประชุมร่วมตำรวจเกาหลีใต้ได้ข้อสรุป หรือทิศทางแนวทางที่จะจัดการกับปัญหาผีน้อยอย่างไร

    ผบช..กล่าวตอบว่า การไปศึกษาดูงานเรื่องปัญหาแรงงานเถื่อนหรือผีน้อยคนไทยที่ประเทศเกาหลีใต้ทางเราได้มีโอกาสพูดคุยหารือกับตัวแทนเครือข่ายแรงงานไทยในประเทศเกาหลี ใต้ทำให้เราสามารถเข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจนและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

    ได้ร่วมประชุมกับทางสถานทูตทำให้เข้าใจบทบาทและความมีส่วนร่วมในความพยายามแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ทำให้ทราบข้อมูลที่แท้จริงก่อนที่จะเข้าร่วมประชุมกับทางหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเกาหลีใต้


    ตม.โสมไม่ใช่ตำรวจ

    ในความเป็นจริงแล้วสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ไม่ใช่ตำรวจแต่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงในการตรวจตราทั้งแรงงานถูกกฎหมายและผิดกฎหมายของแรงงานทุกชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีใต้

    จับกุมแล้วส่งกลับประเทศ

    การแก้ไขปัญหาของ ตม.เกาหลีใต้ เช่น การจับกุมแรงงานผิดกฎหมายนับเป็นปัญหาปลายเหตุเท่านั้น คือการจับกุมแล้วก็ส่งกลับประเทศโดยไม่ได้มีการดำเนินคดีกับแรงงานเหล่านั้น

    ค่าแรงสูงคือแรงจูงใจ

    แรงจูงใจด้านค่าแรงหรือรายได้จำนวนมากเมื่อเทียบกับประเทศไทยนับเป็นปัจจัยที่ทำให้แรงงานไทยอยากมาทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้มากเกินกว่าข้อตกลง (MOU)เรื่องการรับแรงงานไทยเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกทั้งระเบียบขั้นตอน ข้อกำหนดของการสมัครไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็มีความเคร่งครัดและค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้แรงงานไทยเลือกที่จะแฝงตัวเดินทางเข้าเกาหลีใต้ในฐานะนักท่องเที่ยวและลักลอบทำงานในเกาหลีใต้ไปเรื่อยๆ

    ปคม.จับมือเกาหลีแก้ปัญหา

    ดังนั้น จากการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช..) โดยกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.)  ได้จับมือกับทางการเกาหลีใต้ในการทำงานร่วมกันให้ครอบคลุม cycle ของการแก้ไขปัญหาให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในมิติการป้องกันและปราบปราม เช่น ด้านการป้องกันจะยกระดับการประชา สัม พันธ์สภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงของแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้

    ให้ความรู้-มาแล้วไม่ตรงปก

    เน้นสร้างความเข้าใจว่าการทำงานที่เกาหลีใต้ถึงแม้จะมีรายได้ที่มากกว่าการทำงานในประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วมีปัญหาที่ยังไม่รู้อีกเป็นจำนวนมากที่จะอาจต้องเผชิญ ไม่ได้สวยหรูเหมือนที่คิดเอาไว้

    หรือด้านปราบปราม จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางการเกาหลีใต้มากยิ่งขึ้นเช่น เมื่อทางการเกาหลีใต้จับกุมแรงงานผิดกฎหมายได้ก็จะขยายผลการสืบสวนสอบสวนส่งข้อมูลมาให้ตำรวจสอบสวนกลางในการขยายผลไปถึงเอเยนต์หรือนายหน้าที่ส่งคนไทยไปทำงานในเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย


    ยกระดับ 2ประเทศแก้ปัญหา

    หรือหากมีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับขบวนการเหล่านี้ก็จะส่งข้อมูลไปยังทางการเกาหลีใต้เพื่อเฝ้าระวังหรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะเป็นการยกระดับการทำงานของทั้งสองประเทศในการจัดการกับปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย (ผีน้อย)

     :เช่นเดียวกัน การคุยกับอัยการของเกาหลีใต้ใต้ได้ข้อสรุปในการทำงานร่วมกันอย่างไรหรือไม่

    พล...จิรภพกล่าวตอบว่า ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าแท้จริงแล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการปราบปรามจับกุมแรงงานผีน้อยนั้นเป็นความรับผิดชอบหลักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศเกาหลีใต้

    แต่จากการประชุมหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดเกาหลีใต้ใต้ก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ  อัยการเกาหลีใต้มีการทำงานร่วมกันกับทั้งตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในเกาหลีใต้อย่างใกล้ชิด มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในการกำหนดแนวทาง นโยบายการทำงานป้องกันปราบปรามปัญหาอาชญากรรมต่างๆ

    ทางคณะฯ  ได้พบปะหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพปัญหา รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกันในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดช่องทางการติดต่อระหว่างกันให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากรรม การสนับสนุนการทำงาน รวมถึงแนวทางการรับส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น

     :ความคาดหวังของตำรวจไทยต่อการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ กรณีผีน้อยจะทำอย่างไรในอนาคต

    ผบช..กล่าวตอบว่า แน่นอนว่าเป้าหมายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งอาจหมายรวมถึงทุกภาคส่วนที่มีหน้าที่และส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขหรือควบคุมปัญหาแรงงานผิดกฎหมายไทยคือ การแก้ไขปัญหาแรงงานเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

    แรงงานที่ไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ทั้งหมดควรต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ข้อตกลงที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะจำเป็นต้องคำนึงอยู่เสมอว่าแรงงานผิดกฎหมายจำนวนมากเหล่านี้มีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้โดยง่าย

    จนท.ทั้ง2ปท.ต้องทำงานร่วมกัน

    ดังนั้น การแก้ปัญหาในภาพรวมจึงไม่สามารถกระทำได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะในประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้จำเป็นต้องร่วมมือกันทำงานกันอย่างจริงจัง ศึกษาต้นตอของปัญหาและร่วมกันแก้ไขทั้งระบบไม่ใช่การแก้ปัญหาเพียงจุดๆ เดียว


    พบช่องว่างเรื่องข้อมูลหลายครั้ง

    เช่น ทางการไทยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานผิดกฎหมายน้อยกว่าทางเกาหลีใต้ เนื่องจากการเดินทางออกไปประเทศเกาหลีใต้ของแรงงานเหล่านี้อาจแฝงไปในนามของนักท่องเที่ยวทั่วไป เป็นการยากต่อการตรวจสอบ ทางการเกาหลีใต้เมื่อมีการพบว่าเป็นแรงงานผิดกฎหมายหรือห้ามไม่ให้เข้าประเทศก็จะให้คนเหล่านั้นเดินทางกลับประเทศไทยทันที หลายครั้งเกิดเป็นช่องว่างของข้อมูลที่ทั้งสองประเทศไม่ทราบ

    ดังนั้น ต่อไปในอนาคตข้อมูลเหล่านี้ควรต้องถูกนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันและเชื่อมเข้าสู่ระบบ Big Data ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลเฝ้าระวังต่อไปด้วย

    เพิ่มมิติป้องกันเชิงรุก

    นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มมิติการป้องกันปัญหาเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น เราต้องอธิบายข้อเท็จจริง สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของแรงงานผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้ว่าในความเป็นจริงแล้วจะนำปัจจัยเรื่องรายได้จำนวนมากมาพิจารณาตัดสินใจไปใช้แรงงานที่เกาหลีใต้เพียงอย่างเดียวไม่ได้

    :ข้อเตือนภัยสำหรับคนไทยที่จะไปค้าแรงงานในเกาหลีใต้ใต้

    รายได้เดือนครึ่งแสนจูงใจผีน้อย

    พล...จิรภพกล่าวตอบคำถามนี้ว่า จากการประชุมกับตัวแทนและเครือข่ายแรงงานทำให้เข้าใจได้มากขึ้นในหลายประเด็น เช่น แรงงานไทยที่เข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีใต้แทบจะทั้งหมดเกิดจากความสมัครใจมาทำงานด้วยตนเองโดยมีปัจจัยเรื่องรายได้ที่ค่อนข้างสูง (ประมาณ 5-6 หมื่นบาท/เดือน) เป็นตัวกระตุ้นให้แรงงานไทยหลั่งไหลเข้ามาทำงานที่เกาหลีใต้มากขึ้น

    คนเกาหลีไม่ชอบทำงาน 3D

    ประกอบกับปัจจุบันเกิดช่องทางโดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ประชาสัม พันธ์ชักชวนให้คนมาทำงานที่เกาหลีใต้มากขึ้นเรื่อยๆ  สอดคล้องกับสภาพการทำงานในประเทศเกาหลีใต้ที่คนในชาติเองมักไม่ชอบงานที่ใช้แรงงาน หรืองานประเภท 3D คือ งานยากลำบาก (Difficult) งานสกปรก (Dirty) และงานเสี่ยงอันตราย (Dangerous)


    มีหลายเรื่องที่ผีน้อยไม่รู้

    แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีข้อมูลอีกจำนวนมากที่แรงงานไทยไม่เคยรู้มาก่อนที่จะเดินทางเข้ามาทำงานที่เกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาถูกกดขี่หรือเอาเปรียบจากนายจ้าง สภาพความเป็นอยู่ ที่พักอาศัย อาหารการกินกำแพงภาษา สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยหรือไม่คุ้นชินสำหรับคนไทย ปัญหาการพนันหรือแม้แต่ปัญหายาเสพติด ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตในเกาหลีใต้ในฐานะแรงงานอย่างมีนัยยะสำคัญ

    ระบุผีน้อยตายมากสุด

    ข้อมูลที่น่าสนใจจากทางสถานทูตไทยประจำเกาหลีใต้พบว่าประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีแรงงานไทยเสียชีวิตมากที่สุดในโลก ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ช่วงแรกๆ ที่มีความรุนแรง  สถานทูตฯ เองมีส่วนสำคัญช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยกลับไปรักษาที่ประเทศไทยกว่า 2,000 คน อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

    สถานทูตเป็นที่พึ่งสำคัญ

    นับเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าแรงงานผิดกฎหมายเหล่านี้เมื่อเกิดปัญหาก็มักจะไม่ได้รับการเหลียวแลหรือดูแลเอาใจใส่มากเท่าที่ควร จำเป็นต้องดิ้นรนด้วยตัวเองโดยมีสถานทูตฯ เป็นที่พึ่งสำคัญและให้ความช่วยเหลือสำหรับปัญหาต่างๆ

    แนะศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ

    ผมจึงอยากเตือนคนไทยที่อยากไปค้าแรงงานที่เกาหลีใต้ทุกคนให้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจนก่อน อย่าไปหลงเชื่อข้อมูลข่าวสารหรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ชักชวนไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้โดยปราศจากการพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน  อย่าคิดแต่เพียงว่าจะไปแสวงหารายได้ที่สูงกว่าในประเทศไทยแต่กลับต้องเจอสภาพปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างเอาไว้แล้วข้างต้น

    ผบช..ระบุต่อว่า ดังนั้น ต้องสร้างความเข้าใจและความตระหนักให้กับผู้ที่สนใจไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้อย่างจริงจัง  สนับสนุนให้เข้าสู่กระบวนการคัดกรองแรงงานอย่างถูกต้องภายใต้ระบบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้ (Employment Permit System: EPS) 

    จะมีกฎหมายคุ้มครองให้แรงงานทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการปฏิบัติที่ดี มีสภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ รวมถึงการได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีมาตรฐานเมื่อเกิดเจ็บป่วย เป็นต้น


    :ข้อเสนอแนะถึงการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีใต้ใต้เพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

    ปัญหาค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาได้จัดทำรายงานเผยแพร่รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์เป็นประจำทุกปี (Trafficking in Persons Report) หรือที่มักเรียกกันว่า TIP Report

    Tier 2เท่ากัน ไทยเกาหลีใต้

    ในปี 2566ได้จัดระดับสถานการณ์ การค้ามนุษย์ของประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้อยู่ในระดับเดียวกันคือ ระดับที่ 2 (Tier 2) คือ ประเทศที่มีการดำเนินการยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแต่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์

    รูปแบบค้ามนุษย์ทั่วโลกใกล้เคียงกัน

    ปัญหาค้ามนุษย์โดยส่วนใหญ่ทั่วโลกมีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ  การค้าประเวณีผู้หญิงและเด็ก การค้าทาส การนำคนมาขอทานหรือการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ แต่วิธีการ มาตรการ รวมถึงกฎหมายที่บังคับใช้ในการป้องกันปราบปรามนั้นมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละประเทศ

    ประเทศเกาหลีใต้เองอาจกำหนดนิยามของการค้ามนุษย์ที่มีแตกต่างกับประเทศไทยอยู่บ้างซึ่งอาจส่งผลให้พฤติการณ์กระทำผิดบางประเภท อาจไม่นับว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทยก็เป็นได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะระหว่างประเทศไทยและเกาหลีใต้เท่านั้น

    แต่หมายความรวมถึงทุกๆ ประเทศที่จะต้องตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะระดับผู้ปฏิบัติจะสามารถป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” พล...จิรภพกล่าวปิดท้าย

    ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.หญิง มัณฑนา ยาวิละ สารวัตรฝ่ายวิชาการ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) ทำหน้าที่ประสานงานตำรวจไทย-เกาหลีใต้ จัดทำข้อมูลสถานการณ์การค้ามนุษย์และปัญหายาเสพติดในเกาหลีใต้โดยสรุป

    เพิ่งตก Tier 2 ในปีนี้

    การค้ามนุษย์ เมื่อปี 2022 เกาหลีใต้ (กลต.) ถูก TIP Report ลดระดับเป็น Tier 2 จากที่เคยเป็น tier 1 มาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี  ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการขจัดการค้ามนุษย์อย่างเต็มที่

    ถึงแม้จะมีการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับอัยการ การฝึกอบรมพนักงานตรวจแรงงานของคนประจำเรือเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ และเริ่มกระบวนการร่างแนวทางการคัดแยกเหยื่อและแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ระดับชาติ

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ใด้ดำเนินการเพื่อจัดการกับข้อกังวลที่มีมาอย่างยาวนานว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐลงโทษทำความผิดกับการค้าประเวณีในเหยื่อต่างชาติ และบางครั้งส่งกลับเหยื่อโดยไม่ได้ให้การช่วยเหลือเพียงพอหรือสอบสวนผู้ค้ามนุษย์


    หลายปัจจัยทำตกเทียร์ 2

    แม้จะมีรายงานการแพร่หลายของการค้าแรงงานในหมู่แรงงานข้ามชาติ ในเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมประมงของเกาหลี แต่รัฐบาลก็ไม่ได้รายงานว่ามีการคัดแยกเหยื่อแรงงานข้ามชาติคนใด เจ้าหน้าที่ไม่ใด้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดแยกเหยื่อและศาลได้ตัดสินให้อาชญากรส่วนใหญ่ตัดสินว่ามีความผิดในคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์โทษจำคุก ปรับ หรือรอลงอาญาน้อยกว่าหนึ่ง เกาหลีใต้จึงถูกลดระดับเป็นเทียร์ 2

    ออกกม.ใหม่ให้สอดคล้องสากล

    เพื่อยกระดับการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์เกาหลีใต้ ได้ออกกฎหมายใหม่เมื่อเดือนมกราคม 2566 คือ พรบ.ป้องกันการค้ามนุษย์  เป็นกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับนิยามและการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับสากล มีกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว(Ministry of Gender Equality and Family) เป็นหน่วยงานกลางในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

    ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ไม่มีความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดลักษณะเดียวกับการค้ามนุษย์ จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆเช่น กฎหมายการคุ้มครองเด็ก และสตรี กฎหมาย เข้าเมือง กฎหมายอาญาฐานความผิดทางเพศหรือต่อร่างกาย

    จนท.ไม่เข้าใจเรื่องกม.

    ก่อนปี 1987เกาหลีใต้ อยู่ในสถานะประเทศต้นทางที่ส่งออกหญิงและแรงงานไปยังประเทศต่างประเทศ แต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศปลายทาง จนท.ตร.เกาหลีใต้ ยังคงไม่มีความเข้าใจในการบังคับใช้กฎหมายการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ เพราะเคยชินกับการใช้กฎหมายอื่นๆ ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในแต่ละกรณี

    บางประเภทไม่เป็นเรื่องค้ามนุษย์

    ในความเข้าใจของคนเกาหลีใต้มองว่า การค้ามนุษย์ไม่เป็นปัญหาในประเทศมากนัก ถึงแม้จะมีการล้กลอบค้าประเวณี การใช้แรงงานบังคับ แต่ในความเข้าใจของสังคมเกาหลี ใต้ การกระทำความผิดลักษณะนี้ไม่ใช่การค้ามนุษย์

    เหตุผลหนึ่งที่สังคมเกาหลีใต้หลีกเสี่ยงการใช้คำว่า การค้ามนุษย์ อาจเกิดจากเหตุผล ในประวัติศาสตร์สมัยที่ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองดินแดนเกาหลีในอดีต และนำผู้หญิงเกาหลีไปเป็น Comfort Women (หญิงบำเรอทางเพศ) แก่กองทัพทหารญี่ปุ่น ซึ่งหญิงเหล่านั้นบางส่วนยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน


    :สถานการณ์การค้ามนุษย์ในเกาหลีใต้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย

    ความผิดการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศไทยและ เกาหลีใต้ปัจจุบันเป็นลักษณะของการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อหาคนไทยมาลักลอบทำงานในเกาหลีใต้ ทั้งงานแรงงานและเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศลักษณะ เป็นการจ่ายเป็นค่านายหน้าในการช่วยให้เข้าเกาหลีใต้ ได้ และอาจมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อให้แรงงานไทยและหญิงไทย ยังคงลักลอบทำงานในเกาหลีใต้โดยไม่ได้บังคับขู่เข็ญหรือลักพาตัวมา

    ดังนั้น ทางการเกาหลีใต้ จึงไม่ค่อยพิจารณาลักษณะความผิดเหล่านี้เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ

    ขบวนการส่วนใหญ่ จะเป็นชายเกาหลีใต้ที่มีแฟนสาวคนไทยให้ความช่วยเหลือหรือ คนไทยด้วยกันเองทั้งหมด ที่ชักชวน โดยการโฆษณาเกินจริงให้ลักลอบมา

    ปัญหาแฝงหรือเกี่ยวเนื่องกับการที่แรงงานไทยและหญิงไทยชื่งอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมายได้แก่ การลักลอบค้ายาเสพติดในคนไทยด้วยกัน หญิงไทยที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การข่มขู่และทำร้ายร่างกายกันบรรดาคนไทยด้วยกัน

    สถานการณ์การค้ามนุษย์และปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

    เกาหลีใต้ดำเนินนโยบายกวาดล้างยาเสพติด ในปี 2566  อย่างจริงจังเนื่องจากเป็นนโยบายสำคัญของประธานาธิบดี

    คดีสำคัญที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ คดีที่ผู้ต้องหาได้นำสารเสพติดผสมในขวดน้ำเครื่องดื่ม แล้วไปแจกในนักเรียนมัธยมปลายริมถนนย่านกังนัม กรุงโชล  สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้และผู้ก่อเหตุให้การว่าได้หาซื้อสารเสพติดมาจากประเทศจีน

    ทางการเกาหลีใต้มองว่ายาเสพติดลูกลักลอบเข้านำมาใช้ในกลุ่มวัยรุ่นและคนดังต่างๆ ที่สำคัญคือ กัญชา เคตามีน และยาไอซ์มาจากทางประเทศจีนเวียดนาม และไทย

    สำหรับเมตแอมเฟตามีน ที่เกาหลีใต้ เรียกว่า ยาบ้า (Yaba) เพราะเป็นที่ยาเสพติดที่ใช้ในหมู่คนไทยในเกาหลีใต้ ไม่ได้ลักลอบนำเข้ามาเพื่อขายให้คนเกาหลี


    ปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

    ปัจจุบันทางการเกาหลีใต้ กังวล เกี่ยวกับนโยบายกัญชาเสรีใประเทศไทยเนื่องจากตามกฎหมายของเกาหลีใต้ หากคนเกาหลีครอบครองหรือเสพยาเสพติดประเภทใดๆ ก็ตามในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นในประเทศที่อนุญาตให้ใช้ยาเสพติดได้ตามกฎหมาย ก็ผิดกฎหมายเกาหลีใต้ อีกทั้งยังเป็นปัญหาในความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากไม่เช้าข่ายเป็นความผิดของทั้ง 2 รัฐ ทำให้ไทยไม่สามารถให้ความร่วมมือได้

    :สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลี

    ปปส. ตรวจยึดยาบ้า 3,989 เม็ด ซุกช่อนภายในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน และปะปนมากับอุปกรณ์ซ่อมโทรศัพท์มือถือ บรรจุกล่องพัสดุเตรียมส่งไปยังประเทศเกาหลีใต้ ที่บริษัทขนส่งเอกชนแห่งหนึ่ง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

    วันที่ 15 ..2565 ชุดปฏิบัติการ ATF ตรวจยึดไอซ์ 4.2 กก. อำพรางซุกซ่อนในสินค้าอาหารแปรรูปพริกทอด เตรียมจัดส่งทางบริการส่งพัสดุระหว่างประเทศปลายทางไปยังประเทศเกาหลีใต้ ที่ทำการศูนย์ไปรษณีย์ สวรรณภูมิ.บางพลี .สมุทรปราการ

    วันที่ 16 ..2565 ชุดปฏิบัติการ ATF ตรวจยึดไอซ์ 1,090 กก. อำพรางซุกซ่อนในสินค้าอาหารแปรรูป เตรียมจัดส่งทางบริการส่งพัสดุระหว่างประเทศ ปลายทางไปยังประเทศเกาหลีใต้ ที่ทำการศูนย์ไปรษณีย์ สวรรณภูมิ . บางพลี.สมุทรปราการ

    ปัญหาแรงงานในเกาหลี

    สาเหตุที่แรงงานไทยมักจะลักลอบไปทำงานในเกาหลี เนื่องจากค่าแรงที่สูงกว่าประเทศไทยหลายเท่า โดยค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่ชั่วโมงละ 224 บาท สำหรับแรงงานที่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง เดือนละประมาณ46,987 บาท  หากทำงานล่วงเวลาด้วยจะสามารถส่งเงินกลับบ้านได้เฉลี่ยสูงถึงเดือนละ 20,000 บาทไทย

    อุปสรรคสำคัญในการเดินทางไปทำงานที่เกาหลีอย่างถูกต้องตามกฎหมายของแรงงานไทย

    EPS มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ต้องรอ แม้จะสอบผ่านก็ไม่ได้การันตีว่าจะถูกเลือกไปทำงาน ด้วยเงื่อนไขการสุ่มรายชื่อแรงงานในอัตรา 1 ต่อ 5 (กรมจัดหางานเกาหลีจะสุ่มเอา 1 คนจากแรงงาน 5 คน)เกณฑ์อายุที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 39 ปี สร้างข้อจำกัดให้แรงงานจำนวนมากไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้แรงงานผู้หญิงมีโอกาสถูกเรียกตัวน้อยกว่าแรงงานผู้ชาย

    เงื่อนไขการจ้างงานของฝั่งนายจ้างที่มีหลายขั้นตอนและมีข้อจำกัด ทำให้นายจ้างเลือกใช้แรงงานผิดกฎหมายรัฐบาลจำกัดโควตาแรงงานต่างชาติ (ถูกกฎหมาย)ไว้ค่อนข้างน้อย ประมาณ 5-6,000 คน

    แนวทางแก้ไขปัญหาของไทยที่ผ่านมา

    ประชาสัมพันธ์ทั้งช่องทางสื่อโทรศัพท์และโซเชียลมีเดียในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีมาตรฐาน เชิญชวนให้ไม่ลักลอบไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย และให้ข้อมูลขั้นตอนการไปทำงานอย่างถูกต้อง

    สอท. ร่วมกับสำนักงานฝ่ายแรงงาน ชักจูงให้แรงงานผิดกฎหมายกลับไทยหากมีการผ่อนผันจากทางการเกาหลีใต้

    ประสานกับทางการเกาหลีใต้ให้จัดคนมาสอนภาษาเกาหลีเพื่อเตรียมพร้อมในการสมัครงานอย่างถูกต้องความพยายามในการเร่งรัดขอหนังสือรับรอง

    การเดินทางไปเกาหลีใต้ของคณะตำรวจสอบสวนกลางครั้งนี้ จึงเป็นการทำงานเชิงรุก เป้าหมายเพื่อดูแลคนไทยในการไปค้าแรงงานที่ประเทศเกาหลีใต้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาค้ามนุษย์และยาเสพติดตามมา รวมทั้งความร่วมมือของตำรวจ2ประเทศในด้านต่างๆต่อไปในอนาคต

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments